แจงละเอียด ไทม์ไลน์ ผู้ป่วยโควิด-19 จงใจปกปิดหรือใครผิดพลาด!?


แจงละเอียด ไทม์ไลน์ ผู้ป่วยโควิด-19 จงใจปกปิดหรือใครผิดพลาด!?


รายการโหนกระแสวันที่ 29 ม.ค. 64 "หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย" ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.35 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33 เปิดใจสัมภาษณ์ "แพทย์หญิงป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์" ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร กรณีความสงสัยในสังคม ผู้ป่วยติดโควิด-19 ปกปิดข้อมูลได้หรือไม่ เรื่องใบโนเวลคืออะไร กทม.ทำไมต้องมาตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วยเอง ทำไมไม่เป็นกรมควบคุมโรค รวมถึงล่าสุดอาจมีการผ่อนปรนร้านอาหารต่างๆ นานา ให้ถึงเวลา 5 ทุ่มได้



เมื่อกี้เพิ่งไปประชุมมา?
"ค่ะ ทางมหาดไทยมีการวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับทางท่านนายกฯ เกี่ยวกับเรื่องศบค.จะดูว่าจะมีการผ่อนคลายจังหวัดต่างๆ ยังไงบ้าง แยกจังหวัดเป็นประเภทที่ต้องควบคุมสูงสุดเข้มงวดก็ยังเป็นสมุทรสาคร ของกรุงเทพฯ ก็ยังเป็นจังหวัดควบคุมสูงสุดอยู่ มี 5 จังหวัดแถวรอบๆ กรุงเทพฯ แถมปทุมฯ นนทบุรี ก็จะมีมาตรการผ่อนออกมานิดนึง และในจังหวัดอื่นที่เฝ้าระวังก็จะมีการผ่อนคลายเพิ่มมากขึ้น"

"ประเด็นก็เป็นเรื่องการเปิดโรงเรียนในวันที่ 1 ก.พ.นี้เปิดแน่นอน เพราะจากการทำข้อมูลศึกษาวิจัยต่างๆ ข้อมูลการติดโรค จริงๆ ในเด็กติดโรคไม่ได้มากมายอะไร สองมาตรการในโรงเรียน พยายามสร้างนิวนอร์มอลในโรงเรียน เรื่องการเว้นระยะห่าง สุดท้ายเรื่องการทานอาหารที่เราเป็นกังวล ก็มีการจัดการนั่งทานอาหารให้แยกจากกัน เพราะเมื่อไหร่ที่เราเปิดหน้ากากอนามัย ก็เท่ากับเรามีโอกาสแพร่เชื้อหรือรับเชื้อจากคนอื่น ตอนนี้กทม. ก็เตรียมพร้อมทุกโรงเรียน มีการทำความสะอาด ดูมาตรฐานต่างๆ กทม.พร้อมแล้วใน 1 ก.พ."

"ส่วนต่างจังหวัดอื่นก็เปิดได้หมด ยกเว้นสมุทรสาคร ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ส่วนจังหวัดชลบุรีก็เปิดได้ แต่วิธีการเรียนให้แต่ละโรงเรียนไปดูว่าจะเรียนแบบออนไซด์ ออนแอร์ ออนไลน์ มันขึ้นอยู่กับนักเรียนด้วย เพราะถ้าในห้องนักเรียนแออัดมาก ก็ไม่สามารถทำโซเชียลดีสแทนซิ่งได้ ก็ต้องไปดูขนาดโรงเรียน และห้องเรียนด้วย ซึ่งส่วนมากในกทม. นักเรียนไม่เยอะ นักเรียนน้อย ก็สามารถทำกิจกรรมที่ป้องกันส่วนบุคคลได้"

ร้านอาหาร หลายคนอยากรู้ เขาจะแย่กันอยู่แล้ว?
"ตอนแรกที่เราให้ 3 ทุ่ม ที่เหลือเทคอะเวย์ วันนี้มีการยกร่างว่าเปิดได้ถึง 5 ทุ่ม ถามว่าผ่านหรือยัง ก็คือเป็นภาพใหญ่ แต่ละจังหวัดก็ต้องไปเข้าคณะกรรมการควบคุมโรคแต่ละจังหวัด วันนี้ 4 โมงเย็นกทม.จะมีการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อด้วยเพื่อพิจารณาจากข้อมูลกทม. ทางรัฐบาลบอกว่าถ้าเห็นข้อมูลจะทำเข้มกว่ารัฐบาลก็ได้ เพราะเรามีข้อมูลที่จะมาวิเคราะห์ทางระบาดวิทยาว่าถ้ามาตรการแบบนี้จะมีความเสี่ยงหรือเปล่า ถ้าจะเปิดถึง 5 ทุ่ม ต้องรอมติกรรมการ"


แจงละเอียด ไทม์ไลน์ ผู้ป่วยโควิด-19 จงใจปกปิดหรือใครผิดพลาด!?


ก็ยังไม่ได้เปิดถึง 5 ทุ่ม แค่รอ?
"รอค่ะ เป็นการยกร่างผ่านภาพรวมก่อน ว่าแต่ละจังหวัดแต่ละประเภท ร่างปฏิบัติการ หรือผ่อนคลายจะเป็นอย่างนี้ แต่ก็ไปเข้าคณะกรรมการโรคติดต่ออีกที"

เหล้าเบียร์?
"ยังไม่ให้ทานในร้านอาหาร ต่อให้เปิดถึง 5 ทุ่มก็ไม่มีมาตรการผ่อนปรนตรงนี้ เพราะตอนนี้ที่เราเห็นการติดเชื้อกันก็ในช่วงการทานอาหาร และจัดงานต่างๆ เมื่อไหร่เราไม่มีอาวุธคือการใส่หน้ากาก ล้างมือ พอระยะห่างไม่มี ถ้าสติเราดี เรายังมีระยะห่าง แต่ถ้าเมื่อไหร่เราเปิดหน้ากากเราก็ต้องเปิดระยะห่าง แต่เมื่อไหร่ที่ทานเหล้า ระยะห่างไม่มี หน้ากากไม่ได้ใส่ มีการพูดคุยกันเสียงดังไปหมดค่ะ มันเจอหลายๆ ปาร์ตี้ในการทำกิจกรรมทานอาหารร่วมกัน"

ถ้ามีบางที่เปิดปาร์ตี้เลี้ยงสังสรรค์ แล้วเกิน 3 ทุ่ม มีการดื่ม มีความผิดมั้ย?
"มีค่ะ ณ เวลานี้ยังไงก็มีความผิด เพราะเกิน 3 ทุ่ม คำสั่งกทม.ก็ไม่ให้เกิน 3 ทุ่มอยู่แล้วค่ะ"

สมมติใครจัดงานปาร์ตี้วันเกิดเลย 3 ทุ่มไป ดื่มอะไรกัน จะไล่เช็กยังไงว่าเขาโกหกหรือไม่โกหก?
"ถ้ากินที่บ้านท่านเอง ในห้องของท่านเราก็ไม่สามารถ แต่นี่เราไปดูแลจัดการในร้านอาหาร จัดเลี้ยงต่างๆ"

ถ้ามีการบอกว่ากินแค่ 3 ทุ่มไม่มีแอลกอฮอล์ เราไปไล่เช็กยังไง ไล่ดูกล้องวงจรปิดมั้ย?
"ก็ต้องทำ เราทำเพื่อประโยชน์สาธารณะให้รู้ว่ามีใครมีโอกาสสุ่มเสี่ยงติดเชื้อบ้าง อีกอันคือความเสี่ยงเรื่องสถานที่ด้วย ถ้าเขาติดจากสถานที่นี้ เราต้องไปทำความสะอาดสถานที่ด้วย เพื่อป้องกัน ทำให้เกิดการควบคุมโรคได้"

ความผิดคนฝ่าฝืน?
"มีโทษปรับค่ะ จำคุกด้วยหรือเปล่าไม่แน่ใจ ก็เรียนว่าจริงๆ ไม่อยากลงโทษใคร อยากพูดคุยทำความเข้าใจ ข้อมูลอะไรที่อยากปกปิดแล้วไม่เป็นประโยชน์กับการควบคุมโรคเราไม่เผยแพร่ก็ได้ แต่ถ้าจำเป็นต่อการควบคุมโรค ก็จำเป็นต้องเผยแพร่"


แจงละเอียด ไทม์ไลน์ ผู้ป่วยโควิด-19 จงใจปกปิดหรือใครผิดพลาด!?


ถ้ามีคนโกหก เราสามารถไล่ไปพิสูจน์ความจริงได้มั้ย?
"ไล่เท่าที่หลักฐานมี แต่ในที่สุดก็ต้องคุยกับเขาให้เข้าใจ ประโยชน์ข้อมูลเขาจะช่วยปกป้องคนอีกเยอะแยะ ในทางสาธารณสุขเราจะใช้วิธีพูดคุยกันอย่างนี้ ยกเว้นผิดกฎหมายจริงๆ อย่างบ่อนต้องเรียนว่ายากมาก แต่ถ้าเป็นเคสปกติ คุยกับเขาให้เข้าใจ ครอบครัวล่ะ เพื่อนล่ะ ที่ทำงานล่ะ คุณไปเสี่ยงมาแบบนี้ เขามีความเสี่ยงนะ แต่เรื่องสถานที่หลังระบาดระลอกหนึ่ง ตอนนั้นเรากลัวมาก ตอนนี้เราปิดสถานที่มีความเสี่ยงไปหมดแล้ว แต่ละสถานที่แทบไม่มีความเสี่ยงเท่าไหร่ เพราะมาตรการเขาดี แต่มาตรการส่วนบุคคลที่ยังไม่เต็มร้อยก็ทำให้แพร่ระบาดเชื้อได้ เราอยากรู้ว่าคุณไปทำกิจกรรมอะไรกับใครมาจะทำให้เกิดการแพร่โรคได้ สำคัญคือต้องกักตัว 14 วัน เพื่อดูว่าเขามีโอกาสติดเชื้อด้วยเพื่อความปลอดภัย"

บางคนไม่เข้าใจเรื่องกักตัว สมมติผู้ป่วยติดเชื้อปล่อยโรคให้คนที่ 2 แล้วคนที่ 2 เขาไม่ทราบว่าเป็นหรือไม่เป็น แล้วบังเอิญสามสี่วันมาเจอผม ผมทำไง?
"ตอนนี้ถ้าทุกคนใช้อาวุธส่วนตัว ท่านไม่เป็นอะไร ท่านใส่หน้ากาก อยู่ห่างกัน และล้างมือต่างๆ การสัมผัสใช้คำว่าสัมผัสเสี่ยงสูงกับเสี่ยงต่ำ สัมผัสเสี่ยงสูงคือพูดคุยกันในระยะไม่เกินหนึ่งเมตร และไม่มีการป้องกันตัวเองตลอดเวลา"

ผมต้องกักตัวมั้ย?
"สมมติว่าตัวเองเป็นคนไข้ ติดเชื้อแล้ว ไปเจอคุณหนุ่ม เราก็จะถามว่าคุณหนุ่มมีการสัมผัสกันที่จะแพร่เชื้อได้หรือเปล่า ถ้ามีจะเรียกว่าสัมผัสเสี่ยงสูง คนสัมผัสเสี่ยงสูงมีโอกาสรับเชื้อแน่นอน อย่างคนในครอบครัว พบว่า 30 เปอร์เซ็นต์ในครอบครัว ที่ทำงานก็มีเปอร์เซ็นต์สูงขึ้นเพราะทานข้าวด้วยกัน ถ้าคุณหนุ่มมีลักษณะกิจกรรมแบบนี้ เราจะบอกให้คุณหนุ่มกักตัวเลยค่ะ 14 วัน แล้วอย่าไปยุ่งกับใคร แล้วให้ไปตรวจวันที่ 5 แต่ตอนนี้เขาจะเพิ่มเป็นวันที่ 1-5 ด้วยซ้ำไป แต่ช่วงนึงที่ไม่ทราบว่าคนนี้ป่วย คุณหนุ่มป้องกันตัว เพื่อนป้องกันตัว เขาก็ไม่เป็นคนสัมผัสเสี่ยงสูง จะเป็นคนสัมผัสเสี่ยงต่ำ ซึ่งถ้าเป็นคนสัมผัสเสี่ยงต่ำ เราก็ให้ใช้ชีวิตปกติได้ แต่ต้องใช้มาตรการส่วนบุคคลในการป้องกันตัวตลอดเวลา เพราะเขาอาจไปรับเชื้อตอนไหนก็ได้ อยากให้เข้า ไม่ใช่โรคมันกระโดดไปติดกันง่ายดายเหลือเกิน ม้นต้องมีระยะเวลา เราให้ใช้เวลา 5 นาทีขึ้นไป ถือว่าสัมผัสเสี่ยงสูงค่ะ"


แจงละเอียด ไทม์ไลน์ ผู้ป่วยโควิด-19 จงใจปกปิดหรือใครผิดพลาด!?


ย้อนมาเรื่องไทม์ไลน์ จริงๆ แล้วการสอบสวนโรค กทม.ต้องสอบสวนเองเหรอถ้าติดในกทม. ทำไมไม่เป็นกรมควบคุมโรค?

"เรียนว่าแต่ละจังหวัดจะมีบุคลากรที่เรียกว่าเป็นเจ้าพนักงานควบคุมโรคแต่ละจังหวัด กทม.ก็เป็นจังหวัดท้องถิ่นพิเศษ ซึ่งเรามีเจ้าพนักงาน เจ้าหน้าที่ศูนย์สาธารณสุข ทั้ง 69 แห่ง ที่จะเป็นเจ้าพนักงานควบคุมโรคที่จะไปสอบสวนโรคต่อไป แต่ด่านแรกเวลาคุณป่วยไปตรวจเชื้อที่รพ.พอตรวจเสร็จเขามีผลบวกปุ๊บ รพ.จะซักประวัติ เราก็ทำการสัมภาษณ์ ใช้คำว่าโนเวล 2 ไปไหนอะไรยังไงมาบ้าง และคิดว่าตัวเองมีโอกาสไปสัมผัสใคร ไปสัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้านี้หรือเปล่า หรือไปในที่ที่มีความสุ่มเสี่ยง เช่นผับบาร์หรือเปล่า หรือไปเยี่ยมคนไข้หรือเปล่า อันนี้จะเป็นประวัติที่เราจะดูว่าเขามีความเสี่ยง ไปที่ไหนมาบ้าง เมื่อได้ประวัตินี้ รพ.จะส่งประวัติส่งมาที่ตรวจผลแล็บกับกรมควบคุมโรคซึ่งเป็นเซ็นเตอร์ สถาบันควบคุมโรคเขตเมือง เขาก็จะรวบรวมข้อมูลเป็นส่วนกลาง ว่ามีคนเป็นผลบวกแล้วในกรุงเทพฯ และจะส่งข้อมูลมาสำนักอนามัย ซึ่งจะมีกองควบคุมโรคติดต่อเป็นกองที่ดูแลควบคุมโรคนี้ทั้งหมด เมื่อกองควบคุมโรคได้ข้อมูลปุ๊บ ก็จะส่งไปตามสาธารณสุขในพื้นที่ว่าคนนี้ อาศัยอยู่ที่ไหน เจ้าหน้าที่ของศูนย์ต้องไปสอบสวนโรคต่อ ซึ่งการสอบสวนโรค ขณะได้ข้อมูลคนไข้อยู่รพ. ก็ต้องใช้วิธีโทรศัพท์ไปถามว่าในบ้านมีใคร ทำงานที่ไหนยังไง เพื่อให้รู้ว่าเขามีโอกาสไปแพร่เชื้อหรือคนสัมผัสกับเขาเสี่ยงสูงอีกเท่าไหร่ยังไง แล้วเราต้องไปตามที่ทำงานเขาอีก ตามที่บ้านเขาอีกให้มากักตัว บางคนดูแล้วบ้านกักตัวได้ เป็นบ้านหลังเดี่ยวห่างกันก็จะให้กักที่บ้าน มีเจ้าหน้าที่เขตไปช่วยดูแลที่บ้าน ถ้าคนไหนกักตัวที่บ้านไม่ได้ เรามีโรงแรมกทม. มีสองแห่ง ให้ไปกักตัวที่โรงแรมเป็นห้องแยกเลย มีเจ้าหน้าที่ไปดูแล และมีการไปตรวจเชื้อเป็นระยะๆ คนกักตัวที่บ้านพอถึงเวลาต้องนัดกันไปตรวจเชื้ออีกว่ามีมั้ย 14 วัน"

แจงละเอียด ไทม์ไลน์ ผู้ป่วยโควิด-19 จงใจปกปิดหรือใครผิดพลาด!?


แล้วข้อมูลที่มีการเขียนบอกว่าผู้ป่วยไม่ให้ข้อมูล อย่างนักร้องที่บอกว่าไปวันนี้ๆ วันที่ 14-20 ไม่ให้ข้อมูล แบบนี้เราทำยังไง?
"ตอนแรกที่ได้ใบโนเวลมา เราจะดูก่อนว่าเขาเขียนอะไรมาบ้าง ซึ่งไทม์ไลน์อันแรกเราจะลงตามใบโนเวล เพราะถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่สอบสวนโรคมาเหมือนกัน หลังจากนั้นต้องโทรไปคุยกับเขาอีกที เพื่อได้ข้อมูลเพิ่มเติมของคนที่ผู้เสี่ยงสูงสัมผัสโรค"

โทรไปคุยกับผู้ป่วยที่ติด?
"ใช่ค่ะ เพราะไม่มีใครรู้ดีเท่าเขา ว่าเขาไปไหนมาบ้าง บางช่วงเวลาที่ยังไม่ได้ข้อมูล เราก็จะเขียนไว้ว่ายังไม่ได้ข้อมูล หรือยังติดต่อไม่ได้ หรืออะไรประมาณนี้ แต่การสอบสวนโรคไม่ได้เสร็จในครั้งเดียว บางทีเราคุยกับเขายาวมาก เพราะเราต้องย้อนหลัง 14 วัน บางทีเขาก็จำไม่ได้ บางทีอาจป่วย มีอาการอยู่ เราก็ต้องขอเขาว่าถ้ายังไม่ครบถ้วน เราก็ต้องไปสอบสวนโรคเพิ่มเติม ประมาณนี้ ฉะนั้นก็อาจมีในข้อมูลบ้างว่ายังไม่ให้ข้อมูล ไม่ได้ข้อมูลอะไรประมาณนี้"

คำว่าไม่ให้ข้อมูลถือว่าปกปิดข้อมูลมั้ย?
"เขายังไม่พร้อมที่จะให้ก็มีค่ะ หรือบางคนบอกว่าเป็นข้อมูลส่วนตัวที่ยังไม่อยากให้ แต่พอเราไปพูดคุย ต้องใช้วิธีการว่าเป็นประโยชน์กับใครอะไรยังไง แต่ก็มีบางรายที่เขาไปในที่ที่เขาไม่อยากให้ใครรู้จริงๆ มันก็มี (หัวเราะ) ที่เจอเยอะคือมีกิ๊ก ไม่อยากให้ที่บ้านรู้ว่าไปไหนมา ยังแซวกันว่าเลิกมีกิ๊กกันเถอะ(หัวเราะ) อีกที่ที่เจอคือไปบ่อน เพราะผิดกฎหมาย ไม่อยากบอก ตอนหลังก็ต้องคุยกันว่ามันได้ประโยชน์ยังไง แต่บางครั้งก็ยากนะที่เขาจะยอมบอกในบางเรื่อง แต่ถ้าเราได้ข้อมูลที่ต้องการ ใครไปกับคุณบ้างแล้วคุณเป็น เขาต้องมาตรวจและกักตัวนะ ก็เป็นการช่วยเราได้ส่วนหนึ่งค่ะ"


แจงละเอียด ไทม์ไลน์ ผู้ป่วยโควิด-19 จงใจปกปิดหรือใครผิดพลาด!?


ก่อนหน้านี้ กรณีผู้ป่วย 3 รายที่ออกมา ทางกทม. ส่งไทม์ไลน์เข้ามา ไม่ให้ข้อมูล เหมือนปกปิดข้อมูล ปรากฎว่า 3 รายนั้น มีนักร้องนักแสดง คือคุณโอ๊ต บอยด์แบนด์ เขาบอกว่าเขาแจ้งไปหมดแล้ว แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมข้อมูลไม่ไปขึ้นอยู่ในกทม. เขาให้ข้อมูลตลอด มีการสอบสวนต่างๆ นานา ฝ่ายผู้จัดการประชาสัมพันธ์ตึกย่านอโศก ตอนแรกเหมือนไม่ให้ข้อมูล แต่เขาบอกว่าไม่ใช่ เขาให้ข้อมูลไปหมดแล้ว กับเจ้าหน้าที่ที่โทรศัพท์ไปหาเขา เขาก็บอกหมดแล้ว ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมอยู่ดีๆ ไม่มีออกมาในไทม์ไลน์ที่กทม. ลง รายสุดท้ายเจ้าหน้าที่รัฐเป็นตำรวจท่านนึง ผู้ป่วยรายนี้ตอนแรกกทม.ลงข้อมูลว่าวันที่ 9 ไปร่วมงานวันเกิดเพื่อนบันยันทรีเขตสาทร วันที่ 10-12 ผู้ป่วยไม่ให้ข้อมูล 13 ม.ค. มีอาการไข มีเสมหะ วันที่ 14-21 ไม่ให้ข้อมูล วันที่ 22 ทราบว่าเพื่อนคุณมะตูมติดโควิดเลยไปตรวจหาเชื้อและพบเชื้อ นั่นคืออันแรกที่ออกมา อันที่สอง 9-14 หายไปแล้ว โผล่มาวันที่ 15 เลย ตลอดทั้่งวันอยู่ที่พักราชเทวี มีอาการอาหารเป็นพิษ 16 ม.ค. เพื่อนมาหาที่พัก วันที่ 17-19 ใช้ชีวิตปกติ หน่วยงานรัฐแถวปทุมวัน 20 เดือนทางมารพ.พบแพทย์โดยรถส่วนตัว 21 อาศัยที่พัก 22 ตรวจหาเชื้่อโควิด ถามว่าทำไมสองอันนี้ไม่เหมือนกัน มีโอกาสได้คุยกับผู้ป่วยรายนี้ซึ่งเป็นตำรวจ เขาบอกว่าเขายอมรับผิดอยู่เรื่องนึง จริงๆ เขาไม่ได้ไปร่วมงานมะตูม ไม่ได้ไปร่วมงานวันที่ 9 ม.ค. แต่เพื่อนเขาไปร่วมงานมะตูมวันที่ 9 ซึ่งไปรับเชื้อมา ตอนแรกไม่ทราบ สุดท้ายเพื่อนคนนี้ไปหาเขาวันที่ 16 มงค. ที่คอนโดของเขา เอาข้าวไปให้ นั่งทานข้าวด้วยกัน ตอนแรกไม่รู้ว่าเป็น จนมะตูมประกาศว่าตัวเองเป็นโควิดในวันที่ 20 ปรากฎว่าเพื่อนที่ไปร่วมงานมะตูม เอาข้าวไปให้เขา ไปตรวจบ้าง และพบว่าเป็นโควิดเหมือนกัน เขาเลยไม่สบายใจว่าอ้าว ฉันเพิ่งนั่งกินข้าววันที่ 16 ที่คอนโด อยู่ใกล้ชิดด้วย ไปๆ มาๆ กลายเป็นเพื่อนคนนี้ติดโควิด ฉันจะทำยังไงดี ก็โทรศัพท์ไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่บอกว่าความเสี่ยงต่ำ ไม่ต้องตรวจ กักตัวเฉยๆ ก็ได้ เขาบอกว่าแต่ผมทำงานเป็นตำรวจ ต้องเจอคนเป็นร้อยเป็นพันคน ไม่ไว้ใจ ต้องการตรวจเลยได้มั้ย เจ้าหน้าที่เลยบอกว่าไม่เป็นไร ยังไม่ต้องตรวจ ด้วยความร้อนใจ วันรุ่งขึ้นไปรพ.ด้วยตัวเอง และไปแจ้งเจ้าหน้าที่ว่าต้อการตรวจโควิด เจ้าหน้าที่ถามว่าคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมั้ย เขาตอบว่าใช่ครับ ผมเสี่ยง เพราะผมไปงานมะตูมมา ทั้งที่ไม่ได้นะแต่บอกว่าไป เพื่อให้ได้รับการตรวจเดี๋ยวนั้น หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็ไปไล่ไทม์ไลน์ทั้งหมด เขาก็ตอบไปว่าเขาไปทำอะไรมาบ้าง จากคำบอกเล่าของเพื่อนตัวเองที่เล่าให้ฟัง แล้วไปเล่าให้เจ้าหน้าที่รพ.ฟัง 1 2 3 4 5 อย่างนี้ เจ้าหน้าที่ก็ทำโนเวล และส่งมากทม. มันเป็นที่มาว่าทำไมวันที่ 9 ม.ค. เขาไปร่วมงาน จริงๆ ไม่ได้ไปร่วม แต่เขาดันไปโกหกเจ้าหน้าที่ที่เป็นคุณหมอหรือพยาบาลท่านแรก แบบนี้มีความผิดมั้ย?




แจงละเอียด ไทม์ไลน์ ผู้ป่วยโควิด-19 จงใจปกปิดหรือใครผิดพลาด!?


"ไทม์ไลน์สองอันที่โชว์ให้เห็น ก็ขอบคุณผู้ติดเชื้อรายแรกที่ให้ไทม์ไลน์มาครบถ้วน ทำให้เราสอบสวนโรคมาได้อย่างรวดเร็วและทราบว่าใครเป็นคนสัมผัส ส่วนรายสุดท้าย ไทม์ไลน์ด้านซ้ายมาจากใบโนเวลจริงๆ ข้อมูลมีเท่านี้ ว่าไปวันที่ 9 วันที่เหลือไม่มีข้อมูล เพราะผู้ป่วยไม่ได้ให้ข้อมูลไว้ในใบโนเวล จริงๆ ไม่มีข้อมูลจริงๆ ใบโนเวลเขียนมาแค่นี้ มันเลยเขียนว่าไม่มีข้อมูล เพราะผู้ป่วยไม่ได้ให้ข้อมูลไว้ในใบโนเวล ทีนี้หลังจากนั้นเราไม่ได้คุยกับผู้ป่วยเลย มีการลงเฟซผู้ป่วยออกมาเป็นไทม์ไลน์อันที่สอง คราวนี้เขาลงละเอียดว่าเขาไปไหนมาบ้าง ละเอียดมากๆ ก็เลยใช้เป็นไทม์ไลน์ฉบับที่สองมา วันนี้เราคุยกันว่าเราจะโทรไปคุยกับทางผู้ป่วย โทรไปเคลียร์ไทม์ไลน์เขาอีกที ฉะนั้นการทำงานด้านสาธารณสุข เราก็ใช้วิธีพูดคุยทำความเข้าใจกับคนไข้ แต่ถ้าคุณหนุ่มได้ข้อมูลมาอย่างนี้ ก็ทำให้เรารู้สึกว่าโอเค มันก็มีข้อมูลมาอีกอันนึง แต่สิ่้งที่เราจะทำเพิ่มเติมคือไปดูหลักฐานเพิ่มเติม"

แจงละเอียด ไทม์ไลน์ ผู้ป่วยโควิด-19 จงใจปกปิดหรือใครผิดพลาด!?


ต้องไปดูว่าสรุปเขาโกหกเราอีกหรือเปล่า เขาไปงานมะตูมมาแล้วโกหกมั้ย ต้องไปไล่กล้องวงจรปิดต่างๆ นานา?
"จริงๆ เราดูทั่วๆ ไปด้วย เพื่อสอบสวนโรคทั่วไปด้วย แต่พอฟังแบบนี้ ก็อาจเป็นเหตุให้เชื่อได้ว่าเขาให้ข้อมูลว่าอยากตรวจ เลยไปเขียนแบบนั้นมา ก็เป็นไปได้ เวลาคนไข้ให้ข้อมูลไม่ได้ขัดแย้งกันมาก แล้วเราสามารถควบุคมโรคได้ เราก็จะเชื่อข้อมูลคนไข้เป็นหลัก แต่ถ้าขัดแย้งกันมากมายจนไม่สามารถหาสถานที่หรือบุคคลอะไรได้ เราก็ต้องยอมว่าอันนี้เป็นการปกปิดข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ อันที่พูดนี่เหมือนข้อมูลใหม่ การให้ข้อมูลคนไข้ ไม่ใช่ให้ข้อมูลครั้งเดียวแล้วจ อย่างใบโนเวลบางใบโนเวลไม่ได้ให้อะไรมาเลย คนไข้ไม่ได้บอกอะไรมาเลย ต้องไปสอบสวนอะไรเพิ่ม"

แต่คนไข้บอกว่าเขาให้ข้อมูลมากกว่านั้นอีก แต่ไม่เข้าใจทำไมใบโนเวลจากรพ.ส่งมาหากทม. ถึงมีการผิดเพี้ยนแบบนั้น ตรงนี้จะมีมาตรฐานยังไงในการตรวจสอบ?
"ตอนนี้กรมควบคุมโรคก็แจ้งไปทุกรพ. ว่าถ้าจะทำให้เราทำงานได้เร็วขึ้น ให้เขียนใบโนเวลมาให้เยอะมากที่สุด แต่คนไข้ก็เยอะ เขาก็อาจจะเขียนมาเฉพาะที่เขาคิดว่ามันจำเป็นจริงๆ แล้วให้เราไปสอบสวนโรคเพิ่มเติม เพราะมันไม่ได้จบแค่ขั้นตอนใบโนเวลอย่างเดียว เราอยากได้ใบโนเวลเร็วๆ ส่วนสถานที่เราต้องรีบไปสอบเพิ่มเติม เขาให้มาเท่าไหร่เราก็ต้องใช้ข้อมูลนั้นที่มีอยู่"


แจงละเอียด ไทม์ไลน์ ผู้ป่วยโควิด-19 จงใจปกปิดหรือใครผิดพลาด!?


รพ.อาจมีคนไข้ คนป่วยเยอะ เขาก็จะสัมภาษณ์เท่าที่เขาสัมภาษณ์ได้ อาจไม่ละเอียดมากนัก พอส่งมากทม. กทม.ติดต่อคนไข้ยังไม่ได้ แต่ต้องแจ้งไทม์ไลน์ว่าได้รับมาแบบนี้ สุดท้ายข้อความอาจมีความขาดตกบกพร่องไป ทัวร์ลงกทม. นี่ถึงขั้นบางคนจะฟ้องนะ?
"มีค่ะ บางที่เราลงชื่อตลาดผิด ก็ต้องขอบุคณมากๆ พอเราเคลียร์ แก้ไขลงเฟซเรียบร้อยเขาก็มาขอบคุณ คือเขาก็เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่งานเยอะ บางทีสถานที่ชื่อมันคล้ายๆ กัน พอลงไปปุ๊บคนก็เข้าใจว่าเป็นอีกที่หนึ่งก็มี ประชาชนให้ความร่วมมือดีมาก"

ตรงนี้เป็นประเด็นที่สังคมถามเหมือนกัน กรณีตร. ท่านนี้ ที่บอกว่าคุณกักตัวตรงนั้นไปก่อนก็ได้ ยังไม่จำเป็นต้องตรวจ แต่จริงๆ ต้องตรวจมั้ยเพราะเพื่อนเขาก็เป็นแล้ว?
"คือจริงๆ มันอยู่ที่กิจกรรมอย่างที่เรียน ว่าเขาเปิดหน้ากากเมื่อไหร่ อยู่ใกล้กันเมื่อไหร่ อยู่กันนานเกิน 5 นาที"


แจงละเอียด ไทม์ไลน์ ผู้ป่วยโควิด-19 จงใจปกปิดหรือใครผิดพลาด!?


แต่เขาบอกเขาแจ้งหมดเลย แต่ไม่ให้เขาตรวจ จนเขาต้องโกหกว่าไปงานมะตูมมาถึงให้เขาตรวจ?
"อันนี้ก็ต้องไปดู อันนี้ไม่แน่ใจว่าการได้ข้อมูล ได้มาจากไหนยังไง เดี๋ยวเราจะไปพัฒนาระบบ ว่าถ้ามีคนติดต่อมา แต่จริงๆ เป็นมาตรฐานงานเรา เราต้องซักถามให้ได้ว่าอยู่กันแค่ไหน ยังไง มีความเสี่ยงสูงยังไง ถ้าเสี่ยงสูงเราให้กักตัวและตรวจหมดค่ะ เราไม่ปล่อยเด็ดขาด เพราะเราไม่อยากให้โรคไปทั่้วไปหมด มันจะเยอะเกินไป แต่ตอนนี้งานหนักอยู่แล้วค่ะ"

อยากบอกอะไรมั้ย?
"ต้องเรียนจริงๆ ว่าเท่าที่เรามีการระบาดระลอก 2 ทำให้เราเห็นอะไรเยอะขึ้น รอบแรกเราปิดไปหมดเลย เพราะเราไม่รู้ว่าเชื้อโรคตัวนี้ มันทำอะไรได้แค่ไหนอย่างไร เราก็จะกลัว แต่รอบ 2 เรารู้แล้วว่าทุกคนมีอาวุธส่วนตัว ใส่หน้ากาก ระยะห่าง ล้างมือ แล้วก็ให้ลงแอปฯ ชัยชนะ ทุกคนสามารถประเมินความเสี่ยงตัวเองได้ตลอดเวลา"


แจงละเอียด ไทม์ไลน์ ผู้ป่วยโควิด-19 จงใจปกปิดหรือใครผิดพลาด!?

ชมคลิป
VVVVV
VVV
V


เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี โหนกระแส


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์