ถกสนั่น! นายกฯ ออก-ไม่ออก จบอย่างไรการเมืองไทย หลังประชุมสภาสมัยวิสามัญ


ถกสนั่น! นายกฯ ออก-ไม่ออก จบอย่างไรการเมืองไทย หลังประชุมสภาสมัยวิสามัญ

รายการโหนกระแส วันที่ 27 ต.ค. "หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย" ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ยังเกาะติดสถานการณ์ร้อนแรงทางด้านการเมือง ซึ่งเมื่อวานนี้กลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อนตัวบุกสถานทูตเยอรมัน โดยเปิดใจสัมภาษณ์ รศ.ดร.เจษฏ์ โทณะวณิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และ รศ.ดร. ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำสาขารัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช



ทิศทางการเมืองบ้านเราจะเป็นอย่างไร?
ดร.เจษฏ์ : "มันไม่เป็นเหตุเป็นผล ข้อเรียกร้องที่หนึ่ง ทั้งผู้ที่เรียกร้องในสภาและนอกสภา จะพูดในลักษณะย้อนหลัง ถ้าไม่สืบทอดอำนาจ ถ้าไม่ทำสิ่งนี้ ถ้าไม่ทำสิ่งนั้น ถ้าไม่ดำเนินการแบบนี้ แบบนั้น ถ้าไม่เอาสว.เลือกก็จะไม่เกิดเหตุแบบนี้ อันนั้นถ้าทุกสิ่งทุกอย่างไม่เอาสว. มาเลือก ไม่สืบทอดอำนาจ ละวางและเดินหน้ามาสู่สิ่งที่เป็นอยู่วันนี้ โดยที่ไม่เป็นกลุ่มชุดเดิมที่เคยเป็นคสช. บ้านเมืองอาจไม่เดินมาถึงวันนี้ อันนี้น่ะใช่ แต่บังเอิญมันเป็นสิ่งที่เป็นจริงไปได้ในอดีต พอเป็นจริงในอดีต ก็ไม่เป็นจริงในปัจจุบัน มันก็ต้องเดินหน้าสู่ปัจจุบัน ถ้านายกฯ ลาออกวันนี้ มันต้องไปเลือกนายกฯ ใหม่โดยกติกาเดิม ถ้าจะแก้กติกาก็ต้องเสียเวลา ต้องแก้ด้วยคะแนน 1 ใน 3 ของสว. ไปรวมกับฝ่ายค้านอีกร้อยละ 20 ในบรรดาที่เป็นฝ่ายค้านทั้งหลาย แล้วก็รวมกันทั้งหมดให้ได้เกินกึ่งนึงของสองสภา คือ 376 เป็นอย่างน้อย เพื่อปลดล็อกเอามาตรา 272 ออกไม่ให้สว. มาลงมติ ไม่งั้นสว.ก็ต้องมาลงมติอยู่ดี เพราะเป็นเงื่อนไขรัฐธรรมนูญ"

มองว่าต้องแก้ที่กติกาก่อน?
ดร.เจษฏ์ : "ถ้าไม่แก้ที่กติกาก็กลับไปเลือกแบบเดิม สว.มีสิทธิ์ที่จะโหวต พอเป็นแบบนี้ก็กลับมาที่จุดเดิม สองถ้าเป็นการดำเนินการลักษณะนี้ พลเอกประยุทธ์ลาออกไป หลังจากนั้นมีการรวมเสียงในสภา เอาแค่สภาล่าง ตัดสภาบนไป ส.ส. รวมกันเกิดเป็นขั้วเดิมก็รวมกันอยู่ ภูมิใจไทย ประชาธิปัตย์ พลังประชารัฐ และพรรคอื่นๆ อีก เขารวมกันก็ลงมติแบบเดิม ก็จะมีแค่พรรคร่วมสองท่าน ณ ขณะนี้คือคุณอนุทิน กับคุณอภิสิทธิ์ ที่เป็นนายกฯ ได้ ฝ่ายค้านจะยอมมั้ย ข้างนอกจะเห็นว่าอย่างไร ถ้ายุบสภาให้เลือกตั้งใหม่กลับไปใช้กติกาเดิม ระบบเลือกตั้งที่ท่านบอกมีปัญหา ที่บอกว่าการคำนวณสับสนวุ่นวาย จะใช้สองบัตรหรือหนึ่งบัตรดี อยู่แบบเดิมหรือยังไง มันก็ยังไม่ได้จบ ข้อที่สองผมว่าเป็นไปได้ เพียงแต่ว่าต้องดูว่าจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแบบไหน เพราะ ณ ขณะนี้มีญัตติอยู่ในสภา 2 ญัตติ ซึ่งทั้ง 2 ญัตติก็อาจมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ อยู่ ท่านต้องถกกันให้มีรายละเอียดชัดเจน แต่วันนี้ค่อนข้างเป็นเสียงข้างมากของพี่น้องประชาชน ทั้งในสภาและนอกสภา ว่าน่าจะมีสสร. อยากให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมมากขึ้น เพียงแต่ว่ารายละเอียดเนื้อหาแก้ไขเพิ่มเติมส่วนใหญ่จะไม่ให้แก้ไขเพิ่มเติมในหมวด 1 หมวด 2 คือหมวดว่าด้วยบททั่วไปและบทที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ เพียงแต่ถ้าจะสานสัมพันธ์กับบรรดาความคิดเห็นทั่วประเทศ ว่าเห็นด้วยเห็นต่าง ตรงนี้ต้องมาคุยกัน ว่าอาจจะต้องเปิดพื้นที่กันแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 1 หมวด 2 แต่จะเป็นลักษณะไหนต้องมีรายละเอียด ท้ายที่สุดข้อ 3 การปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมคิดว่าเสียงส่วนใหญ่บอกว่าเป็นไปไม่ได้ และการเรียกร้องลุกลามบานปลายเกินไกลไปกว่าการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างที่เราเห็นๆ กันอยู่ ไม่จำเป็นต้องพูดตอกย้ำ ถ้าจะพอเป็นไปได้ หลายคนบอกว่าอยู่ที่จุดกลางปฏิรูประบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ในสภาและนอกสภาก็พูดหลายเรื่อง เรื่องหลักๆ เช่น ปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปสื่อ ปฏิรูปเศรษฐกิจ ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปสิ่งอื่นใด ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม สิ่งเหล่านี้ต่างหากคือการปฏิรูประบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ แล้วมันถึงจะเดินไปด้วยกันได้ สามข้อก็เป็นประมาณนี้"

ถกสนั่น! นายกฯ ออก-ไม่ออก จบอย่างไรการเมืองไทย หลังประชุมสภาสมัยวิสามัญ


เมื่อวานท่าทีจากการประชุมร่วม ในนัดแรก 4 ข้อหลักๆ ที่มีการพูดคุย หนึ่งนายกฯ ลาออก สองยุบสภา สามแก้ไขรัฐธรรมนูญ สีตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ โดยให้ประธานสภาเป็นเจ้าภาพ ซึ่ง 1-2 ท่าทางนายกฯ จะบาย ส่วน 3-4 เป็นไปได้?
ดร.เจษฏ์ : "เป็นไปได้แน่นอน 3 นี่เป็นแน่ 4 ณ ขณะนี้ก็มีโอกาสเป็นไปได้ เพียงแต่ว่า 4 จะมีกลไกอีก 2 ส่วนที่เป็นประเด็นปัญหาสักนิด คือกลไกผู้เรียกร้องอยู่ภายนอกสภา กลไกผู้ทรงคุณวุฒิยังไงก็หาได้ แต่กลไกนอกสภา เนื่องจากมีจำนวนมาก การหาตัวแทนท่านเข้ามา จะเอาเข้ามากี่มากน้อย ถ้าเอาลักษณะความคิดเห็นแบบไหน และความเห็นที่เหมือนหรือต่างถ้าเข้ามาอยู่ในคณะกรรมการ ข้างนอกจะยุติหรือจะเพลา หรือจะทำประการใด เพื่อให้ข้างในสามารถดำเนินการได้อย่างแท้จริง ผมว่าอันนี้ยังเป็นประเด็นอยู่"

มีหลายๆ ท่าน ฝั่งรัฐบาล มองเรื่องโซเชียลมีเดียเป็นเหมือนอาวุธปลุกระดมผ่านโซเชียลมีเดีย มองยังไง?
ดร. ยุทธพร "เรื่องโซเชียลมีเดียหรืออินเตอร์เน็ต ในระบบสากลกับไทยไม่เหมือนกัน ประเทศไทยวิธีคิดในเรื่องโซเชียลมีเดีย ส่วนใหญ่จะมองเอารัฐเป็นตัวตั้ง เรื่องว่าโซเชียลมีเดียเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ แต่จริงๆ โดยหลักการโซเชียลมีเดียเป็นเรื่องเสรีภาพ มีได้หมดทั้งด้านสนับสนุน คัดค้าน โต้แย้งมีได้หมดในโลกอินเตอร์เน็ต เพียงแต่ว่าพอรัฐเราไม่คุ้นชินกับกระบวนการทางอินเตอร์เน็ต เราก็ใช้วิธีการไปกำกับ ซึ่งสภาพความจริงเป็นไปไม่ได้ในโลกปัจจุบัน แน่นอนการพูดในสภาก็ต้องหยิบยกประเด็นนี้ เพราะการเคลื่อนไหวครั้งนี้ไม่เหมือนในอดีต ในอดีตการใช้โซเชียลมีเดียอยู่ในฐานะเครื่องมือการสื่อสารระหว่างผู้ชุมนุม เช่น นัดชุมนุม พบปะที่นั่นที่นี่ แต่ครั้งนี้เป็นลักษณะการเคลื่อนไหวในโลกไซเบอร์เป็นไซเบอร์ มูฟเมนต์ คู่ขนานกับโลกแห่งความเป็นจริง ดังนั้นการเคลื่อนไหวในโลกไซเบอร์ครั้งนี้จึงไม่ใช่อยู่ในฐานะเครื่องมือสื่อสาร ก็ส่งผลกระทบกับรัฐอยู่พอสมควร ดังนั้นมุมมองภาครัฐที่มีต่ออินเตอร์เน็ต มองว่าเป็นสิ่งที่ต้องไปกำกับ และอย่าลืมว่าสิ่งที่ผู้ชุมนุมได้ขับเคลื่อนทุกวันนี้เป็นโลกที่มีความผันผวน การชุมนุมก็อยู่ในมิติรูปแบบใหม่ เปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีต่างๆ เปลี่ยนแปลงในแง่อุดมการความคิดด้วย แต่สิ่งที่ทำให้ผู้ชุมนุมเขาขับเคลื่อนได้ขนาดนี้ ก็ต้องยอมรับว่าเป็นเพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้วย ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอยู่นอกพรมแดนที่รัฐจะเข้าไปได้"

ถกสนั่น! นายกฯ ออก-ไม่ออก จบอย่างไรการเมืองไทย หลังประชุมสภาสมัยวิสามัญ


ภาครัฐบางท่านมองถึงขั้นที่ว่าต้องเข้าไปจัดการ?
ดร. ยุทธพร "มันคงเป็นเรื่องที่ยาก โลกโซเชียลมีเดียไม่มีกฎหมายใดๆ ไปควบคุมได้จริงๆ แม้ตอนนี้จะมีกฎหมายมากมาย แต่เอาเข้าจริงโลกอินเตอร์เน็ตพรมแดนกว้างขวางกว่าเขตแดนของรัฐเยอะ และรัฐก้าวเข้าไปไม่ถึงเท่าไหร่นัก"

จะบอกว่ารัฐไม่ทันสมัยเหรอ?
ดร. ยุทธพร "(หัวเราะ) คือกลไกของรัฐเป็นปัญหา ลักษณะความเป็นรัฐ ข้าราชการ ทุกอย่างต้องอยู่ในขั้นตอนระเบียบ ดังนั้นจึงก้าวไม่ทันการเปลี่ยนแปลง วันนี้โลกโซเชียลมีเดีย ทำให้เกิดการเชื่อมต่อกับกลุ่มผู้ชุมนุมกับโลกมากขึ้น และ 4 ทางออกที่คุยในสภา เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยในการแก้ปัญหาในครั้งนี้ ทางออกที่หนึ่งสอง คือยุบสภากับให้นายกฯ ลาออกเป็นเรื่องที่ยาก มีทั้งด้านบวกด้านลบ ถ้านายกฯ ลาออกก็ต้องโหวตเลือกนายกฯ ใหม่ ซึ่งต้องอยู่ในบัญชีแคนดิเดต ใช้เสียงไม่น้อยกว่ากึ่งนึงของรัฐสภาที่อยู่ตอนนี้ กึ่งนึงคือ 366 ถ้าจะปลดล็อกเลือกนายกฯ คนนอก ก็ต้องใช้เสียง 2 ใน 3 วันนี้ 488 คนไม่ได้เต็มห้าร้อย ก็เป็นเรื่องที่ยากเหมือนกัน และอย่าลืมว่า ในบัญชีแคนดิเดต นายกฯ ประยุทธ์ก็อยู่ในนั้น ถึงแม้จะมีกระแสเรียกร้อง แต่ท่านไม่ได้ถูกตัดสิธทธิ์ แม้จะให้ท่านถอนตัวอะไรก็แล้วแต่ แต่ 250 สว.เขายังอยู่ ก็อาจจะโหวตกลับมาอีก ก็เป็นปัญหาที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น"

6 คนแคนดิเดตที่มีการพูดคุย มีคุณหญิงสุดารัตน์ คุณชัชชาติ คุณชัยเกษม ฝั่งเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ คุณอภิสิทธิ์ คุณอนุทิน ภูมิใจไทย คุณธนาธร ถูกยุบพรรค ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองไปแล้ว ท่านนายกฯ ประยุทธ์ยังติดเข้ามา ถึงออกไปแล้วก็รีเทิร์น?
ดร. ยุทธพร "ถูกต้อง เพราะ 250 สว. เขายังอยู่ตามบทเฉพาะตามมาตรา 272 ยังทำหน้าที่โหวต ถ้ายุบสภา กติกากลไกรัฐธรรมนูญก็เหมือนเดิม ระบบเลือกตั้งจัดสรรปันส่วนยังอยู่ กลับมาสว.ยังโหวตเลือกนายกฯ ได้อยู่ บริบทการเมืองก็ไม่ได้เปลี่ยนไปมากนัก"

ถกสนั่น! นายกฯ ออก-ไม่ออก จบอย่างไรการเมืองไทย หลังประชุมสภาสมัยวิสามัญ


สมมติแก้รัฐธรรมนูญไปแล้ว ผู้ชุมนุมเขาจะพอเหรอ เพราะสิ่งที่เขาต้องการแน่นอนหลักๆ คือนายกฯ ต้องออก?

ดร.เจษฏ์ : "ผมคิดว่าอยู่ที่กระบวนการและเนื้อหา กระบวนการ ณ ขณะนี้จะทำยังไงให้สสร.มีพื้นที่ทำให้บรรดาคนทั้งหลายที่อยากเข้ามามีส่วนร่วมในสสร. เข้ามามีส่วนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สมมติเลือกตั้งสสร.หมดเลย ต้องเป็นสูตรที่ฝ่ายค้านเสนอ แต่ถ้าเอาสสร.นี้มายกร่างรัฐธรรมนูญ ก็ต้องคิดดูว่าจะเสียเวลามั้ย จะช้ามั้ย ต้องมีคนมีความรู้ เชี่ยวชาญ และมีลักษณะสิ่งที่สามารถจัดวางได้เลย และให้สสร.เป็นคนพิจารณามามั้ย และอาจร่างรัฐธรรมนูญแบบเรียลไทม์ก็ได้ ก็เปิดเฟซไลฟ์ สสร. อภิปรายกันยังไง คนร่างรัฐธรรมนูญร่างกันแบบไหน คนข้างนอกได้ฟัง ได้ยิน จะตัดสินใจยังไง หรือจะหารือแสดงความคิดเห็นยังไงทำไปเลย"

"แต่สิ่งที่เป็นประเด็นในเนื้อหาข้างนอกที่บอกว่าจะปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็อย่างที่เรียนแล้ว ถ้าจะปฏิรูปการปกครองประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญพอเป็นไปได้ ก็ต้องมาคุยกันว่าหมวด 1 หมวด 2 ถ้าจะแก้ไขเพิ่มเติมบททั่วไปซึ่งขณะนี้มี 5 มาตรา จะแก้ไขเพิ่มเติมอย่างไร ก็ว่ามาในรายละเอียด เพราะสองหมวดนี้ โดยเฉพาะหมวดสอง พระมหากษัตริย์ มีความอ่อนไหวสูงมาก ต้องบอกรายละเอียดมาให้ชัดเจน แบบนี้แหละจะได้รับการยอมรับว่าประชาชนมีส่วนร่วม เนื้อหาเป็นเนื้อหาที่ทุกๆ ส่วน ไม่ใช่เอาแค่ฝั่งผู้เรียกร้องหรือฝั่งใดฝั่งนึง แต่เอาประเด็นที่สังคมไทยพอพูดคุยกันได้ แล้วหาทางออกได้ แบบนี้ท้ายที่สุดเมื่อประชามติผ่านก็ควรจบแล้วเรื่องรัฐธรรมนูญ เพราะกระบวนการและเนื้อหาน่าจะตอบโจทย์ทุกคนแล้ว ในระดับที่พอยอมรับร่วมกันได้ ไม่ใช่ในระดับที่ทุกคนพึงพอใจ เป็นไปไม่ได้ ท้ายที่สุดถ้าอยากให้มีการเลือกตั้ง ก็เลือกตั้งกันไป ท้ายที่สุดผลออกมาเช่นไร ใครเป็นพรรคได้คะแนนมากที่สุดมีสิทธิ์จัดตั้งรัฐบาลเป็นอันดับแรก ถ้าจัดไม่ได้ก็ไปสองสามตามระบอบประชาธิปไตย ลำดับหนึ่งก็จัดไปก่อน จัดไม่ได้ค่อยเป็นสอง สองไม่ได้ค่อยเป็นสาม ไล่เรื่อยไป ท้ายที่สุดพอได้รัฐบาลใหม่มันควรจะจบ ถ้าไม่จบคิดว่าคนที่ไม่ยอมจบ น่าจะเป็นปัญหาแล้วล่ะ"


ถกสนั่น! นายกฯ ออก-ไม่ออก จบอย่างไรการเมืองไทย หลังประชุมสภาสมัยวิสามัญ


มองแบบนั้นมั้ย?
ดร. ยุทธพร : "การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ สสร. ที่จะเกิดขึ้นต้องเปลี่ยนมุมคิดใหม่ ต้องเป็นสสร.ผู้สื่อสาร ต้องไม่ทำให้รัฐธรรมนูญในครั้งนี้กลายเป็นอุตสาหกรรมรัฐธรรมนูญ คือเราร่างรัฐธรรมนูญกันมาจนเป็นอุตสาหกรรม มีสสร. เข้ามาสุดท้ายก็ไม่ได้แก้ปัญหาอะไร ที่สุดจะกลายเป็นรัฐธรรมนูญปี 60 พลัส สิ่งสำคัญคือต้องปรับเปลี่ยนมุมสสร. ให้เป็นสสร.ผู้สื่อสาร เพราะถ้าไปดูองค์กรผู้ร่างรัฐธรรมนูญในอดีตที่ผ่านมา จัดเป็นสามกลุ่ม หนึ่งองค์กรผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ยึดโยงกับประชาชนเลย ผลผลิตรัฐธรรมนูญเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญปี2534 ต่อมาเกิดเหตุการณ์ในปี 35 รัฐธรรมนูญ ปี 50 แล้วเกิดปัญหาปี 57 หรือรัฐธรรมนูญปี 60 ก็เกิดปัญหาอย่างที่เห็น หรือกรณีกลุ่มที่สอง องค์กรผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่ยึดโยงประชาชนบางส่วน ทำให้ภาพการเมืองลุ่มๆ ดอนๆ อย่างเช่นสสร.ปี 2540 เรามีรัฐธรรมนูญที่ทำให้การเมืองเข้มแข็ง แต่ฝ่ายการตรวจสอบไม่เข้มข้น ก็เกิดรัฐประหารปี 49 เป็นต้น ถ้าครั้งนี้สสร.จะมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดก็จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่ไม่เคยมีสสร.ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน แล้วตรงนี้เลือกมาแล้วทำไงไม่ให้เกิดความเป็นตัวแทนนักการเมือง ถูกล็อกโหวต หรือถูกเรื่องการเข้าไปแทรกแซงของรัฐ สสร.ต้องใช้หลักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและออกไปเปิดพื้นที่สื่อสารกับสังคม"

วันนี้จะมีกลุ่มปกป้องสถาบันที่รวมตัวกัน กับอีกมุมราษฎร สองกลุ่มมีโอกาสเจอกันมั้ย หลายคนกังวลใจมาก?
ดร.เจษฏ์ : "แนวทางการนัดหมายมีโอกาสเจอกันอยู่แล้ว เมื่อวานที่นัดสถานที่เดียวกันก็เจอกันอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเมื่อเจอกันแล้วคงไม่ใช่เรื่องการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น คงเป็นการหยิบยกประเด็นหลักที่ต่างฝ่ายคิดว่าเป็นประเด็นหลักมาโต้มาแย้งกัน ถ้าลุกลามก็อาจมีการปะทะกันได้ ซึ่งตรงนี้เจ้าหน้าที่ก็น่าเห็นใจ เขาก็ทำหน้าที่ ก็ไม่ควรมาบาดเจ็บ หรือถูกกล่าวหาว่าว่าเข้าข้างฝั่งนั้นฝั่งนี้ เพราะมันลำบาก คนชุมนุมสมมติมีจำนวนหมื่น เจ้าหน้าที่มีจำนวนพัน มันก็ต่างกันสิบเท่าอยู่แล้ว เมื่อสองฝ่ายมีแนวโน้มปะทะกัน เจ้าหน้าที่อยู่ตรงกลางก็น่าเห็นใจ บ้านเมืองอยู่บนพื้นฐานที่ทั้งหมดต้องสามารถหาทางออกร่วมกันได้ ถ้าหาทางออกร่วมกันไม่ได้เศรษฐกิจบ้านเมืองก็จะแย่ไปอีก นอกจากนั้นบรรดาคนสังเกตการณ์อยู่ต่างชาติทั้งหลาย ถ้าถูกม้วนเข้ามาสู่วังวนนี้ก็เป็นผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ ปะทะอาจเกิดการปะทะ แต่อย่าให้ถึงขั้นนั้นเลย ต่างคนต่างอยู่ดีกว่า"


ถกสนั่น! นายกฯ ออก-ไม่ออก จบอย่างไรการเมืองไทย หลังประชุมสภาสมัยวิสามัญ


สถานการณ์ตอนนี้เดตล็อกมั้ย?
ดร.เจษฎ์ : "ถ้าปะทะกัน ก็อาจเดตล็อก เจ้าหน้าที่หรือผู้ชุมนุม ผมว่าตอนนี้ยังไม่เดตล็อก ก็อย่าทำให้เดตล็อก ไม่งั้นต้องปฏิวัติรัฐประหารอีก พอถึงเวลาร่างรัฐธรรมนูญก็ร่างแบบตั้งคณะร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนจริง พอเขียนรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้ยึดโยงจากความต้องการของประชาชน ก็กลับมาที่จุดเดิม"

อาจารย์มองยังไง?
ดร. ยุทธพร : "ตอนนี้ไม่ถึงเดตล็อกหรอก แต่การเคลื่อนไหวของมวลชนจำนวนมาก ก็เกิดผลข้างเคียง ก็อาจเป็นการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมสองกลุ่ม ที่จุดยืนอุดมการณ์ต่างกัน เรื่องการหยิบยกเรื่องเจ้าหน้าที่มาเปรียบเทียบ เป็นประเด็นที่ถูกทำให้ซับซ้อนมากขึ้น โอกาสที่จะเกิดมวลอนาธิปไตยมันเป็นไปได้ วันนี้ต้องทำอย่างไรให้มันดึงมาในระบบเร็วที่สุด เพราะถ้าอยู่บนท้องถนนแบบนี้ ถึงจุดนึงแล้วจะกลายเป็นว่ากลุ่มผู้ชุมนุมแต่ละฝ่าย ไม่สามารถกำกับกันเองได้ รัฐก็ไม่ได้ไปกำกับอะไรได้เลย วันนี้ต้องมีเวทีพูดคุยและสร้างความเข้าใจร่วมกัน แต่แน่นอน ยังแก้อะไรไม่ได้หรอก แต่ข้อเสนอที่บอกว่าให้นายกฯ ลาออกแล้วจะจบมั้ย อาจบรรเทาได้แค่ระยะสั้น เพราะมีเงื่อนปมอื่นๆ ขึ้นมาอีกล่ะ"

อย่างเซ็ตซีโร่ แก้รัฐธรรมนูญก่อน นายกฯ ลาออก ยุบสภา เลือกตั้งใหม่ ไม่มี 250 มาเกี่ยวข้อง?
ดร. ยุทธพร : "คำถามคือแก้รัฐธรรมนูญเร็วที่สุดคือได้เมื่อไหร่ ถ้าแก้เฉพาะมาตรา 256 เป็นไปได้คือธ.ค. แต่ธ.ค.ก็ต้องไปทำประชามติ ทำประชามติถึงตั้งสสร. อีก"

ถ้าเขารอได้ แต่ขอความเป็นจริง ประกาศออกมาก่อน?
ดร. ยุทธพร : "เป็นจุดยืนของแต่ละฝ่าย อย่าลืมว่าเมื่อวานประชุมสภา นายกฯ ก็แสดงจุดยืนแก้ไขรัฐธรรมนูญ สภาก็ยังไม่ฟัง การเมืองในสภาอยู่ในสภาพที่ผมเรียกว่าการเมืองนอกสภาก้าวหน้า แต่การเมืองในสภาล้าหลังไปแล้ว"


ถกสนั่น! นายกฯ ออก-ไม่ออก จบอย่างไรการเมืองไทย หลังประชุมสภาสมัยวิสามัญ


วันก่อนมีโอกาสเจอน้องในโหนกระแส เป็นตัวแทนฝั่งราษฎร แกบอกว่าทั้งหมดอยู่ที่การแสดงความจริงใจของรัฐบาลและจะทำยังไงให้เป็นรูปธรรม?

ดร.เจษฏ์ : "แสดงความจริงใจก็ต้องทั้งสองฝ่าย และต้องแยกเนื้อหาสำคัญเป็นสองก้อน ก้อนที่หนึ่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายกฯ ลาออก ยุบสภา หรือจะทำอะไรก็ว่ากันไป แสดงความจริงใจในข้อนี้ พูดคุยกันในรายละเอียด แสดงความจริงใจในก้อนที่ 2 คือการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ คิดว่าถ้ามีฝั่งนึงแสดงความจริงใจว่าพอคุยกันได้ เป็นการปฏิรูปประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ นั่นแปลว่าคุยกันในกรอบรัฐธรรมนูญได้ รายละเอียดหมวด 1 และหมวด 2 ไหนลองพูดในสิ่งที่เคยบอกว่าเป็นความฝันซิ ที่บอกว่าอยากให้ฝันนี้เป็นจริง เอาความฝันนั้นมาลองคุยซิ นั่นแปลว่าอยู่ในพื้นที่ที่แสดงความจริงใจต่อกัน หาทางออกร่วมกัน ทำยังไงมาพูดคุยเรื่องบ้านเมืองแบบมีสติ ใช้สัปปชัญญะ ไม่ด่าทอว่ากล่าว ไม่เกลียดชัง ไม่ใช้ความรุนแรง ตรงนี้ถ้ามีพื้นที่จริงใจนี้ ถ้าฝั่งรัฐบอกว่าไหนลองคุยสิ หาทางออก ทางฝั่งผู้ชุมนุม ป้ายที่ชู คำที่พูด การกระทำที่ดำเนินการไป ทุกอย่างที่เป็นความรุนแรง ที่พี่น้องอีกส่วนมองว่าจาบจ้วงล่วงเกินก็ต้องแสดงความจริงใจ ที่จะลดละแล้วก็เลิก และหลังจากนั้นมาคุยกันบนพื้นที่ความจริงใจตรงนี้ อย่างนี้พอจะหาทางออกได้ แต่ถ้าผู้ชุมนุมบอกว่าไม่ จะทำแบบที่ทำนี่แหละ แล้วลุกลามบานปลายไปจนกระทั่งเขามองว่าไม่ใช่ เวลาเราเกลียดชังสิ่งใด เราอยากลบล้างสิ่งนั้นออกไป ถ้าลุกลามไปถึงขนาดนั้นและไม่ยอม อีกฝั่งก็บอกว่าฉันก็ไม่ยอมเหมือนกัน มีโอกาสเดตล็อกแน่นอน ต้องแสดงพื้นที่จริงใจสองพื้นที่นี้ให้ได้"

ดร. ยุทธพร "ตอนนี้ต่างฝ่ายต่างไม่มีโอกาสไว้วางใจ ตอนนี้ต้องทำอย่างไรให้ความไว้วางใจกลับมา จะเกิดขึ้นได้คือต้องมีการพูดคุยและทำความเข้าใจร่วมกัน ต้องมีจุดร่วมกันตรงกลาง แต่ละฝั่งจะมีจุดยืนตัวเอง แต่จุดยืนก็ต้องวางไว้ก่อน ไม่งั้นจะเกิดปัญหาเหมือนสัปดาห์ก่อน ที่นายกฯ บอกว่าถอย ปัญหาคือแต่ละคนถอยไม่เท่ากัน ก้าวแต่ละคนไม่เท่ากัน ทำยังไงให้ก้าวแต่ละคนมีจุดร่วม เวทีที่หนึ่งต้องมีเวทีพูดคุยสร้างความเข้าใจร่วมกัน"


ถกสนั่น! นายกฯ ออก-ไม่ออก จบอย่างไรการเมืองไทย หลังประชุมสภาสมัยวิสามัญ


ถ้าแก้รัฐธรรมนูญเฉพาะประเด็นปิดสวิตช์สว. ไม่ให้โหวตนายกฯ ได้ จะเป็นการแสดงความจริงใจมั้ย?
ดร. ยุทธพร : "ก็เป็นไปได้ แต่กลไกรัฐสภา ต้องใช้เวลา การแก้มาตรา 272 เร็วสุดสิ้นปีนี้ นี่ไม่ได้แก้ทั้งฉบับนะ"

ถ้าประกาศออกมาก็แสดงความจริงใจ มองแบบนั้นมั้ย?
ดร.เจษฏ์ : "ก็พอได้ จริงๆ หลายๆ เรื่อง อย่างสว.ไม่โหวตนายกฯ ถ้าคุยกันตรงนี้ แล้วไม่ไปเชื่อมกับการลาออกของนายกฯ โดยตรง นี่คือถอยอย่างหนึ่งคือปลดล็อกสว. เรื่องนายกฯ ลาออก ก็ค่อยว่ากัน ไม่ใช่ว่าพอเขาถอยคืบนึง ท่านจะให้เขาถอยศอก พอเขาถอยศอก ท่านจะให้เขาถอยวานึง ก็ไม่สามารถคุยกันได้อยู่แล้ว ต้องคุยเป็นลำดับเลย ถ้าปลดล็อกสว. ตรงนี้ เรื่องนายกฯ ลาออกจะว่ายังไงกัน ต้องคุยเป็นลำดับจะได้เห็นภาพ"

ถ้าแก้ตรง 250 สว. นายกฯ ไม่ออกได้มั้ยเหรอ?
ดร.เจษฏ์ : "จะออกก็ได้ แต่ต้องคุยให้จบทีเดียว ไม่ใช่มาทีละนิดๆ เหมือนแก้ระบบเลือกตั้งดูเสมือนหนึ่งว่าไม่มีอะไร แต่ทุกประเทศที่มีการแก้ระบบเลือกตั้ง จะมีการให้ยุบสภา เลือกตั้งใหม่ โดยใช้ระบบที่ได้ออกแบบกันใหม่ นั่นแปลว่าพอแก้ระบบเลือกตั้งเสร็จปั๊บก็มาเรียกร้องต่อ ต้องยุบสภาสิ ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเมื่อมีระบบใหม่แล้ว มันก็ไม่จบ แต่ถ้าคุยกันตั้งแต่แรก แก้ระบบเลือกตั้งแปลว่าไปเลือกตั้งใหม่นะ เขาก็ต้องคิดว่าเอามั้ย มันจะได้เป็นลำดับๆ จะได้รู้ว่าทางออกท้ายที่สุดคืออะไร"


ถกสนั่น! นายกฯ ออก-ไม่ออก จบอย่างไรการเมืองไทย หลังประชุมสภาสมัยวิสามัญ

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์แนวหน้า


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์