กรมควบคุมมลพิษ ชี้่วิกฤต PM2.5 กลับมาเพราะฤดูกาล แต่เอาอยู่! อย่าโยนความผิดให้รัฐบาล!


กรมควบคุมมลพิษ ชี้่วิกฤต PM2.5 กลับมาเพราะฤดูกาล แต่เอาอยู่! อย่าโยนความผิดให้รัฐบาล!

รายการเรื่องลับมาก ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 14.20 - 15.00 น.ทางเนชั่นทีวี ช่อง 22 วันนี้ (16 ธ.ค.)  ดร.เสรี วงษ์มณฑา สัมภาษณ์ ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ ผอ.กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ กรณี PM2.5 กลับมาอีกแล้ว

5-6 ปี ทำอะไรกันบ้าง มันถึงได้กลับมา
จริงๆ ฝุ่น PM2.5 ก็มีตลอดเวลา แต่เนื่องจากฤดูกาลต่างหาก หนึ่งที่มันกลับมาเพราะช่วงนี้เป็นฤดูหนาว

ไม่มีวิธีป้องกันทำให้ลดลง
รัฐบาลเองมีวิธีการ มีมติครม. แล้วมีแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เป็นวาระแห่งชาตินะคะ ในปี 62 แล้วก็มีทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมกันจัดตามแผน และดำเนินการมาตรการ

ทำไมไม่ลดลง เกิดมาปีแล้วปีเล่า ซ้ำๆ เดิมๆ
เราต้องมาศึกษาก่อน ตอนนี้ภาครัฐเองรู้แล้วว่าฝุ่นเกิดจากอะไร เราต้องรู้ว่าแหล่งกำเนิดของมันคืออะไร เพื่อแก้ไขได้ถูกต้อง แหล่งกำเนิดฝุ่นในกรุงเทพฯ มาจากสองส่วนหลัก ตามงานวิจัยที่ได้ศึกษา หนึ่งมาจากเรื่องรถยนต์ สองมาจากการเผา รถยนต์ดีเซลทุกคันปล่อยควันดำ ซึ่งในควันดำ 90 กว่าเปอร์เซ็นต์เป็นฝุ่น PM2.5

รัฐบาลใช้กฎหมายอะไรกับรถดีเซลที่ปล่อยแบบนี้บ้างมั้ย หรือหย่อนยานมั้ย
ถ้าในช่วงสภาวะปกติที่ไม่ใช่ฤดูหนาว อากาศยกตัวขึ้น ค่าฝุ่นไม่เกินค่ามาตรฐาน รัฐบาลก็ทำงานตามระดับปกติ แต่ตอนนี้เริ่มมีวิกฤตขึ้นมา สิ่งที่รัฐบาลทำคือเข้มงวดในเรื่องการตรวจควันดำ เราก็มีหลายมาตรการมาช่วยในการลดฝุ่นลงได้ เช่นตอนนี้ เรามีหน่วยงาน มีบริษัทน้ำมัน สองบริษัทมาช่วยผลิตน้ำมันที่เป็นน้ำมันสะอาด มีกำมะถันต่ำ ในกรุงเทพฯ มีขายอยู่ทั่วไป ผลิตเมื่อมีกำมะถันต่ำ ค่ากำมะถันที่อยู่ในน้ำมัน จะทำให้ฝุ่นลดลง 20 เปอร์เซ็นต์



ซื้อได้ทุกปั๊มมั้ย
มีแค่ 2 บริษัท คือปตท. กับบางจาก เขาผลิตมาขายในราคาปกติ ซึ่งจริงๆ แล้วน้ำมันที่มีกำมะถันต่ำ ต้องใช้กระบวนการผลิตที่ต้นทุนสูงกว่า แต่ตอนนี้เขามาช่วยในการลดฝุ่นให้กับกรุงเทพฯ ก็อยากเชิญชวนทุกคนที่มีรถดีเซลไปใช้ตรงนี้ มันจะช่วยได้

เขาบอก 5-6 ปีไม่เห็นทำอะไร ทำไมพอมีวิกฤตก็ลุกขึ้นมาทำสักที
จริงๆ แล้วในแผนปฏิบัติการ ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ เรามีทุกหน่วยงานดำเนินการ แต่เนื่องจากเรามองถึงปัญหาแหล่งกำเนิดก่อน ที่พูดเรื่องรถดีเซล และการเผาด้วย การเผาจะเกิดในช่วงหน้าแล้ง เขาเผาวัสดุทางการเกษตร ตอซัง ซังข้าว ถ้าไปต่างจังหวัดจะพบเห็น ตรงนี้ถ้าในส่วนกรุงเทพฯ ควันต่างๆ เหล่านี้ ตอนนี้เข้มงวดมาก โฆษกกทม.แถลงว่าพอเรายกระดับความวิกฤตขึ้นมาปุ๊บ เขาจะเข้มงวดกับทุกเขต ไม่ให้มีการเผา และมีการจับจริง

ถ้าเผาที่กาญจนบุรี ถึงเรามั้ย
ปริมณฑลมีโอกาสถึง แล้วทางเหนือไม่ว่าจะเป็นอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง เพราะว่าสภาพอากาศคือลม ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูหนาวพัดมาผ่านอยุธยา สิงห์บุรี เข้ากรุงเทพฯ แล้วพอลมต่างๆ เหล่านี้ซึ่งเป็นลมหนาวพัดเข้ามา ขณะเดียวกัน ถ้าลมอ่อน ฤดูหนาวไม่ได้หนาวยาว มันหนาวแล้วเดี๋ยวก็ถอนกำลัง ตอนที่ถอนกำลังจะมีเรื่องลมด้วย พอลมอ่อนปุ๊บอากาศก็หนัก ยกตัวไม่ได้ ฉะนั้นมลพิษที่เกิดมันก็จะอยู่ในนี้ เหมือนเราอยู่ในครอบแก้ว อันนี้คือสาเหตุ สิ่งที่เราต้องทำคือลดแหล่งกำเนิด

สาเหตุอันนึงเกิดจากรถดีเซล แก้ไขด้วยการให้ใช้น้ำมันสะอาด อีกสาเหตุคือการเผา ซึ่งมีการพูดกันว่าเผากันมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ วันนี้จะไม่ให้เผา แล้วจะทำยังไง

แต่ละคนที่อยู่ตามบ้าน ใบไม้ใบหญ้าเอามาทำเป็นปุ๋ยหมักก็ได้ เราส่งเสริมให้ทำปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยหมักในแต่ละบ้าน แต่ภาพใหญ่ เราพูดถึงอ้อย กระทรวงอุตสาหกรรม โดยคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล ออกนโยบายว่าปีนี้รับอ้อยที่เข้ามาในโรงหีบ ไม่ให้อ้อยไฟไหม้ เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ก็มีการเผาอยู่ดี แล้วปีหน้านโยบายตามแผนปฏิบัติการลดฝุ่น PM2.5 ปีหน้าฤดูกาลหีบหน้าจะไม่ให้มีอ้อยไฟไหม้เลย ตรงนี้คือนโยบายที่สำคัญ รัฐมนตรีก็เน้นย้ำประเด็นนี้ และควบคุมอุตสาหกรรมไม่ให้รับอ้อยไฟไหม้

กรมควบคุมมลพิษ ชี้่วิกฤต PM2.5 กลับมาเพราะฤดูกาล แต่เอาอยู่! อย่าโยนความผิดให้รัฐบาล!


ทำไมเพิ่งมาทำ ทั้งที่ฝุ่นเกิดมาหลายปีแล้ว
เราไม่มีเครื่องมือในการตรวจวัด เมื่อเรามีเครื่องมือดีขึ้น เราก็วัดฝุ่นที่เป็นขนาดเล็ก PM2.5 พอรู้ว่ามีค่าสูงจึงได้ออกมาตรการ

พอรู้แล้ว มีเทคโนโลยีแล้ว รัฐบาลได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง
เราต้องมองระยะสั้น ระยะยาวก่อน อย่างเรื่องอ้อยจะไม่ให้เผาเลยในทันทีเป็นไปไม่ได้ หรือจะเปลี่่ยนมาเป็นน้ำมันสะอาด ไม่ใช่โรงกลั่นทุกโรงจะทำได้ ต้องใช้เวลา หรือรถยนต์ก็เหมือนกัน ตอนนี้เรามีรถยนต์มาตรฐานยูโร 4 ในประเทศไทยเกิน 10 ล้านคัน ตรงนี้เราก็ต้องค่อยๆ ปรับมาตรฐานรถยนต์ ปรับมาตรฐานน้ำมัน ซึ่งมันต้องใช้เวลา เป็นสิ่งที่รัฐทำ มีระบุอยู่ในแผนในการลดฝุ่นอยู่แล้ว

เผาอย่างอื่นมีมั้ย
มีข้าวโพดและตอซัง ส่วนนาก่อน เราต้องยอมรับเกษตรกรประเทศไทย มีพฤติกรรมการเผามาชั่วนาตาปี การเปลี่ยนพฤติกรรมคนก็ต้องโน้มน้าว ให้ความสำคัญให้ทางเลือกกับเกษตรกรก่อน ถ้าไม่เผาจะทำยังไง เราก็สงเสริมในการเอามาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ส่งเสริมเรื่องการรับซื้อตอซัง ฟางข้าว มีหลายๆ บริษัทที่รับซื้อเอาไปทำเชื้อเพลิง แนวโน้มก็จะลดลง การเผาจะลดลง มีหลายแคมเปญ ทั้งภาคอีสาน ภาคกลาง อยุธยาก็เป็นตัวอย่างหลายๆ ท้องถิ่น ข้าวโพดเองก็มีการสั่งการไม่ให้มีการเผา ไปช่วยเรื่องการตัด ให้มีเครื่องจักรกลเข้าไปช่วยตัดเกษตรกร เพราะเขาบอกว่าเขาเผาง่ายกว่า ทีนี้เครื่องจักรเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งรัฐเองเรื่องการให้เงินกู้ หรือให้รวมกลุ่มกัน มีนโยบายหลายๆ นโยบาย ให้รวมกลุ่มหรือให้เช่าในหลายๆ รูปแบบ

ตอนนี้กทม. ใช้วิธีฉีดน้ำ ช่วยได้หรือเปล่า
เรื่องลดฝุ่นเป็นอะไรที่ยาก ต้องอธิบายด้วยหลักวิทยาศาสตร์

บางคนบอกฉีดน้ำก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย บางคนบอกฉีดไปก็แค่นั้น ตกลงฉีดน้ำช่วยมั้ย
ถ้าจะฉีดน้ำลดฝุ่น เนื่องจากฝุ่นเป็นอนุภาคเล็กมาก ในการฉีดน้ำจะลดฝุ่น น้ำต้องเป็นละอองฝอยขนาดเล็กมากถึงจะจับกับฝุ่นและตกลงมาได้ ถ้าน้ำขนาดใหญ่มันไม่ได้จับ ซึ่งตอนนี้ละอองกทม.ไม่ได้เล็กถึงขนาดนั้น แต่ละอองน้ำจะช่วยในเรื่องการป้องกันฝุ่นขนาดใหญ่ ไม่ให้เข้าตัวอาคาร อันนั้นคือเจตนารมณ์กทม. ประเด็นที่สองถ้าเราฉีดน้ำ กทม.ก็เน้นเหมือนกันว่าฉีดน้ำไปกับใบไม้ เพื่อเอาฝุ่นเกาะใบไม้ออก ประชาชนเดินดินเดินเท้าอาจได้รับผลกระทบด้วย เจตนารมณ์เพื่อป้องกันคน ไม่ใช่ทางตรงแต่เพื่อทางอ้อมเรื่องสุขภาพ

มีคนที่เข้ามาพูดประเด็น รัฐบาลนี้ทำผิดที่สร้างรถไฟฟ้าหลายสายพร้อมๆ กัน ถ้าลด PM2.5 ต้องยุติการสร้างรถไฟฟ้า
มองว่าคนละเรื่องกัน ไม่เกี่ยวกัน แหล่งกำเนิดในการก่อสร้างรถไฟฟ้า กทม.ก็เข้ามาดูแล ถ้ามีการก่อสร้างใหญ่ๆ เขาขอความร่วมมือในช่วงฝุ่นสูง ให้กันแบริเออร์เพื่อไม่ให้รถติด มันไม่เกี่ยวว่าสร้างไฟฟ้า ไม่ใช่ต้นตอใหญ่

กรมควบคุมมลพิษ ชี้่วิกฤต PM2.5 กลับมาเพราะฤดูกาล แต่เอาอยู่! อย่าโยนความผิดให้รัฐบาล!


แต่มันทำให้เกิด PM2.5 มั้ย
มันเป็นเรื่องการก่อสร้าง ก็กลับมาที่เดิม มีรถบรรทุก รถขนดิน หรือเครื่องจักรที่ใช้น้ำมันดีเซล เป็นองค์ประกอบก่อสร้าง ขณะเดียวกัน บางพื้นที่รถติดซึ่งเป็นทางอ้อม กทม.ก็ขอความร่วมมือให้กันเขตเพื่อให้คลายรถติด รถราที่ใช้ดีเซลต้องดูแล

ดีเซลมีปัญหามากกว่าเบนซิน รถติดอาจมีรถดีเซลตรงนั้น ต้องคลายรถให้ได้
สิ่งที่ประชาชนควรทำ อันนี้ก็ต้องขอความร่วมมือทุกคนในฤดูฝุ่น รถดีเซล การใช้รถ รถติด เรื่องการเผา สองประเด็นนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่ประชาชนช่วยได้ ไม่เป็นผู้ก่อเหตุ ประชาชนทั่วไปก็ใช้รถ ดูแล รักษา ทำความสะอาดรถยนต์ของตัวเอง ภาครัฐก็มีแคมเปญร่วมกับค่ายรถยนต์หลายค่าย ไปเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ดูแลสภาพรถยนต์ มีแคมเปญอยู่ 3 เดือน ไปถ่ายน้ำมันเครื่อง ลดราคา 30-40 เปอร์เซ็นต์

ถ้าเราไม่ได้ใช้รถเป็นประชาชนธรรมดา ทำยังไง
เราก็ป้องกันตัวเอง หน้ากากผ้าก็กรองฝุ่นได้ระดับหนึ่ง ป้องกันโควิดด้วย ได้ดับเบิ้ล ถ้าประชาชนรู้ว่าเราต้องหลีกเลี่ยงแหล่งไหนฝุ่นเยอะ ตอนนี้ภาครัฐมีการบอกว่าค่าฝุ่นแต่ละเขตเท่าไหร่ หลีกเลี่ยง ถ้าตัวเองไม่ได้แข็งแรง ต้องป้องกันตัวเอง หลีกเลี่ยงนี่สำคัญ

รัฐบาลเอาอยู่มั้ย
เอาอยู่ค่ะ ต้องใช้เวลานะคะ ปัญหาไม่ได้แก้ไขได้ภายในวันเดียว

กรมควบคุมมลพิษ ชี้่วิกฤต PM2.5 กลับมาเพราะฤดูกาล แต่เอาอยู่! อย่าโยนความผิดให้รัฐบาล!


กรมควบคุมมลพิษ ชี้่วิกฤต PM2.5 กลับมาเพราะฤดูกาล แต่เอาอยู่! อย่าโยนความผิดให้รัฐบาล!


กรมควบคุมมลพิษ ชี้่วิกฤต PM2.5 กลับมาเพราะฤดูกาล แต่เอาอยู่! อย่าโยนความผิดให้รัฐบาล!


กรมควบคุมมลพิษ ชี้่วิกฤต PM2.5 กลับมาเพราะฤดูกาล แต่เอาอยู่! อย่าโยนความผิดให้รัฐบาล!

ชมคลิป
VVV
VV
VV
V
V
V
VVVVV


+++
เครดิตแหล่งข้อมูล : รายการ เรื่องลับมาก



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์