ยันชุดตรวจโควิด-19 ไม่ได้ทดแทนพีซีอาร์ ไม่สนไม่อยู่ในสายตารัฐบาล


ยันชุดตรวจโควิด-19 ไม่ได้ทดแทนพีซีอาร์ ไม่สนไม่อยู่ในสายตารัฐบาล

เภสัชจุฬาฯ ยันชุดตรวจโควิด-19 ไม่ได้ทดแทนพีซีอาร์ แค่มาเสริม ลดความเสี่ยงแพทย์ ลดความตระหนกปชช. ไม่สนไม่อยู่ในสายตารัฐบาล 

รายการโหนกระแสวันที่ 31 มี.ค. "หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย" ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33  กรณี "Chula COVID-19 StripTest Service" ชุดตรวจเชื้อโควิด-19 ที่ทางคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ผลิตขึ้นมา มอบให้รัฐบาล 1 แสนชุด วันนี้สัมภาษณ์เปิดใจ "ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล" รองอธิการบดีกำกับดูแลด้านยุทธศาสตร์แผนและงบประมาณ หัวหน้าโครงการวิจัย  Chula COVID-19 StripTest Service และ "ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ" คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
จริงๆ ทางอาจารย์เอง เป็นคนสร้างขึ้นมาหรือเปล่า?
ดร.สุธีรา : "จริงๆ มีนักวิจัยเป็นอาจารย์อีกท่านหนึ่ง เราเป็นทีมกัน รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ อาจารย์แป้งเป็นเจ้าของเทคโนโลยี จริงๆ เทคโนโลยีเราคือการผลิตโปรตีนด้วยพืช เป็นโปรตีนเล็กๆ ที่อยู่ในร่างกาย เราผลิตโปรตีนพวกนี้ ก่อนหน้าเกิดโควิด-19 เราผลิตโปรตีนอื่นๆ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่นโคลสแฟกเตอร์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และเราพยายามผลิตยาโปรโตไทป์ที่เป็นยามะเร็ง ที่เป็นโปรตีนเหมือนกัน เราก็ทำมาเรื่อยๆ อาจารย์แป้งทำมาสิบกว่าปี พอโควิดระบาด เราก็คิดกันว่าเราจะทำอะไรได้บ้าง อาจารย์แป้งก็ดูว่าตัวไวรัสมันเป็นโปรตีน เนื่องจากมันเป็นสิ่งมีชีวิต

 มันมีตัวหนามของตัวโปรตีน ตัวกลมๆ แล้วมีออกมาเป็นหนามของตัวไวรัส ทีนี้ตรงหนามจับเซลล์ต่างๆ ตามร่างกายเรา จริงๆ อันนี้ในต่างประเทศเขาก็ทำกัน เขาผลิตตัวสารต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบของไวรัส เราไม่ได้สร้างไวรัสขึ้นมานะคะ เราสร้างสารพวกนี้ เราคิดว่าถ้าไวรัสทำให้เราเกิดภูมิคุ้มกันและสู้กับโรคได้ ส่วนต่างๆ พวกนี้เมื่อใส่เข้าไปในร่างกาย ตามหลักการก็น่าจะเอามาสู้กับโรคได้เหมือนกัน กระบวนการทำวัคซีนมันต้องใช้พวกส่วนประกอบไวรัสในการเทส แต่ตอนนี้ยังไม่ถึงตรงนั้น และมีการทำวัคซีนในรูปแบบอื่นๆ พอเราทำตัวหนามขึ้นมาได้ เราก็คิดว่าในต่างประเทศเอาหนามมาโคสในกระดาษ พูดง่ายๆ ว่าแปะลงไป พอแปะลงไป ตัวหนามก็จับกับภูมิคุ้มกันในร่างกายเราได้ ถ้ามนุษย์สร้างภูมิคุ้มกันได้ เราจะรู้ว่าคนนี้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้หรือยัง" 


ตอนนี้เราเจอหนาม แล้วเอาหนามตัวนี้มาพัฒนา เราก็เอามาป้ายในกระดาษ ถ้าเจาะเลือดเราไปมีภูมิของโควิดอยู่ เหมือนเราติดเชื้อมันจะไปแมตซ์กัน จับกันกับกระดาษจะขึ้นมาที่เส้น และบอกว่าตัวคุณติดโควิด?
ดร.สุธีรา : "ต้องพูดว่าเคยได้รับเชื้อ"

ดร.นรินทร์ : "เคยได้รับเชื้อหรืออาจติดเชื้อในปัจจุบันก็ได้"

พีซีอาร์เป็นตัวที่ใช้ป้ายคอ จมูก ผลมันนาน กว่าจะรู้ข้ามคืน บังเอิญอ.ธีระวัฒน์ ให้ผมมาลอง และตรวจให้ ตัวซีคือ?
ดร.สุธีรา : "ตัวซีคือตัวทดสอบว่าตัวเทสนี้ใช้ได้อยู่หรือเปล่า"

แต่ถ้าผมติดล่ะ?
ดร.สุธีรา : "คุณหนุ่มเป็นคนแรกๆ ในการวิจัยของเรา(หัวเราะ) ตอนนี้เราพัฒนา เอาสองอันมารวมในอันเดียวเพื่อใช้งานได้ง่ายขึ้น"

สองอันนี้มันต่างกันยังไง?
ดร.นรินทร์ : "อันแรก คือไอจีเอ็ม เป็นภูมิต้านทานชนิดนึงต่อเชื้อโควิด-19 พวกนี้มันจะขึ้นเร็ว หมายถึงต้องได้รับเชื้อมา 3-6 วันจะเป็นขีดที่ตัวที ข้างขวาคือไอจีจี ก็จะช้ากว่าหน่อย จะขึ้นก็ต่อเมื่อมีการติดเชื้อมาแล้ว 10-14 วัน"

ดร.สุธีรา : "จริงๆ มันเป็นคร่าวๆ เพราะไวรัสแต่ละตัว กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ในเวลาไม่เท่ากัน เราก็ดูจากต่างประเทศ เมืองจีนเขาก็พยายามดูว่าภูมิคุ้มกันพวกนี้ขึ้นในระยะเวลาเท่าไหร่ ถามเราก็ตอบได้ไม่แน่ชัด เพราะมีเวลาจำกัด เราอยากทำการศึกษาว่าเมื่อไหร่มันถึงจะขึ้น"
 
วันจันทร์มีการประกาศว่าจะมีการคัดเลือกคนที่เข้าไปตรวจ มีมั้ย?
ดร.นรินทร์ : "มีครับ ของเราคือการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เราทำวิจัยจริงๆ เนื่องจากปัญหาการระบาดโควิดไปทั่วประเทศ และมีความต้องการตรวจวินิจฉัยว่าคนเป็นหรือไม่เป็น ซึ่งถ้าเราจะเอามาตรการซีพีอาร์ ซึ่งถือว่าเป็นปืนใหญ่ มันไม่สามารถทำได้ทุกที่และมีข้อจำกัด ประชาชนก็มารอการตรวจแออัดมาก เราก็คิดว่าน่าจะมีอะไรมาทดแทนเบื้องต้นทำให้ภาระรพ.ลดลง เราก็ใช้ตัวนี้ อย่างน้อยทำให้รพ.ต่างๆ เอาไปใช้หน้างานได้ ลดความตระหนก ความเสี่ยงบุคลากรได้ในระดับหนึ่ง ให้เขาสบายใจว่าได้คัดกรองเบื้องต้นแล้วว่ามีการติดเชื้อเบื้องต้นหรือไม่ เราไม่ต้องการไปทดแทนซีพีอาร์ แต่เราเอาไปเสริมกระบวนการตรวจพีซีอาร์ เพื่อทำให้การปฏิบัติงานบุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่หน้างานได้ดียิ่งขึ้น ตอนนี้รพ.มาขอใช้เยอะมาก"

ยันชุดตรวจโควิด-19 ไม่ได้ทดแทนพีซีอาร์ ไม่สนไม่อยู่ในสายตารัฐบาล

แต่ที่ไม่สบายใจ มีอาจารย์หมอบางท่านบอกว่าซีพีอาร์ดีกว่า มันอันดับหนึ่งแล้ว แต่น้ำยาเริ่มหมด อันนี้ไม่ชัวร์? 
ดร.นรินทร์ : "แม้แต่การตรวจซีพีอาร์เองก็มีโอกาสเป็นลบปลอมบวกปลอม มันก็เป็นไปได้ ขึ้นอยู่กับเทคนิคในการเก็บตัวอย่างและส่งตัวอย่างด้วย ของเราเองเป็นการคัดกรองอีกแบบของเชื้อโคควิด มันคนละวัตถุประสงค์ พูดง่ายๆ แต่ละเทสก็มีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกัน ของเรามีข้อดีคือทำได้ง่าย ผลเร็วมาก 10-15 นาทีผลก็ออกแล้ว ไม่ต้องบุคลากรทางการแพทย์ทำได้ก็ ถ้าเรามีการอบรม ใครทำก็ได้" 

ราคาเท่าไหร่?
ดร.สุธีรา : "จริงๆ ตัว StripTest เราเพิ่งขยายกำลังการผลิต เราน่าจะมีต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 300-400 บาท ยังบอกชัดๆ ไม่ได้ ยิ่งผลิตเยอะก็อาจจะถูกลงไป"

วันนี้จีนเอามาขาย ขายกันเต็มในโซเชียล?
ดร.สุธีรา : "เราไม่รู้ว่าคุณภาพยังไง  คำแนะนำคือไม่ควรซื้อไปตรวจเอง ที่สำคัญคุณภาพเป็นยังไงเราไม่รู้เลย ถ้าเกิดมันแปลผลออกมาก็ไม่รู้ว่าเป็นหรือไม่เป็น"

วันศุกร์ที่ผ่านมา เภสัชจุฬา ประกาศว่าจะมีการคัดกรองบุคคลในกลุ่มเสี่ยงให้ลงรายชื่อเอาไว้ และเภสัชจุฬาจะไปตรวจสอบว่าเป็นมั้ย เมื่อวานตรวจกันกี่คน?
ดร.นรินทร์ : "เนื่องจากเป็นวันแรกที่เราเปิดตัว วันแรกมาประมาณ 20-30 ท่าน"

เจอคนเป็นโควิดมั้ย?
ดร.นรินทร์ : "เจอพอสมควรครับ แต่กรณีผลบวกเราไม่ได้บอกว่าท่านติดเชื้อ จำเป็นต้องไปตรวจยืนยีนด้วยซีพีอาร์ และดำเนินการไปแล้วและรอผลอยู่"

แต่สิ่งหนึ่งที่ยืนยันได้คือคัดแยกคนที่ขึ้นมาเลยว่าเป็นออกไปก่อน?
ดร.นรินทร์ : "ใช่ครับ นี่คือข้อดีของมัน" 

ยันชุดตรวจโควิด-19 ไม่ได้ทดแทนพีซีอาร์ ไม่สนไม่อยู่ในสายตารัฐบาล



ประเด็นถัดมา วันก่อนผมถามอาจารย์ธีระวัฒน์ว่ารัฐบาลรู้หรือยัง ล่าสุดมีข่าวบอกว่าผลิตแสนชุดส่งให้ท่านนายกฯ เรื่องจริงมั้ย?
ดร. นรินทร์ : "เครื่องมือที่่เราตรวจเป็นแค่เครื่องมืออันเดียว จริงๆ เรามีนวัตกรรมในการทำระบบในการคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อ จริงๆ ความแม่นยำของระบบนี้ถ้าใช้กับคนที่มีความเสี่ยงก่อนความแม่นยำจะเพิ่มขึ้น จริงๆ เราจึงสร้างระบบขึ้นมาว่าไม่ใช่ทุกคน ไม่ใช่ว่าท่านไปซื้อมาตรวจเอง ท่านต้องเข้าระบบคัดกรองก่อนว่ามีความเสี่ยง ท่านประเมินตัวเองเริ่มต้นก่อนในเพจเป็ดไทยสู้ภัย" 

เอาไปมอบกี่ชุด?
ดร.สุธีรา : "เราไม่ได้ไปมอบให้ท่านนายกฯ 1 แสนแบบนั้นนะคะ แต่เราบอกว่าเราจะช่วยคัดกรองคนไทยให้สังคมไทย 1 แสนคน ไม่ใช่แค่ที่จุฬาฯ เรากำลังกระจายโครงการวิจัยนี้ไปที่อื่นๆ ในรพ.ที่มีความพร้อม"

ตอนแรกไม่ได้อยู่ในสายตาผู้ใหญ่ น้อยใจมั้ย?
ดร.นรินทร์ : "ไม่เป็นไรครับ ถ้าเรามีเจตนาดี ก็คงต้องใช้เวลาอธิบายให้เข้าใจว่าเราต้องการช่วยรัฐบาลให้การควบคุมการระบาดให้ได้ผลจริงๆ เราเห็นใจคนหน้างานมาก บุคลากรทางการแพทย์ที่รับภาระหนัก เราอยากลดภาระเขาตรงนี้ ให้เขามีความสบายใจ ประชาชนที่มาตรวจก็ตรวจได้ง่ายขึ้น ลดความตระหนก"

ที่บอกต้องติดเชื้อไปก่อน 4 วันถึงจะรู้ จริงมั้ย?
ดร.สุธีรา : "จริงค่ะ เหมือนชุดตรวจการตั้งครรภ์ ไม่ใช่ว่าเราตรวจพรุ่งนี้แล้วเราจะรู้ว่าตั้งครรภ์ เป็นหลักการเดียวกันค่ะ อันนี้ก็เป็นเหมือนกัน ต้องใช้เวลา" 

วันนี้ผมตรวจตัวนี้ 400 ผมอาจไปรับเชื้อมาวันแรก แต่ปรากฎว่าผมไม่เจอ อีก 4 วันผมตรวจซ้ำก็ได้ รวมกัน 800 แต่ไปเจอแล้ว แต่ผมไปตรวจพีซีอาร์ 5 พันกว่า น้ำยาตอนนี้ไม่มีด้วย?
ดร.สุธีรา : "แต่ยังไงอย่างที่เรียนพีซีอาร์เป็นปืนใหญ่ เราไม่ได้บอกว่าพีซีอาร์ไม่ดี ยังไงเราเก็บเขาไว้ใช้เมื่อจำเป็น ของเราอย่างที่บอก เข้าใจผู้หลักผู้ใหญ่เหมือนกันว่าทำไมไม่อยากให้เอาไปใช้ ถ้าประชาชนไปตรวจแล้วแปรผลไม่เป็นแล้วบอกว่าไม่เป็นแล้วไปเดินเล่น มันจะยิ่งระบาดไปใหญ่ แบบที่อาจารย์นรินทร์เรียน มันคงเป็นที่ระบบทางเรา ไม่ใช่แค่เภสัชจุฬานะคะ เราขนมาทั้งจุฬา ทั้งมหาลัย วิศวกรทำข้อมูล มีน้องๆ จิตอาสามาช่วยกันติดตาม คนไข้ที่ตรวจอันนี้ สิ่งที่กลับไป ท่านต้องกรอกข้อมูลให้เรานะคะ ว่าท่านมีความเสี่ยงมั้ย ความมุ่งหวังของเราเป็นระบบคัดกรองที่เราจะช่วยประเทศทั้งประเทศ"

ได้ยินมาแว่วๆ ว่าภาครัฐสั่งมาจากเมืองจีน จริงมั้ย?
ดร.สุธีรา : "ไม่ทราบ หนูไม่รู้ค่ะ(หัวเราะ)"

ถ้าสั่งจริงจากเมืองจีน กับการใช้ของไทย อันไหนดีกว่ากัน?
ดร.นรินทร์ : "ถ้าพูดตามหลักวิชา เราทดสอบด้วยเลือดคนไทย ผมก็พูดว่าเราทดสอบกับคนไทยก็มีมาตรฐานแบบนึง อาจไม่ตรงกับมาตรฐานในเมืองจีนก็ได้ ถ้าตรวจกับคนไทยก็น่าจะใกล้เคียงและนี่ก็ผลิตโดยคนไทย เป็นมาตรการที่เราทำเพื่อคนไทย ก็น่าจะเกิดประโยชน์กับปรเทศชาติมากกว่า ความยั่งยืนมากกว่า"

เปิดตัวไปแล้วเต็มรูปแบบ ปรากฎว่าเจอจริงด้วย ถูกบรรจุเข้าไปอยู่ในสาธารณสุขหรือยัง?
ดร.นรินทร์ : "ตอนนี้เราก็มอบให้ท่านนายกฯ ท่านนายกฯ ก็มอบให้ปลัดกระทรวงเพื่อรับไปพิจารณา เพื่อนำไปร่วมกัน ท่านบอกว่าท่านดีใจที่เห็นว่าทางจุฬาผลิตอะไรบางอย่างมาช่วยเสริม ผมคิดว่าก็อยู่ในข่ายการพิจารณาของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อนำไปใช้ต่อไป เป็นโปรเซสในการดำเนินการอยู่

นอกจากช่วยเหลือสังคมไทยแล้ว ต้องมีปัญหา เหนื่อยมั้ย?
ดร.สุธีรา : "เราก็เหนื่อย แต่สมมติตอนนี้ไฟไหม้ป่า เราเหมือนนักดับเพลิง ถ้าไม่ช่วยกันมันก็เผาบ้านเราเหมือนกัน เราก็ทำหน้าที่ของเรา ทุกคนทำหน้าที่ของตัวเอง คุณหมอพยาบาลก็ไม่ได้กลับบ้าน เขาก็เหนื่อยกว่าเรา เราก็พยายามทำหน้าที่ของเรา"

ดร.นรินทร์ : "เห็นใจคนที่อยู่หน้างานจริงๆ เพราะท่านรับภาระจริงๆ  ทั้งแพทย์และพยาบาล"

ทุนที่ทำเอามาจากไหน?
ดร. นรินทร์ : "เราโชคดีที่มีทุนสนับสนุนหลายที่ มีคนใจบุญและอยากช่วยเราก็หลายแหล่ง ทั้งภาครัฐและเอกชน" 

ดร.สุธีรา : "ตอนนี้มีผู้ใหญ่ใจดีที่อยากช่วยบริจาค แต่เราเป็นนักวิชาการ ไม่อยากให้มีปัญหา ถ้ามีอะไรเดี๋ยวจะแจ้งคุณหนุ่มอีกที ขณะนี้มีการแอบอ้างแล้ว ซึ่งเราไม่มีขายนะคะ

ยันชุดตรวจโควิด-19 ไม่ได้ทดแทนพีซีอาร์ ไม่สนไม่อยู่ในสายตารัฐบาล


ยันชุดตรวจโควิด-19 ไม่ได้ทดแทนพีซีอาร์ ไม่สนไม่อยู่ในสายตารัฐบาล


ยันชุดตรวจโควิด-19 ไม่ได้ทดแทนพีซีอาร์ ไม่สนไม่อยู่ในสายตารัฐบาล


ยันชุดตรวจโควิด-19 ไม่ได้ทดแทนพีซีอาร์ ไม่สนไม่อยู่ในสายตารัฐบาล

ชมคลิป
VVVVVVV
VVV
V
VV
V
V
V
V
VV
V
VVVVVVV
VVVVVV

ยันชุดตรวจโควิด-19 ไม่ได้ทดแทนพีซีอาร์ ไม่สนไม่อยู่ในสายตารัฐบาล

เครดิตแหล่งข้อมูล : รายการ โหนกระแส


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์