เผยมาตรการ แจกเงินเยียวยาเกษตรกร แนะลงทะเบียนก่อน 15 พ.ค.
รายการโหนกระแสวันที่ 4 พฤษภาคม 2563 หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33 เปิดใจสัมภาษณ์ เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องการเยียวยาให้เกษตรกรที่ได้รับความลำบากจาก โควิด-19
ทั้งหมดเห็นว่าแบ่งเกษตรกรเป็นกลุ่ม ๆ ประมาณกี่กลุ่ม ?
เฉลิมชัย : มีในกลุ่มที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และในส่วนกรมส่งเสริมการปลูกพืช กรมประมง ในส่วนการเลี้ยงสัตว์เลี้ยง ทำประมงชายฝั่ง เลี้ยงสัตว์เลี้ยง โคนม เลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ดทั้งหมด ส่วนนอกที่ไม่อยู่ในทะเบียนเบื้องต้น คือ การยางแห่งประเทศไทย ซึ่งจะมีหน่วยงานรับขึ้นทะเบียนโดยตรง และเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย จะมีสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลเป็นคนขึ้นทะเบียน และในส่วนใบยาสูบ ที่กระทรวงการคลังจะเป็นคนขึ้นทะเบียน มีทั้งหมด 7 กลุ่ม
ประมงก็ถือเป็นเกษตรกร ?
เฉลิมชัย : เป็นเกษตรครับ
ฟาร์มกล้วยไม้ถือว่าเป็นเกษตรกรไหม ?
เฉลิมชัย : เป็นครับ ตรงนั้นจะไปขึ้นทะเบียนเกษตรกร กับกรมส่งเสริมการเกษตร
เกษตรกรทั้งหมดในประเทศไทยหลายกลุ่มรวมกัน เฉลี่ยมีกี่คน ?
เฉลิมชัย : ประมาณ 20 ล้านเศษ ๆ และประมาณ 10 ล้านครัวเรือน ในเบื้องต้นที่มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกร
ประเด็นการเข้าไปเยียวยา เข้าไปเยียวยายังไง ?
เฉลิมชัย : ในเบื้องต้น เรามีการพูดคยกับกระทรวงการคลังในการกำหนดเป้าหมายที่จะดำเนินการช่วยเหลือ เราได้ไปดูในส่วนการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ตั้งแต่เริ่มต้น บวกกับการขึ้นทะเบียนในส่วนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับเกษตรโดยตรง นั้นคือการยางและชาวไร่อ้อย
คนทำยาง ไม่ขึ้นทะเบียนเหรอ ?
ชัย : เขามีการยางแห่งประเทศไทยดูแล จะแยกส่วนตรงนั้น และในส่วนยาสูบ ซึ่งตรงนี้ไม่ได้มารวมอยู่ที่กระทรวงเกษตร ซึ่งประมาณการทั้งหมดจากเดิม ที่ขึ้นมาเบื้องต้น เราประมาณไว้ 10 ล้านรายที่มาขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานทั้งหมด จึงเป็นที่มาของการกำหนดเบื้องต้นที่ 10 ล้าน
คนมีบัตรเกษตรกรหรือไปลงทะเบียนมีสิทธิ์ได้รับ ?
เฉลิมชัย : ถ้าเขาไปลงทะเบียนตามหลักเกณฑ์ทั้งหมด จะมีสิทธิ์ได้รับทั้งหมด ต้องไม่ลืมว่าวันนี้ เกษตรกรเราจะมีระเบียบในการขึ้นทะเบียน ต้องมีการแจ้ง การปลูกรอบใหม่ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ 3 ปี ไม่มายืนยันจะถูกตัดสิทธิ์ออก แต่เรารวมทั้งหมดที่เคยมาขึ้น ประมาณ 10 ล้าน
มีการจ่ายให้หัวหน้าครอบครัว ?
เฉลิมชัย : ถ้าจะพูดลักษณะนั้นก็ได้ เพราะในหนึ่งครัวเรือนมีตัวแทนไปขึ้นทะเบียนเกษตรกร 1 ราย
สมมติบ้านหนึ่งหลัง มีคนอยู่ในบ้าน พ่อแม่ลูก พ่อเป็นเกษตรกร แม่ลูกก็ทำด้วย ได้ทั้งสามไหม ?
เฉลิมชัย : โดยระบบ เราใช้คนที่ขึ้นทะเบียน ในครอบครัวขึ้นทะเบียน 1 คนเท่านั้น"
เท่ากับจ่าย 5,000 ต่อหนึ่งครัวเรือน ?
เฉลิมชัย : ใช่ครับ หลักเกณฑ์ที่เรากำหนดมา เรากำหนดไว้เช่นนี้ คือกระทรวงเกษตรเราได้ดำเนินการในส่วนของการเยียวยาพี่น้องเกษตรกรเป็นประจำทุกปี ฉะนั้นระบบนี้ เราดำเนินการมาหลายปีติดต่อกันและไม่มีปัญหา และสามารถตรวจสอบตัวตนความชัดเจนทุกอย่างได้ เราถึงใช้ระบบนี้ในการนำมาใช้เยียวยาในครั้งนี้ เพราะเกษตรกร ได้รับการเยียวยาทุกปี ตลอดเวลา ระยะนี้เราก็มีมาตรการเข้าไปดูแลพี่น้องเกษตรกรมากกว่าเงินเยียวยา 5 ,000 ตรงนี้ และดำเนินไปคู่กัน โดยไม่ได้ไปตัดสิทธิ์ที่จะได้รับเงินเยียวยาด้วย
มีอะไรแทรกมานอกจากเงิน 15,000 ?
เฉลิมชัย : วันนี้ท่านนายกฯ กำชับให้ดูแลพี่น้องเกษตรกร ต้องยอมรับว่าเกษตรกรเราประสบทั้งภัยแล้ง อุทกภัย ควบคู่กันมา และเจอโควิด-19 มาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาลออก ยกตัวอย่าง กรณีกรมประมง เรามีการแจกจ่ายในส่วนการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ 44,000 ครอบครัว ครอบครัวรายละ 800 ตัว อาหาร 20 กิโล ผมว่ามันจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้เขา
เงินก็ได้ ส่วนเกษตรกร คลัง ภาครัฐช่วย 15,000 อีกส่วนที่ทำคู่ขนาน คือมีช่วยเรื่องปลา ?
เฉลิมชัย : อย่างกุ้งก้ามกราม เราทำครอบคลุมทั้งหมด 129 อำเภอ แหล่งน้ำสาธารณะ ประมาณ 1,436 แห่ง แห่งหนึ่งเราปล่อยกุ้งขนาดใหญ่ 5-7 เซนติเมตร 2 แสนตัว แต่ละแห่ง ตั้งคณะกรรมมาดูแลชุมชน เป็นการสร้างวัฒนธรรมให้พี่น้องประชาชนมารักษาสิ่งที่เป็นของเขาในพื้นที่ ซึ่งมันจะเป็นผลได้ตามมาในระยะยาว
ถ้ามีคนถามแย้งว่ากรณีแบบนี้ ต่อให้เอากุ้งปลาไปให้เขาเลี้ยง สุดท้ายเอาไปขายก็ยังขายไม่ได้ และอาจเสียเงินเลี้ยงอีก ?
เฉลิมชัย : ในเบื้องต้น อาหารเราเตรียมเบื้องต้นให้และมีการเตรียมพื้นที่ เพราะวัตถุประสงค์ของเรา ในการดำเนินการตรงนี้ หนึ่ง เราต้องการให้พี่น้องเกษตรกรมีอาหารที่จะกินในครอบครัวชุมชนเขาได้ สอง เมื่อมีกินและเหลือนั่นคือรายได้ที่เขาจะได้มา ซึ่งจะเป็นรายได้ที่เขาจะทำเป็นลักษณะชุมชน ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง เพราะแหล่งน้ำที่เราไปปล่อยเป็นแหล่งน้ำสาธารณะ ซึ่งตรงนี้ กรมประมงก็มีมาตรการหาตลาดในสัตว์ที่เราส่งเสริม ผมยืนยันว่าพี่น้องเกษตรกรที่เข้าโครงการนี้ ตลาดที่ขายสินค้า ราชการ กระทรวงเกษตรเข้ามาดูแล ไม่ต้องกังวลเรื่องนี้
ในช่วงโควิดนี้ใช่ไหม ?
เฉลิมชัย : กุ้งเลี้ยงประมาณ 4-6 เดือน ซึ่งเราคาดว่า ณ เวลานั้นสถานการณ์น่าจะดีขึ้น เราก็มีการเตรียมตัววางตลาดไว้ล่วงหน้า
เป็นการช่วยเหลือคู่ขนานนอกจากเงิน 5,000 ที่ได้ 3 เดือน จะมีปลา มีกุ้งให้ไปเลี้ยง ระยะเวลาเลี้ยงกุ้ง 4-6 เดือน พอหมดเงิน 15000 ตอนนั้นกุ้งโตพอดี สามารถเก็บเกี่ยวตรงนั้นได้อีก ?
เฉลิมชัย : ใช่ อันดับแรกให้เป็นอาหารชาวบ้านก่อน เหลือจากนั้นเป็นรายได้ชุมชน กรมปศุสัตว์ วันนี้รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณไป ในการมอบเป็ดไข่ ไก่ไข่ ไก่เนื้อ ประมาณ 7.7 หมื่นครอบครัว ซึ่งเป็ดไก่ ท่านเลี้ยงไม่เกิน 1 อาทิตย์ 10 ตัวที่ท่านเลี้ยงมีไข่วันละ 7-8 ฟองแน่นอน ท่านได้รับตร งๆ ตรงนี้ เราดำเนินการผ่านตัวแทนทั้งหมด ส่วนสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานประมงอำเภอ สำนักงานเกษตรอำเภอ เป็น 3 หน่วยงานหลักที่เราจะดำเนินการในส่วนที่จะรับมาขึ้นทะเบียนและมอบตรงนี้ เรามีการประชาสัมพันธ์เป็นเดือนนะ
ในมุมชาวนาชาวไร่ ?
เฉลิมชัย : ชาวไร่เรามีการจัดสรรงบประมาณ เราพูดถึงการช่วยเหลือนะ ในส่วนการปลูกพืชใช้น้ำน้อย กรณีถั่วเขียว ข้าวโพด เราจัดให้ตรงนี้ 12000 ครอบครัว เกือบแสนไร่ และจัดในส่วนเมล็ดพันธุ์ข้าวหลายหมื่นตัน เรามีเงื่อนไขให้สหกรณ์เป็นคนผลิต ซึ่งเม็ดเงินตรงนี้ ก็จะตกวนไปสู่เกษตรกร ตอนนี้เริ่มมีการแจกจ่าย กรณีกุ้งประมาณ 500 ที่ ปล่อยเรียบร้อย คาดว่าในเดือนนี้ดำเนินการเกือบเสร็จ
อยู่ในสายกับ ป้าหงส์ มันฑนา เล็กสมบูรณ์ เกษตรกร จ.กาฬสินธุ์ เป็นแหล่งมะม่วงส่งออก ได้รับผลกระทบยังไง ?
ป้าหงส์ : "ตอนนี้เกษตรกรในกาฬสินธ์ มีมะม่วง 4 ล้านกิโลกรัม เกษตรกรที่เคยส่งออกและส่งตามศูนย์การค้าขายไม่ได้ ทีนี้ก็ขายออนไลน์ซึ่งทำให้ค่าขนส่งสูงมาก เฉลี่ยแล้วลังละ 250 เราขายอยู่ 380 เนื้อมะม่วงจริง ๆ เราได้ 130 ตกกิโลละ 13 บาท แล้วมีปัญหาเคอร์ฟิว รถขนส่ง ส่งไม่ทัน มะม่วงก็เลยเน่า เราก็ต้องส่งเคลมให้เขา เงิน 13 บาท ก็ต้องไปจ่ายค่าขนส่งอีกทอด ตอนนี้หมดเนื้อหมดตัวกันหมดแล้วค่ะ ขายไม่ได้และต้องมาจ่ายค่าขนส่งให้ลูกค้า จากเราขายออนไลน์ ได้รับน้ำใจชาวไทยเข้ามามาก จนส่งให้ไม่ทัน เราก็ขาดปัญหาเรื่องการเรียนรู้เรื่องการบรรจุภัณฑ์ เพราะไม่เคยทำเรื่องนี้ พอเอาลังเบียร์มาใส่ พอส่งไปปรากฏว่า ปัญหาคือกล่องยุบบ้าง มะม่วงเน่าบ้างเพราะเกิดเคอร์ฟิว
ง่ายๆ คือส่งขายไม่ได้ ?
ป้าหงส์ : ขายไม่ได้ค่ะ ขายออนไลน์ขนส่งก็หยุดยาว
แต่ขนส่งก็ยังส่งอยู่นะ ?
ป้าหงส์ : แต่มีการตกค้างนะคะ เพราะเขาหยุดติดกัน
มะม่วงเวลาส่งออกไปค้างช่วงวันหยุด ทำให้สุกก่อนหรือเสียเหรอ ?
ป้าหงส์ : ค่ะ มะม่วงสุกก่อน และการขนส่งกระแทก ทำให้เน่าค่ะ
ชาวสวนเป็นไงตอนนี้ ?
ป้าหงส์ : ชาวสวนตอนนี้น้ำตาตกในกันทุกคน เพราะมะม่วงเยอะมาก เอามากวนก็ไม่มีแรงงานจ้าง เพราะมะม่วงเป็นตัน ๆ ต้องช่วยกันกวน แล้วที่เหลือไม่รู้จะทำยังไง
ไปลงทะเบียนหรือยัง ?
ป้าหงส์ : ลงทะเบียนไว้แล้วค่ะ แต่ยังไม่ได้ตอบรับค่ะ
ลงทะเบียนในฐานะอะไร ?
ป้าหงส์ : ลงทะเบียนเราไม่ทิ้งกันค่ะ
ป้าต้องลงเกษตรกรนะ ไม่ใช่เราไม่ทิ้งกัน ?
ป้าหงส์ : อ๋อ ค่ะ ๆ
อันนี้ลงผิด ?
เฉลิมชัย : ถ้าเป็นเกษตรกร ต้องลงเกษตรกรนะครับ
ของป้าเขาติดต่อมาหรือยังหรือถูกตัดสิทธิ์ ?
ป้าหงส์ : พอลงทะเบียนไม่ทิ้งกัน ลงไปแล้ว แต่ยังไม่ได้ตอบรับค่ะ
ไม่ได้ถูกตัดสิทธิ์ใช่มั้ย ?
ป้าหงส์ : อันนี้ไม่ทราบค่ะ ไม่มีข้อมูลอะไรเลย เราลงไปแล้ว แต่ไม่ได้รับคำตอบว่าได้รับสิทธิ์หรือไม่ เขาแจ้งว่าขอตรวจสอบสิทธิ์ก่อนค่ะ
อันนี้เป็นปัญหาอันหนึ่ง เกษตรกรไม่รู้ว่ามีการแยกเกษตรกร แล้วไปลงเราไม่ทิ้งกัน แบบนี้เยอะไหม ?
เฉลิมชัย : เราตรวจสอบจากเลขไอดี 13 หลัก เลขบัตรประชาชน ฉะนั้นการซ้ำซ้อนการขึ้นทะเบียนเกษตรจะไม่มี แล้ววันนี้ ส่วนท่านที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรและได้ส่งรายชื่อทั้งหมด 8.33 ล้านราย ท่านอาจยังไม่ทราบ เราต้องส่งรายชื่อทั้งหมด ให้กระทรวงคลังเช็กอีกรอบว่า จะไปซ้ำซ้อนกับกระทรวงการคลังหรือไม่ ตรงนี้ทำให้เราไม่สามารถประกาศ 100 เปอร์เซ็นต์ได้ แต่ยืนยันว่าถ้า 8.33 ล้านราย ที่กระทรวงเกษตรส่งไป ถ้าไม่มีการจ่ายซ้ำกับกระทรวงการคลังจ่าย ท่านได้รับ 5 พันบาท 3 เดือนร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่จะได้รับเป็นรายครัวเรือน ส่วนกระทรวงการคลัง ได้ผ่อนผันในส่วนเกษตรกรที่เป็นสมาชิกครอบครัวแต่ไปประกอบอาชีพอิสระ มีหลักฐาน ท่านสามารถได้ทางเราไม่ทิ้งกันด้วย
ในบ้าน 1 หลังสมมติมี 5 คน หัวหน้าครอบครัวเกษตรกรไปลงทะเบียน หัวหน้าก็ได้ แต่ถ้าลูกขับรถแท็กซี่ ลูกก็จะได้จากทางเราไม่ทิ้งกัน แต่บางทีระบบทำให้คุณสับสนเพราะพ่อคุณอาจไปดึงคุณลงชื่อเป็นเกษตรกร ดังนั้นชื่อของคุณใน เราไม่ทิ้งกัน จากคนขับแท็กซี่เลยกลายเป็นเกษตรกร ดังนั้นตัวคุณเองต้องไปทบทวนสิทธิ์ใหม่เขาจะเข้าไปตรวจสอบอีกที ?
เฉลิมชัย : ถูกต้องครับ
กรณี้นี้เขามองว่าตัวเขาเป็นเกษตรกร พ่อแม่ลูก ทำนาเหมือนกัน อยู่ดี ๆ จ่ายเฉพาะพ่อ ลูกไม่ให้ ลูกไม่มีอาชีพอื่น ครอบครัวเขาก็ตกระกำลำบาก ได้แค่ 5000 ?
เฉลิมชัย : เราต้องมาดูวัตถุประสงค์ของการเยียวยาในรั้งนี้ การเยียวยาออกเป็น พ.ร.ก.เงินกู้ ซึ่งเป็นเงินภาษีประชาชน แล้ววัตถุประสงค์การเยียวยาคือเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นจาก COVID-19 การช่วยตรงนี้ ไม่ได้หมายความว่าทำให้ทุกคนสบายขึ้น มีกินมีใช้ แต่ทำให้ทุกคนในสภาวะเดือดร้อน สามารถก้าวผ่านไปได้ นี่คือความตั้งใจของรัฐบาล ดังนั้น ถึงได้มีมาตรการและหลักเกณฑ์ออกมาว่ากลุ่มไหนบ้างไม่เข้าข่ายที่จะได้ เพราะในสถานการณณ์แบบนี้ ผมอยากให้คนไทยมาช่วยกัน ใครมีศักยภาพพอ สามารถดูแลตัวเองได้วันนี้ ตรงนั้นก็ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่อยู่ตรงนี้ ท่านก็ถือว่าช่วยชาติคนหนึ่งเหมือนกัน ในการเอาเงินส่วนนี้ที่ไม่ได้มีมาก เอาไปให้พี่น้องที่ลำบากจริง ๆ แต่เกณฑ์เกษตรและสหกรณ์ เรามั่นใจว่าเราทำได้อย่างทั่วถึง เพราะเราทำมาทุกปี และยอมรับว่าวิถีชีวิตคนต่างจังหวัด วิถีเกษตรกรเขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ถ้าได้รับการดูแลในเบื้องต้นจากรัฐบาล ผมคิดว่าในส่วน 5,000 บาท 3 เดือน คอรบครัวเขาสามารถก้าวผ่านวิกฤตตรงนี้ไปได้
มองยังไง อาชีพเกษตรทั้งหมด ประมง ทำไร่ ทำนา ทำสวน เขาเป็นอาชีพต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติ ความลำบากเขามีอยู่แล้ว พอเจอโควิด เหมือนทวีคูณ ทีนี้นโยบายผลักดันช่วยเหลือคนอาชีพนี้ ต้องผลักดันมากกว่านี้ไหม ?
เฉลิมชัย : รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญตรงนี้ ท่านนายกฯ ก็มีคิดว่าในส่วนการเยียวยาเสร็จสิ้น ก็จะมีการฟื้นฟู ซึ่งใน พ.ร.ก.เงินกู้ เรามีเงินหนึ่งก้อน 4 แสนล้านบาท ที่เข้าสู่ภาคฟื้นฟูให้ประเทศไทย และเกษตรกรก็เป็นเป้าหมายหลักที่รัฐบาลจะเข้ามาดูแล ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำ หนึ่งเรื่องที่ให้ความสำคัญคือเรื่องน้ำ ทำต่อเนื่องจากที่เราทำมา สองคือการเข้าไปฟื้นฟูอาชีพ วันนี้มีแรงงานที่ไม่เคยอยู่ในภาคเกษตร กลับไปอยู่ภูมิลำเนา เราคาดว่าจะมีส่วนหนึ่งที่สถานการณ์คลี่คลายกลับไปแล้ว และไม่กลับมาทำงานเดิม แต่จะอยู่ภาคการเกษตร นั่นเป็นสิ่งที่เราจะเข้าไปดูแลให้ความรู้ ไปดูแลเรื่องต้นทุนการผลิต เทคโนโลยี นวัตกรรม ไปสานต่อให้เขาเข้าสู่การเป็นเกษตรอาชีพได้
ขออนุญาตอีกนิด อยากฝากเรียนพี่น้องเกษตรกร จากที่บอกไปเบื้องต้น แต่จะมีอีก 1.7 ล้านครัวเรือน ที่ไม่ได้มาลงทะเบียนเกษตรกร ช่วงเวลานี้ถึง 15 พฤษภาคม เวลาราชการไม่มีวันหยุด ผมได้ให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับขึ้นทะเบียนเกษตรกร ทุกวัน ไม่มีวันหยุด สำนักงานเกษตรอำเภอ ประมงอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ 3 แห่ง ฉะนั้นใครคิดว่าชื่อยังตกหล่น ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกร หรือทบทวนสิทธิ์ ขอให้ท่านไปตามที่ผมบอก เวลาราชการไม่มีวันหยุด เราจะปิดลงทะเบียนวันที่ 15 พฤษภาคม จะมีข้าราชการอำนวยความสะดวกดูแลให้ทุกอย่าง ถ้าทำไม่เป็นก็ไปบอกเจ้าหน้าที่เราจะดูแลให้ AI จะตรวจสอบอีกทีหลังเรารับข้อมูลทั้งหมดแล้ว ไปได้เลยครับ
ชมคลิป
VVV
VV
VVV
VV
VV
VVV
VVV
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น