รายการ NEWSROOM ห้องข่าวเศรษฐกิจ ออกอากาศเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา เปิดบทวิเคราะห์เจาะลึก ว่าด้วยแผนฟื้นฟู “การบินไทย” สายการบินแห่งชาติ ที่ประสบกับภาวะขาดทุนอย่างหนักต่อเนื่องมากว่า3 ปี รวมทั้งยังต้องเจอวิกฤติจากการระบาดของไวรัสโควิด-19ซ้ำอีก
โดยหยิบหยกรายงานของ หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ ถึงประเด็นนี้ ที่ได้รายงานไว้ ว่า “การบินไทย” เพิ่มทุน 8 หมื่นล้าน ผ่าตัดใหญ่เป็นโฮลดิ้ง ปั้นไทยสมายล์สู้ศึกแทน หลังการบินไทยขาดทุนอย่างหนัก
สำหรับแผนฟื้นฟู “การบินไทย”จะเร่งกู้เงิน 5.4 หมื่นล้านก้อนแรกพ.ค.นี้ ก่อนเพิ่มทุน 8 หมื่นล้าน ผ่าตัดโครงสร้างองค์กรใหม่ ยก THAI ขึ้นเป็นโฮลดิ้ง คอมปานี แยก 4 บิสิเนส เป็นบริษัทลูก
แผนฟื้นฟู บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) THAI ระยะสั้นและระยะยาวที่เพิ่งผ่านการเห็นชอบในหลักการจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา และเตรียมเสนอครม.ต่อไป
"การบินไทย" กู้งวดแรกพ.ค.นี้นอกจากแผนระยะเร่งด่วน ที่กระทรวงการคลังจะคํ้าประเงินกู้ให้การบินไทย วงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาท เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้การบินไทยประคองตัวได้จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม2563แล้วแผนระยะสองที่กำลังจะตามมา คือแผนการฟื้นฟูการบินไทยเต็มรูปแบบ
ซึ่งจุดสำคัญ คือ แผนการเพิ่มทุน 8 หมื่นล้านบาท และการปรับโครงสร้างบริษัทครั้งใหญ่ เพื่อให้การบินไทยกลับมาดำเนินธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง และเป็นกลไกในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลายลง แต่ยังมีข้อถกเถียงอยู่ว่าก่อนเพิ่มทุนใหม่จะต้องมีการลดทุน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นเดิมมีส่วนรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนหรือไม่
แหล่งข่าวระดับสูงจากคณะกรรมการนโยบายบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.)เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า
แผนการกู้เงินวงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาท ที่กระทรวงการคลังจะคํ้าประกันเงินกู้ให้นั้น การบินไทยจะทยอยกู้เงินสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า(ซอฟต์โลน) เป็นงวดๆ โดยเงินจะเข้าสู่บริษัทได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้ อีกทั้งการบินไทยจะไปเร่งเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ในประเทศ เช่น ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และเจ้าหนี้ต่างประเทศ ซึ่งในปี 2563 การบินไทยมีแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 1.02 หมื่นล้านบาทเตรียมเพิ่มทุน8 หมื่นล้านขณะเดียวกันสิ่งที่ต้องดำเนินการควบคู่กันไป คือ เรื่องการฟื้นฟูการบินไทย ให้สามารถขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปอย่างเข้มแข็งและแข่งขันได้ในอนาคต ได้แก่ แผนการเพิ่มทุนการบินไทย 8 หมื่นล้านบาท ที่จะดำเนินการในระยะต่อไป
โดยส่วนหนึ่งนำมาใช้หนี้เดิม5.4 หมื่นล้านบาทที่กู้ไป และอื่นๆ อีกราว 2-3 หมื่นล้านบาทนำมาใช้สำหรับการดำเนินธุรกิจในระยะต่อไปการเพิ่มทุนจะทำให้การบินไทยมีศักยภาพมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาการบินไทยมีทุนจดทะเบียนตํ่าหากเทียบกับสายการบินในระดับเดียวกัน ซึ่งภายใต้สัดส่วนปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร(ASK)ต่อทุนที่มากกว่า จึงเลี่ยงไม่ได้ที่การบินไทย ต้องใช้เครื่องมือ คือ เงินกู้ ในการขยายงานอย่างไรก็ตามในการเพิ่มทุนการบินไทยนั้นยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะต้องมีการลดทุนก่อนหรือไม่ เพราะตามหลักการแล้วก่อนที่จะมีการเพิ่มทุนใหม่ ควรจะมีการลดทุนเพื่อให้ผู้ถือหุ้นเดิมมีส่วนรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อน
แต่ก็มีข้อกังวลว่าหากมีการลดทุนจะทำให้กระทรวงการคลัง กองทุนวายุภักษ์ และธนาคารออมสิน ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เสียหายนอกจากนี้ยังมีแผนปลดการบินไทยออกจากสถานะของความเป็นรัฐวิสาหกิจ ด้วยการลดสัดส่วนการถือหุ้นของการบินไทยจาก 51.03% ลงเหลือ 49% โดยกระทรวงการคลังจะขายหุ้นออกไปราว 2% ให้กับกองทุนรวม วายุภักษ์ และให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังสั่งได้เข้ามาซื้อหุ้น เช่น ธนาคารออมสิน, ธนาคารกรุงไทย เพื่อให้การบริหารงานคล่องตัวมากขึ้น
รับฟังบทวิเคราะห์ประเด็นนี้เต็มๆ
ได้ในคลิปด้านล่าง
VVV
V
VV
V
VV
VV
V
VV
VV
VVV
VVVVVV