สาวเปิดใจ! ติดหนี้ กยศ. เเค่หลักพัน เเต่โดนยึดบ้าน 2 ล้าน (คลิป)
รายการ "เรื่องลับมาก (NO CENSOR)" ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 14.20 - 15.00 น. ทางเนชั่นทีวี ช่อง 22 วันนี้ (26 มิ. ย) "ดร. เสรี วงษ์มณฑา" เปิดใจสัมภาษณ์ "สมหมาย" และ "กรทิพย์" ลูกหนี้กยศ. และพี่สาว มาพร้อม "ทนายเจมส์ นิติธร แก้วโต" เพื่อพูดคุยถึงประเด็นดังกล่าว
กู้ปีไหน?
สมหมาย : "ปี 41-42 ค่ะ กู้เพราะบ้านหาเช้ากินค่ำ ไม่ถึงกับจนไม่มีกิน"
ตอนนั้นกู้เท่าไหร่?
สมหมาย : 18,400 บาท กู้เพื่อไปเรียนอาชีวศึกษา หนูทำงานรับจ้างทั่วไป ได้วันละ 200-300"
ได้ใช้หนี้มั้ย?
สมหมาย : "ใช้หนี้เป็นบางส่วน เดือนละ 500 บ้าง หนูใช้อยู่ 2-3 เดือน งานไม่มั่นคง ก็เลยออกจากงาน"
อะไรทำให้หยุดใช้หนี้?
สมหมาย : "ครอบครัวแตกแยกค่ะ มีปัญหาทะเลาะกัน จบมาปุ๊บหนูก็มีแฟน มีครอบครัว มีลูก 1 คน"
พอแตกแยกก็มีปัญหาเรื่องจ่ายเงิน?
สมหมาย : "ค่ะ หนูต้องส่งเงินมาเลี้ยงลูก ส่งค่านมค่าอะไร"
สมหมาย : "เขาก็เงียบหายไปค่ะ เขาไม่ทวง ไม่มีหนังสืออะไรมา พอปี 62 ที่มีบิลอยู่ พอมีตังค์หนูก็ไปชำระดูว่าเขาจะว่าอะไร ก็ถามเขา เขาถามว่าชำระเท่าไหร่ หนูบอกว่าชำระไปเลย 2 พัน ธนาคารก็ไม่ว่าอะไร ต่อมาอยู่ได้ปี 63 มีหนังสือมาติดอยู่หน้าบ้านจากกรมบังคับคดี ว่าบ้านขายทอดตลาดแล้วค่ะ"
จดหมายทวงหนี้มีมั้ย?
สมหมาย : "ไม่มีค่ะ จดหมายทวงหนี้ หมายศาลไม่เคยได้รับค่ะ"
กรทิพย์ : "ที่บ้านมีแต่แม่กับพ่อแก่ๆ สองคน บริเวณบ้านมีอยู่ 6 หลัง แต่เขาไปทำงานกันหมด เหลือแต่แม่กับพ่อแก่ๆ อยู่หนึ่งหลัง อีกหลังก็เป็นของน้า ไม่มีใครรู้ว่ามีเอกสารอะไรมา ที่เขาบอกส่งเอกสารติดต่อมา 11 ครั้ง ไม่เคยได้รับเลยค่ะ"
มีที่อยู่มากกว่า 1 ที่หรือเปล่า?
สมหมาย : "มีที่อยู่เดียวค่ะ คือที่อยู่บ้านค่ะ"
กรทิพย์ : "เขาต้องส่งเอกสารตามทะเบียนราษฎร์อยู่แล้วค่ะ แล้วน้องย้ายงานไปเรื่อยๆ เขาไม่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่งด้วย"
ไม่เอะใจเหรอ ไม่ได้ใช้หนี้?
สมหมาย : "รู้สึกเอะใจ พอมีตังค์ก็เข้าไปขอชำระหนี้กับกยศ.ที่ธนาคาร"
ธนาคารรับเงินใช้หนี้เท่านั้น แต่เรื่องติดไม่ติด ลงโทษคงไม่ใช่ธนาคาร?
สมหมาย : "เขาไม่ได้บอกว่าคุณติดหนี้อยู่อะไรยังไง ต้องไปศาล เขาไม่ได้บอก ธนาคารไม่รับรู้ค่ะ"
ไม่ติดติดต่อหน่วยงานกยศ.เหรอว่าลำบาก ยังจ่ายไม่ได้?
สมหมาย : "ที่คิดว่าจ่ายให้ธนาคาร เข้าระบบเขาแล้วคงไม่มีปัญหา"
จบปีอะไร?
สมหมาย : "ปี 44 ค่ะ เริ่มใช้หนี้ปี 46 ค่ะ"
กี่เดือนที่หยุดไป?
สมหมาย : "ประมาณ 3 เดือนก็หยุดเลย ไม่ได้ไปแจ้งอะไรสักอย่าง"
ไม่รู้สึกผิดเหรอที่ไม่จ่าย?
สมหมาย : "ที่ว่าผิดหนูก็คิดว่าถ้ามีอะไร เขาคงมีจดหมายมาที่บ้าน"
กรทิพย์ : "น้องที่รู้มาจากแม่ น้องอยู่ในระหว่างการเรียน และเขาก็มีแฟน เขาจบมาปุ๊บก็มีลูก แฟนเขาไม่ใช่แฟนเขาจริงๆ ไม่ใช่สามีที่มาจากการตกแต่ง เป็นรองเขาอีกทีนึง พอเขามีลูกก็หาเงินเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง เขาไม่ได้มีสามีมาเลี้ยงค่ะ หาเงินทำงานมาได้ก็เอามาเลี้ยงลูก"
เขามีเมียอยู่แล้ว สุดท้ายก็เลิกกันไป ใครเลิกใคร?
สมหมาย : "หนูเป็นคนเลิกค่ะ"
สมหมาย : "ไม่ได้ไปติดต่อเขาค่ะ เพราะหนูไปอยู่ต่างจังหวัดเลย จากทะเลาะกันปุ๊บก็ไปดิ้นรนหางานทำ"
การไม่จ่ายมันผิด?
สมหมาย : "กรณีนี้เราไม่จ่ายเขาคงมีจดหมายมาบ้าน เพราะถามคนที่กู้เรียนด้วยกัน เขาบอกว่าเขามีจดหมาย แต่ของเราไม่มีจดหมาย ก็ถามหลายๆ คนดู"
หนูรู้มั้ยว่าผิดที่ไม่จ่าย?
สมหมาย : "ไม่จ่ายก็ผิดค่ะ"
ทำไมไม่ไปติดต่อเจรจา?
สมหมาย : "หนูก็ไม่เข้าใจว่าต้องมีการติดต่อให้เจรจา"
หยุดจ่ายถึงปีไหน รู้เรื่องการขายทอดตลอดปีไหน?
สมหมาย : "ปี 49 ถึง ปี62 ค่ะ 13 ปี"
เรื่องขายทอดตลาด เกิดอะไรขึ้น?
กรทิพย์ : "หนูไม่รู้น้องหนูติดหนี้กยศ. ประมาณวันพุธเขาเอาหนังสือไปแปะตรงหน้าบ้าน มาจากกรมบังคับคดี บอกว่าได้ทำการยึดขายทอดตลาดบ้านหลังนี้เรียบร้อยแล้ว หนูก็ตกใจ แม่โทรไปหาหนู หนูรีบมาจากสระแก้ว ไปถามรายละเอียดที่กรมบังคับคดี เขาก็บอกว่ากระบวนการเขาตามนี้ๆ"
บ้านนี้เป็นของใคร?
กรทิพย์ : "บ้านนี้เป็นของหนู สร้างมากับมือ บ้านหลังนี้ไม่ได้มาจากพ่อแม่ หรือเป็นเศรษฐีมาก่อน หนูจบน้อย จบป.6 ทำงานหาเงินมาสร้างบ้านหลังนี้ เมื่อก่อนทำงานเป็นคนใช้มาเรื่อยๆ ทำงานโรงงาน พอมาระยะหลังก็เรียนต่อเป็นกศน. เลยจบม. 3 เลยหาเงินสร้างบ้านได้"
น้องเป็นหนี้กยศ.เท่าไหร่ บ้านราคาเท่าไหร่?
กรทิพย์ : "หมื่นเจ็ดค่ะ บ้านหนูราคา 4 ล้าน ขายทอดตลาด 2.1 ล้าน ขายได้จริงๆ เขาบอกว่าอยู่ที่ 2.4 ล้าน"
เขาบอกมั้ยส่วนเกินจะคืนให้มั้ยยังไง?
กรทิพย์ : "ไม่ได้บอกค่ะ เพราะหนูไปติดต่อเฉพาะกองบังคับคดีไม่ได้ถามคนที่ซื้อไป บังคับคดีไม่ได้บอกอะไรทั้งนั้นค่ะ คนซื้อบ้านก็ไม่ได้เจอ เขาทิ้งนามบัตรไว้ แต่พ่อแม่หนูเจอ"
จะทำยังไงกับคนซื้อบ้านไป?
กรทิพย์ : "หนูอยากขอความเป็นธรรมให้พ่อหนู อยากให้เขาทำตามกระบวนการ น้องกู้ก็ให้เขาดำเนินการกับน้องหนู ถ้าเขายึดบ้านน้องหนู หนูไม่เสียใจ ถ้าน้องหนูไม่มี เขายึดบ้านแม่หนู หนูก็ไม่เสียใจ เพราะไปค้ำ แต่อันนี้เขาข้ามมาเป็นบุคคลที่สาม"
พ่อหนูว่าไงบ้าง?
กรทิพย์ : "พ่อหนูเสียใจมากเลยค่ะ เกือบจะฆ่าตัวตาย"
กรทิพย์ : "ก็อยากขอความเป็นธรรมให้พ่อ(เสียงสั่นเครือ) อยากได้บ้านคืน"
ได้ติดต่อใครหรือยัง?
กรทิพย์ : "ตอนนี้ไปดำเนินการที่ศูนย์ดำรงธรรม และไปที่ปปช. ไปขอความเป็นธรรมค่ะ แล้วมานั่งคุยกัน ผอ.กรมบังคับคดีก็มาคุยด้วย ท่านก็คุยรายละเอียดให้ดูว่าเขาดำเนินการตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว แต่เขาจะช่วยคุยกับคนที่ซื้อไปว่าไม่ต้องซื้อ แล้วจะดูว่าเขาจะยอมมั้ย ถ้าเขาคืนให้จะคิดในราคาที่เหมาะสมมั้ย หรือคิดแพงกว่านี้"
เขาไปเจรจาหรือยัง?
กรทิพย์ : "ยังค่ะ เขานัดวันที่ 14 แต่หนูคิดว่ามันนานเกินไป เพราะคนที่ซื้อ วันที่ 8 เดือนหน้าเขาจะซื้อสมบูรณ์แบบทุกอย่างแล้ว ธกส.บอกว่าไม่ต้องเซ็นโอน เพราะถ้าเขาเอาเงินมาใช้หนี้ธกส.ทุกอย่างสมบูรณ์แบบ โดยไม่ต้องมีหนูเซ็นก็ได้"
หนี้ธกส. คืออะไร?
กรทิพย์ : "หนูไปกู้เงินมาเพื่อซ่อมแซมบ้านเพิ่มเติม จากที่หนูเก็บเล็กผสมน้อยสร้างขึ้นมาก่อนหน้านี้"
ต้องออกจากบ้านเมื่อไหร่?
กรทิพย์ : "ยังค่ะ เพราะยังไม่สมบูรณ์แบบ เขายังจ่ายเงินไม่หมด ที่บอกว่าสมบูรณ์วันที่ 8 ตอนนี้ต้องเร่งเอาบ้านคืนก่อนวันที่ 8 ไม่งั้นต้องออกจากบ้านค่ะ"
คุยกับ "คุณชัยณรงค์ กัจฉปานันท์" ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เรื่องมาถึงตรงนี้
พอมีอะไรช่วยลูกหนี้ได้บ้าง?
ชัยณรงค์ : "วันนี้เราช่วยเจรจากับทางคนซื้อไป เขายินดีจ่ายคืนในราคาเดิม น้องเขาแค่ซื้อคืนไปในราคาเดิมในราคาที่เขาประมูลได้ไป เขาก็มาใช้หนี้กยศ.อีกหมื่นกว่าบาทก็จบ"
กระบวนการทวงเป็นยังไง ถึงได้ออกมาเป็นแบบนี้?
ชัยณรงค์ : "เบื้องต้นเขากู้ไป 2541 น้องเขากู้ไปประมาณ 2 หมื่นบาท เราฟ้องคดีเขาปี 2551 พอดีน้องเขาไม่ได้ชำระเงินตามสัญญาเงินกู้ เรามีการติดต่อ ส่งคำบังคับอะไรไป น้องเขามาจ่ายอยู่หนนึง จนใกล้ครบอายุความ เราก็จำเป็นต้องบังคับคดี เราก็สืบหาทรัพย์เขา พบทรัพย์น้องเขาแต่ถูกเจ้าหนี้อื่นยึดทรัพย์ไปแล้ว เรายึดไม่ได้ เราก็ไปยึดที่ผู้ค้ำประกัน พอเรายึดมา ขายมาแล้ว 10 ครั้ง ครั้งที่ขาย เป็นครั้งที่ 11"
พ่อค้ำด้วยเหรอ เพราะน้องบอกแม่เป็นคนค้ำเท่านั้น?
ชัยณรงค์ : "จริงๆ จำเลยมี 3 คน มีชื่อน้อง เป็นจำเลยที่หนึ่ง จำเลยที่สอง ทรัพย์เรายึดจำเลยที่สาม ต้องเรียนว่าปกติกยศ. เราเป็นหน่วยงานของรัฐ เราไม่เอาเปรียบใคร ไม่แสวงหาผลประโยชน์หรอกครับ ถ้าน้องเขาโดนฟ้องแต่แรก เราให้ทำสัญญาประนีประนอมผ่อนอีก 15 ปี แต่ถ้าไม่ผ่อน มายึดทรัพย์แล้ว ขอแค่มาติดต่อเราอย่าเพิ่งขายนะ เราให้ผ่อนต่ออีก 6 ปี แต่รายนี้น้องเขาไม่ติดต่อมาที่เรา เราเลยทำอะไรไม่ได้"
เพราะขาดการติดต่อกัน?
ชัยณรงค์ : "ใช่ครับ ปกติเจ้าหน้าที่หรือกรมบังคับคดี ส่งหมายไปที่ภูมิลำเนาผู้กู้ทุกครั้ง เราทำตามกฎหมายชัดเจน"
ทนายว่ายังไง?
ทนาย : "จากที่ดู ลูกหนี้ไม่ไปติดต่อศาลเลย เขามีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำหมายฟ้องให้ไปศาล ถ้าไม่ไป เจ้าหนี้จะสืบไปฝ่ายเดียว แล้วขอให้ศาลพิพากษาให้ชนะคดีโดยจำเลยขาดนัด เขาจะส่งหมายบังคับให้จ่ายเงินใน 30 วัน ถ้าไม่จ่ายเขาจะไปออกหมายบังคับคดี ครั้งที่ 2 ครั้งที่สามจะส่งหนังสือมาแจ้งว่าจะยึดทรัพย์แล้วนะ แล้วเขาส่งใบประเมินราคามาให้แจ้ง ว่าคัดค้านมั้ย ถ้าไม่คัดค้านเขาจะเอาไปขายทอดตลอด ขั้นตอนที่ห้ากำหนดขายทอดตลาด จากที่เขาพูดว่ามีการขายทอดตลอดหลายครั้ง แสดงว่าสี่ครั้งขายไม่ได้ ก็เลยมีครั้งที่ห้าหกเจ็ดแปด เขาส่งหมายมาอีกรอบนึงเพื่อแจ้ง พอขายได้เขาก็มีหมายแจ้งมาอีกรอบ นี่คือขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ กฎหมายมีกำหนดไว้เพื่อไม่ให้เจ้าหนี้เอาเปรียบลูกหนี้"
มีหลายขั้นตอน ทำไมไม่ไปติดต่อเลย?
สมหมาย : "กรณีมีหมายศาลมา ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเห็น แล้วหนูจะรู้ได้ไงว่ามีหมายศาลมา"
ทนาย : "ถ้าอ้างแบบนี้ได้หมด สามารถอ้างได้ทั้งประเทศทุกคดี จะอ้างว่าตัวเองไม่ได้รับหมายไม่ได้"
ทำไมไม่ติดต่อกยศ. ไปเจรจา?
สมหมาย : "หนูไม่รู้จะติดต่อที่ไหนยังไง ตอนกู้หนูกู้ที่โรงเรียน ตอนชำระก็ติดต่อธนาคาร"
ฟังขึ้นมั้ย?
ทนาย : "กรณีแบบนี้เกิดขึ้นบ่อย อย่างรอบที่แล้วโทรศัพท์มือถือ ตัวอยู่ที่ แต่ที่อยู่อยู่อีกที่ คนอยู่บ้านไม่รู้เรื่อง ผมจะบอกเทคนิคง่ายๆ เอกสารอะไรก็แล้วแต่ที่มีตราครุฑ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นเรื่องอันตราย เป็นเรื่องเป็นราวแล้ว ให้ติดต่อลูกหลานซะ จะเป็นเรื่องร้ายแรงขึ้นมา นี่ดีนะไม่ใช่คดีอาญา ถ้าเป็นคดีอาญาโดนจับไม่รู้ตัว"
บ้านนี้พี่สาวลงทุนลงแรง รู้สึกยังไง?
สมหมาย : "รู้สึกเสียใจค่ะ ต้องหาเงินมาไถ่ถอนซื้อคืน หากู้ยืมเขามาเพื่อเอาบ้านคืนให้พี่สาวกับพ่อค่ะ"
รู้สึกมั้ยว่าทั้งหมดเราเป็นคนที่ทำผิด?
สมหมาย : "รู้สึกค่ะ"
คุยกับคุณชัยณรงค์ รู้สึกมีความหวังมั้ย?
กรทิพย์ : "มีความหวังค่ะ"