หมอ แนะ!บิ๊กตู่ เลือกขุนพลที่มีความรู้-ชำนาญกว่านี้ หวั่นไทยจะเหมือนอิตาลี
เมื่อวานเห็นคลิปอาจารย์ที่มีการพูดเอาไว้ คนแชร์ต่อเยอะมาก หนึ่งในนั้นมีสิ่งที่น่าสนใจ อาจารย์บอกว่าเป็นไปได้เหลือเกิน 4 วันนับจากอาจารย์พูดจะมีคนป่วย 1 พันคน ที่มาที่ไปเป็นยังไง อาจารย์ประเมินจากอะไร?
รศ. ดร.พญ. ภัทรวัณย์ : "ที่มาที่ไป จากการที่เราดูว่ามีผู้ป่วยทุกวันเลย ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ดี เราก็คิดว่าเริ่มเข้ากราฟ เกิน 100 คน พอเกิน 100 คน เรามทางเลือก 2 ทาง ทางนึงไปอิตาลี สองลงมาแบบสิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ประเทศที่มีการระบาดมากๆ กราฟจะเพิ่มขึ้นวันละ 33 เปอร์เซ็นต์จากตัวเลขของวันก่อน ซึ่งยอดเราจะน่ากลัวมาก อีก 4 วันถ้าเราไม่มีมาตรการ อะไรภายใน 4 วัน และรอให้ถึงพัน เราจะเอาพันนั้นให้ลงมันจะยากมาก มันจะทะลุขึ้นไปเรื่อยๆ"
เมื่อวานมีการแถลงว่ามีคนติดเชื้อ 188 ราย วันนี้ที่เราสัมภาษณ์กันอยู่คือวันจันทร์ มาอีก 122 ยอด 721 ราย สถิติดูลดลงมั้ย?
รศ. ดร.พญ. ภัทรวัณย์ : "ดูลดลง เมื่อวานเพิ่มจากวันก่อน แต่วันนี้เพิ่มจากเมื่อวาน ประมาณสัก 20 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ไม่แน่ใจว่ามีผู้ป่วยที่รอการคอนเฟิร์มจากแลปที่ตรวจหรือเปล่า ถ้าดูกราฟเส้นสีแดง เป็นเส้นประเทศไทย อิตาลีสีเขียว ถ้าเป็นญี่ปุ่นเป็นสีน้ำเงินด้านล่าง เรายังมีทางเลือกว่าเราจะไปข้างบนหรือลงมาด้านล่าง ทีนี้ข้างบนเราก็ทำเส้นประดูว่าถ้าเราจะแตะเส้นนี้ ถ้าเป็น 33 เปอร์เซ็นต์ที่ระบาดหนักมาก เราไม่อยากแตะเส้นนี้ เราเฝ้าดูว่าถ้าเราจะแตะเส้นนี้ อีกสี่วันเพิ่มเป็นพัน อีกสิบวันเพิ่มเป็นห้าพัน อีกสิบสี่วันเพิ่มเป็นเกือบหมื่น จากแรกๆ ดร็อปๆ ไปบ้าง แต่เราจะไต่ไปทาง 33 ดูแล้วก็น่าเป็นห่วงมาก เราน่าจะมีมาตรการที่เข้มข้นกว่านี้ ไม่งั้นโอกาสที่จะลงมาแบบญี่ปุ่นเป็นฝันที่ไกลเกินไป"
มาฟังอาจารย์จุฬาฯ มองยังไง?
อาจารย์มองว่ามาตรการตอนนี้ยังไม่พอ?
รศ.นพ. ธีระ : "ยังไม่พอ"
จำเป็นต้องปิดประเทศมั้ย?
รศ.นพ.ธีระ : "จริงๆ ถ้าจะให้ดีที่สุดมีสองหลักที่ต้องทำ ผมไม่ค่อยชอบคำว่าปิดประเทศเท่าไหร่ พอพูดไปปุ๊บจะทำให้คนน่ากลัว แต่อยากให้ทำสองอย่างคือปิดกั้นให้คนต่างประเทศเข้ามา ตอนนี้มันน้อยลงแล้วแต่ก็ยังพอมีอยู่บ้าง สองไม่ให้คนที่ติดเชื้ออกไปแพร่ให้คนอื่น มาตรการที่สอง ทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ประเทศไทยเราช่วยกันอยู่กับที่เท่าที่จะทำได้ แล้วมันจะดีขึ้น"
เช้ากินค่ำ อาจารย์มองยังไง?
รศ.นพ. ธีระ : "ส่วนตัวผมมองว่าถ้ารัฐจะจัดการตัดวงจรการระบาดนี้ได้ เรากำลังทำสงครามกับโรคระบาด สิ่งที่จะต้องทำ มีอยู่ 4 เรื่องหลักๆ เรื่องแรกเตรียมกับสังคมให้ดี อาจต้องสู้กับโรคระบาด เรื่องปิดเมืองอะไรก็แล้วแต่ อาจเกิดปัญหาเรื่องความภัย และสวัสดิภาพของประชาชนได้ ตร.ทหารต้องวางแผนไว้ สองรณรงค์ให้คนรู้ว่าต้องประพฤติปฎิบัติยังไง มีระเบียบ และเชื่อฟังมาตรการที่รัฐได้ประกาศออกไป และปฏิบัติต่อกัน เช่นการวางระยะห่างระหว่างกันให้เป็นนิสัย สองเรื่องเศรษฐกิจ คนเราต้องกินต้องใช้ นั่นแปละว่าอาจต้องเตรียมสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน นั่นหมายถึงต้องเตรียมอาหารการกินและต้องไม่ลืมคนเบี้ยน้อยหอยน้อย คนยากจน ต้องหาทางเยียวยาเขา ในตอนที่เราปิดประเทศหรือปิดเมือง และอันที่สามคือเรื่องการแพทย์ สงครามกับโรคระบาดเป็นการสู้กับเชื้อโรค สถานพยาบาลต้องเตรียมให้พร้อม ใช้ได้จริง เตรียมเครื่องมือบุคลากรให้พร้อม แบ่งให้ดีว่าอันไหนเป็นรพ.สำหรับโรครุนแรง อันไหนไม่รุนแรง สุดท้ายเรื่องบริหารจัดการ นี่คือสงครามโรคระบาดของคนทั้งชาติ ฉะนั้นท่านนายกฯ ต้องลงมาบัญชาการเอง ซึ่งท่านก็ลงมาอยู่ ร่วมกับขุนพลคู่ใจแต่ขุนพลต้องเลือกให้ดี ให้เหมาะสม มีความรู้ ความชำนาญ เชี่ยวชาญสู้กับโรคระบาด ไม่ใช่การบริหารแบบเล่นๆ"