ศธ.ยัน!เรียนออนไลน์ แค่เตรียมพร้อมก่อนเปิดเทอม ย้ำ!ไม่ต้องซื้อมือถือ-ทวีเพิ่ม
หน้าแรกTeeNee คลิปเด็ด ข่าว เหตุการณ์ การเมือง ศธ.ยัน!เรียนออนไลน์ แค่เตรียมพร้อมก่อนเปิดเทอม ย้ำ!ไม่ต้องซื้อมือถือ-ทวีเพิ่ม
รายการโหนกระแสวันที่ 19 พ.ค. "หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย" ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ได้สัมภาษณ์ "วราวิช กำภู ณ อยุธยา" ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มาพร้อม "อำนาจ วิชยานุวัติ" เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีการเรียนออนไลน์ในยุคโควิด-19 ที่มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
วราวิช : "เป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียน การเรียนหนังสือที่ดีที่สุดต้องเรียนที่โรงเรียน เรียนออนไลน์ยังไงก็สู้ไม่ได้ แต่ทีนี้พอสถานการณ์โควิดเข้ามา เราเลื่อนเปิดเทอม นำเรื่องเข้าครม. อนุมัติเลื่อนเปิดเทอม จริงๆ เราควรเปิดเทอมวันที่ 18 พ.ค. ณ วันที่ 7 เม.ย. ถ้าจำกันได้สถานการณ์โควิดในเดือนมี.ค. ติดเชื้อเยอะหลักร้อย ณ วันนี้ติดเชื้อน้อยลง แต่ตอนที่ประกาศไม่มีใครแน่ใจว่าจะลงมาถึงหลักสิบ หมอบางคนพูดถึงหลักแสนด้วยซ้ำ ประเด็นที่หนึ่งเราต้องยืดเปิดทอมออกไปก่อน"
"การยืดเปิดเทอมไป 43 วัน การเรียนรู้อาจไม่เต็มที่ แก้ไขได้ แต่ถ้าเปิดเทอมไป ซึ่งหลายคนบอกให้เปิดเทอม ถ้าเกิดปัญหาสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น คณครูติด เด็กติด ติดกลับบ้านยังดี แต่ถ้าติดแล้วเสียชีวิตแก้ไขไม่ได้นะครับ
"ฉะนั้นสิ่งที่เราพยายามทำอยู่คือเลื่อนเปิดเทอมไปก่อน กลับมาที่คำถามว่าที่ทำเมื่อวานหรือที่ทำช่วงนี้ทำอะไรกันอยู่ เราต้องเตรียมความพร้อมครับ ณ วันนี้เราไม่เคยเรียนนอกโรงเรียนมาก่อน การเรียนที่บ้านเป็นครั้งแรกในประเทศไทย หรือหลายประเทศด้วยซ้ำที่เรียนเต็มรูปแบบแบบนี้ เมื่อก่อนเรียนที่โรงเรียน โรงเรียนทันสมัยหน่อยก็ให้ไปทำการบ้านที่บ้าน แต่ ณ วันนี้กลับหัวกลับหางหมด เรียนที่บ้านร้อยเปอร์เซ็นต์"
วราวิช : "กราบเรียนอย่างนี้ครับ เราอาจขาดการสื่อสาร หรือสื่อสารกันไม่เข้าใจเพียงพอ ตอนนี้เราให้คุณครูสื่อสารไปหมดแล้ว ประเด็นที่หนึ่งไม่ต้องซื้ออะไรเลย กรุณาไม่ต้องซื้ออะไรเลย ไม่ว่าจะโทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ตเพิ่มเติม แม้กระทั่งทีวี ตอนนี้เราแบ่งการเรียนที่บ้านเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเรียกว่าออนแอร์ ผ่านโทรทัศน์ อีกส่วนคืออนไลน์ ต้องมีสมาร์ทโฟน อินเตอร์เน็ต ทั้งหมดเราต้องการให้ถึงผู้ที่อยู่ห่างไกล ไม่ใช่ระยะทาง ห่างไกลเทคโนโลยีมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ก็คือดูทีวี ทีวีแน่นอนมีทีวีหนึ่งเครื่องในครัวเรือน มีลูกมากกว่าหนึ่งคน ต้องไปซื้อทีวีเพิ่มมั้ยครับ ไม่ต้องครับ เพราะเรารีรันครับ ณ วันนี้เราได้ช่องจากกสทช 17 ช่อง อนุบาล - ม.6 15 ช่อง อาชีวะ 1 ช่อง กศน. 1 ช่อง ช่องใครช่องมัน วันนี้พ่อแม่ผู้ปกครองเริ่มจำได้แล้วว่าลูกตัวเองอยู่ช่องไหน เรารีรัน 4 รอบครับ เช้า กลางวัน บ่าย เย็น ผลัดกันดูครับ"
แบ่งกันดูรีรัน แม่ไม่ต้องทำอะไรเลย?
วราวิช : "อันนั้นก็อีกปัญหานึง อย่างที่กราบเรียน เราไม่ได้คาดหวังว่าสิ่งที่เราทำแบบนี้ เราจะไม่กลับไปโรงเรียนเลย เราเตรียมความพร้อมว่าในที่สุดแล้ว พอเราเปิดเทอม แล้วถ้าโรงเรียนเหล่านั้นต้องปิด 14 วัน เนื่องจากเป็นไปได้เด็กหรือครูติดโควิด 14 วันเด็กหรือครูต้องกักตัว ก็ต้องเรียนอยู่ที่บ้าน หลังจากนั้นก็กลับไปเรียนใหม่ เราเตรียมความพร้อมตรงนี้"
"สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองห่วงว่าจะเป็นแบบนี้ไปอีกปีนึงเหรอ รับไม่ไหว ไม่ใช่ครับ กรกฏาคมต้องเปิดเทอม ฉะนั้นตรงนี้คือเหลืออีก 42 วัน กลับไปเรื่องค่าใช้จ่าย หนึ่งไม่มีนะครับ สอง ณ วันนี้ทางสพฐ. ได้เดินแล้วครับ คุณครูไปเกือบทุกบ้าน เราได้ข้อมูลมาครบแล้วว่ามีนักเรียนของเรา ที่เข้าไม่ถึงทีวี ประมาณ 1.5 ล้านครัวเรือน ตอนนี้ได้รับความกรุณาจากกสทช และดีอี ให้กล่องเรา 2 ล้านกล่อง กำลังจะเริ่มเดินแจกแล้ว ตรงนี้ให้ฟรี ทางอาชีวะจะจัดบุคลากร นักเรียนอาชีวะไปช่วยจูน เผื่อบ้านไหนยังติดขัดเรื่องการเซ็ตอัพและจูน"
"ต้องมีมือถือมั้ย ไม่ต้องครับ การเรียนออนไลน์เราจัดเพียงให้เด็กในอนาคตเมื่อไปโรงเรียนไม่ได้ เฉพาะม. 4 ม. 5 ม.6 เท่านั้น เราไม่คิดว่าเด็กเล็กจะมีศักยภาพพอที่จะมาเปิดแล้วเรียนออนไลน์เองได้ นั่นคือเรื่องของการมีเครื่องมือและอินเตอร์เน็ต ณ ขณะนี้ท่านรัฐมนตรีกำลังปรึกษาหารือกับกสช. เพื่อขอความร่วมมือกับโอเปอเรเตอร์อีก 3 เจ้าเรื่องอินเตอร์เน็ต ว่าถ้าเกิดเป็นการเรียนเพื่อการศึกษา ซึ่งเดี๋ยวเราคงขอเลขหมายโทรศัพท์ของนักเรียนผ่านเว็บ ซึ่งถ้าผ่านตรงนี้ขอฟรี ถ้าคุณพ่อคุณแม่ให้ลูกมีมือถือจ่ายให้ 500 ไว้ทำอะไรก็ตาม ดูเน็ต เล่นเกม เรียนหนังสือฟรี"
กว่าจะเริ่มเป็นตัวเป็นตนกว่าจะไปถึงตัวผู้บริโภค ผู้ใช้จริงๆ เด็กจะตามไม่ทันหรือเปล่า เด็กที่ต้นทุนทางสังคมไม่พร้อม ต้องไปเรียนไล่หลังเขาหรือเปล่า แล้วใครจะมาสอนเขา?
วราวิช : "ที่โรงเรียนไงครับ ต้องกลับไปเรียนแน่นอน วันที่ 1 ก.ค. ณ ขณะนี้วันนี้เราเตรียมความพร้อม เราจะรู้ทันทีว่าบ้านไหนไม่มีทีวี ซึ่งตอนนี้เรารู้แล้ว เด็กคนไหนไม่มีมือถือ ซึ่งเราคิดว่า ม. 4 - 6 ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ เดี๋ยวโรงเรียนเตรียมตัว นึกสภาพนะครับ พอทุกคนไปโรงเรียน โรงเรียนนี้ปิด มันไม่ได้ปิดทุกโรงเรียน เฉพาะเด็กโรงเรียนที่ติดโควิดที่เรียนออนไลน์หรืออนแอร์ อันนี้เตรียมเอาไว้ เพราะเรายังต้องอยู่แบบนี้ไปอีก 2 ปีนะครับ"
อำนาจ : "ระหว่างนี้เราใช้คำว่าเป็นการตรวจสอบความพร้อมการเรียนการสอนก่อนเปิดภาคเรียน ต้องเอาคำพูดนี้ให้ชัด ซึ่งปัญหาเกิดขึ้นแน่นอน ยังมีข้อจำกัดอะไรต่างๆ ที่ต้องเรียนรู้ร่วมกัน ตอนนี้เราทดลองสองเรื่อง เน้นหนักเรื่องออนแอร์ มีสื่อสองส่วน คือสื่อที่ในหลวง ร. 9 ทรงกรุณามอบให้มูลนิธิทางไกลผ่านดาวเทียม เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. ปี 2538 เราเห็นว่าสื่อนี้มีอยู่แล้ว และมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์ผลิตอยู่แล้วประกอบกับในหลวง ร. 10 พัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก็ใช้สื่อนี้ทดลองให้คุณครูทุกคนทั่วประเทศมาใช้ เดิมนั้น เราใช้เพียง 16,000 โรงเรียน โรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนที่ขาดแคลน โรงเรียนห่างไกล โรงเรียนครูไม่ครบชั้น ครูไม่ครบเขต ซึ่งสื่อนี้มีพัมนาการ คุณครูก็ผ่านการคัดเลือกมาอย่างดี คุณครูทุกคนตั้งใจครับ สื่อออนแอร์ตรงนี้ เราเปิดให้เรียน เราประชุมคุณครูทางไกล ชี้แจงไป วันนี้คุณครูก็เรียนรู้ด้วยนะครับว่าสื่อต่างๆ ที่มีอยู่ในออนแอร์มีตรงไหนอย่างไร ความพร้อมคุณครูก็เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ครูทุกคนถ้าถามว่าร้อยเปอร์เซ็นต์มั้ย วันนี้เราคิกออฟเริ่มออนแอร์ 18 พ.ค. เพื่อให้ครูเรียนรู้ด้วย ผู้ปกครองและนักเรียนเรียนรู้ด้วย เรียนรู้เพื่อปรับพื้นฐานเด็กว่าพร้อมทางไหน มีใบงานกิจกรรมอะไรต่างๆ ผมคิดว่าตรงนี้เป็นกระบวนการเตรียมความพร้อม"
อำนาจ : "กรณีนี้ถ้าปล่อยเด็กอยู่เฉยๆ โรงเรียนไปไม่ได้ มติครม. บอกว่าต้องเลื่อนการเปิดเทอม ช่วงนี้เป็นช่วงว่างของนักเรียน เครื่องมือนี้เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เมื่อวานไปนนทบุรี ไปเจอความสวยงามของท้องถิ่น อบต. จัดแหล่งเรียนรู้ในชุมชนให้เด็กมาเรียน บางบ้านไม่มีทีวี ไม่มีมือถือ คุณครูก็พาไปเรียนที่โรงเรียน ก็สามารถไปได้ แต่เป็นจุดที่เราเจอปัญหาร่วมกัน จะมีทางออกร่วมกันอย่างไร จะมีทิศทางอย่างไร ทราบว่าปัญหาเกิดแน่ เราทำการรองรับเพื่อเปิดเรียน ถ้า 1 ก.ค. ไม่เตรียมความพร้อมเลย เปิดปุ๊บ ปัญหาเกิดขึ้น นั่นเรียนจริงครับ ช่วงนี้เป็นการที่เราเตรียมความพร้อมครับ"
เท่าที่ฟัง จับความได้ว่าทั้งหมดทั้งมวล กระทรวงศึกษาธิการ ออกมาตรการเรียนผ่านออนไลน์ ออนแอร์ สิ่งที่ต้องการคือเผื่อเอาไว้ว่าวันหนึ่งโรงเรียนไหน จำเป็นต้องหยุดเรียน 14 วันเพราะโควิด-19 ต้องถูกกักแน่ ก็เลยมีตัวนี้ออกมาเสริมเข้าไปก่อนไปเรียนเสริมใหม่อีก 14 วันข้างหน้า ไม่ใช่ชีวิตประจำวัน?
วราวิช : "ประเด็นที่อยากเล่าให้ฟัง คือขณะนี้ เรามีโทรทัศน์การศึกษา 17ช่อง ไม่มีประเทศไหนมีนะ เยอะมากการศึกษาอย่างเดียว ได้รับความกรุณาจาก กสทช. และเอกชนที่เป็นเจ้าของมัตซ์ ให้ความร่วมมือทั้งหมด ฟรีนะครับ ไม่มีบัดเจ็ดใดๆ ทั้งสิ้น สองมีช่องไม่มีสื่อก็จบอีกเหมือนกัน ณ วันนี้กราบเรียนเลยว่ามีประเทศเดียวที่มีสื่อครบ ตั้งแต่อนุบาล ถึง ม. 6 ที่บอกว่าเรียนออนไลน์คือคุณครูสอนสด ต้องผ่านอินเตอร์เน็ต"
วราวิช : "ถูกต้องครับ อย่างที่กราบเรียน เรียนผ่านทีวีเราไม่ได้บอกว่าคุณภาพจะร้อยเปอร์เซ็นต์เหมือนเรียนที่โรงเรียนเพราะเป็นวันเวย์ เพราะถามไม่ได้ อย่างมากส่งไลน์ ส่งเฟซบุ๊กมา ดีกว่านั้นคือออนไลน์ ตอบโต้ได้ แต่เข้าถึงน้อยเพราะคนเหล่านั้นต้องมีอินเตอร์เน็ต มือถือ โน้ตบุ๊ก เราต้องมองบาลานซ์ระหว่างจำนวนกลุ่มที่มีและไม่มี ต้องเข้าถึงให้มากที่สุด"
วันที่ 1 ก.ค. ที่จะเปิดเทอมทั่วประเทศ พร้อมแค่ไหน มาตรการต่างๆ นานา?
อำนาจ : "ในภาพรวมเราดูเรื่องโควิด-19 ก่อนดูเรื่องความปลอดภัย ประเมินสถานการณ์ทุกช่วง สถานการณ์ช่วงนี้เราเรียกว่าระยะที่สอง ระยะที่หนึ่งเตรียมความพร้อม ระยะที่สองตรวจสอบความพร้อม สามปฏิบัติจริง ซึ่งเราเตรียมไว้ประเมินสถานการณ์ตั้งแต่ 18 พ.ค. - 30 มิ.ย. โดยใช้สถานการณ์โควิด-19 เป็นฐานการตั้ง เราจะแบ่งโรงเรียนเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งออนไซต์ 100
ปอร์เซ็นต์จากสถานการณ์ไหน เช่นน่านในพื้นที่ไม่มีโรคติดต่อตั้งแต่ต้น ก็จะมีการประเมินสถานการณ์ ถ้าเปิดได้ก็เปิด แต่ถ้าไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ส่วนหนึ่งออนไลน์ ออนแอร์เพิ่มเติมได้มั้ย ตอนนี้เราเตรียมไว้แล้ว ครูเรียนรู้แล้ว สอนได้ หรือโรงเรียน 50-50 ในสังคมเมือง อย่างกรุงเทพฯ ปริมณฑล อาจต้องแบ่งกะ แบ่งสัดส่วนให้นักเรียนมาเรียน อาจต้องวางแผนกัน ประเมินสถานการณ์ก่อน หรือโควิดเข้ามา โรงเรียนนี้ปิด 14 วัน ก็เรียนออนแอร์ ออนไลน์ไป"
อำนาจ : "มาตรการคุมโควิด-19 ใช้ครบถ้วน ตั้งแต่เรื่องการวัดอุณหภูมิ เจลล้างมือ หน้ากาก โซเชียลดีสแทนซิ่ง"
ลดค่าเทอมมั้ย?
อำนาจ :"สพฐ. ไม่มีค่าเทอม ส่วนโรงเรียนที่มีค่าเทอมต้องถามว่าโรงเรียนเอกชนเขามีกิจกรรมอะไรบ้าง ของเราเรียนฟรี แต่เอกชนเราไม่ก้าวล่วงครับ"
วราวิช : "โรงเรียนเอกชนคงต้องคุยเป็นเคสๆ ไป เพราะเขาประกอบกึ่งธุรกิจ โรงเรียนเอกชนเป็นทางเลือกที่ผู้ปกครองมุ่งหวังว่าอาจจะมีคุณภาพดีกว่า หรืออะไรก็ตาม ฉะนั้นเมื่อเป็นทางเลือกคงต้องดูผู้ประกอบการและลูกค้าต้องพูดคุยกันครับ"
ก่อนหน้านี้ 5 ครูหื่น มีเพศสัมพันธ์กับเด็กนักเรียน 14 ล่าสุดวันนี้สองข่าวที่ชุมพร ครูบังคับให้เสพยาบ้าและข่มขืน ครูเข้ามอบตัว มีแชตลับเรียกเด็กไปโน่นนี่นั่น มาตรการจะทำยังไงต่อไป?
อำนาจ : "จริงๆ แล้วกระทรวงศึกษาธิการกังวลใจเรื่องนี้มาก เราไม่สบายใจเลย ทุกครั้งที่มีข่าวเราคิดว่าคุณครูไม่น่าทำเลย เราตั้งศูนย์นักเรียนเพื่อช่วยเหลือเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ ดูแลเด็กเบื้องต้น เราทั้งป้องกันและปราม ถึงปราบด้วยซ้ำไป เพื่อให้คุณครูตระหนักว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี การให้ความรู้ ความเข้าใจคุณครูเราทำอยู่แล้ว ถ้าคุณทำคุณจะได้รับโทษอย่างไร กระบวนการสอบสวนทางวินัย เราจะให้ออกไปเลย และจะกลับมาเป็นครูไม่ได้อีกแล้ว"
คลิป
vvvvvvv
vvvvv
vvv
v
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น