พ่อเศร้า...เล่าไวรัส RSV คร่าชีวิตลูกสาววัย 10 เดือน (คลิป)
อภิวัฒน์ : "หายใจเร็ว และมีเสียง เหมือนเป็นหอบ เริ่มมีอาการวันที่ 6 ต.ค. เข้ารับการรักษาวันที่ 8 ต.ค. วันที่ 7 เริ่มไข้ขึ้นสูง 38-39 ก่อนหน้านี้น้องเพิ่งออกจากรพ.ได้แค่ 2-3 วัน เดิมน้องเป็นโรคหัวใจรั่วเป็นทุนเดิม เป็นโรคประจำตัว เลยมีอาการหายใจเร็ว"
พอแอทมิดรอบสอง หมอว่าไงบ้าง?
อภิวัฒน์ : "หมอเอกซเรย์ปอด แล้วบอกว่าปอดน้องติดเชื้อชนิดนึง ไม่ได้แจ้งทันทีว่าเป็น RSV ตอนนั้นไม่ทราบว่า RSV คืออะไร"
ตอนอยู่ในมือหมอแล้ว น้องมีอาการยังไง?
อภิวัฒน์ : "ไข้ขึ้นสูง เช็ดตัวก็ไม่ลง ให้ยาลดไข้ก็ไม่ดีขึ้น ก็ให้ยาฆ่าเชื้อตามขั้นตอนการรักษาของคุณหมอ"
ขณะที่คุณหมอบอกว่าคนเราปกติมีเชื้อ RSV อยู่ในตัว?
นพ. สิทธา : "ใช่ เหมือนหวัดทั่วไป แต่เผอิญ RSV ในคนทั่วไปจะไม่รุนแรง เจ้าเชื้อตัวนี้ทำให้เกิดพวกสารคัดหลั่ง ฉะนั้นน้ำมูก เสมหะจะเยอะ แต่มันจะหนักสำหรับคนที่มีโรคประจำตัวบางโรค เช่น โรคหัวใจ โรคปอด คลอดก่อนกำหนด หรือคนที่อยู่ในชุมชุนแออัด ภูมิต้านทานต่ำ เขาก็จะเสี่ยงต่อการที่ RSV จะทำความรุนแรงให้กับร่างกายเด็กๆ ได้มากขึ้น"
อภิวัฒน์ : "มีคุณแม่ที่เป็นไข้หวัด"
น้องป่วยกี่วันถึงเสีย?
อภิวัฒน์ : "ถ้านับวันเข้ารพ. 8 ต.ค. ก็อยู่รพ.ยาวถึงวันที่ 30 ต.ค. คือวันที่น้องเสีย"
ถามคุณหมอมั้ย น้องมีโอกาสหายมั้ย?
อภิวัฒน์ : "หมอบอกว่าวัคซีนป้องกันยังไม่มี หมอรักษาตามอาการ"
นพ.สิทธา : "ตัวนี้เคยทำวิจัยว่าพอฉีดวัคซีนเข้าไปอาการหนักกว่าเดิม ปัจจุบันเลยไม่มีวัคซีนที่รักษาได้เด็ดขาด เหมือนกับตอนนี้เรารอวัคซีนที่รักษาโควิดอยู่ การดูแลคือรักษาตามอาการ ถ้ามีไข้ก็เช็ดตัว ทีนี้ที่บอกว่า RSV มักไม่มีไข้สูง แต่กรณีน้องเนเน่ไข้สูงมาก แสดงว่าติดหลายวันแล้ว และก็ไปโดนเชื้ออื่นมาเสริมด้วย ก็มีส่วนที่จะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้"
ก่อนเจอ RSV นอกจากน้องเป็นหัวใจรั่วแล้ว น้องเป็นอะไรอีก?
อภิวัฒน์ : "หัวใจโตครับ และน้องคลอดก่อนกำหนดตอน 8 เดือน"
เข้าข่ายที่จะเป็น RSV ได้?
นพ.สิทธา : "แต่ก็ไม่ใช่ทุกรายที่เป็นแล้วต้องเสียชีวิต เพราะอันนั้นคือความแทรกซ้อนของโรค"
พอน้องเข้าไปรพ. รักษา มีการเปลี่ยนย้ายรพ.กี่ครั้ง?
อภิวัฒน์ : "สองครั้งครับ ก่อนส่งตัวไปรพ.ที่สอง ปอดน้องเริ่มมีฝ้าขาวทั่วปอดแล้ว พอย้ายรพ.ก็ยังไม่ดีขึ้น ก็ยังทรงตัวอยู่"
อภิวัฒน์ : "ตอนย้ายไปรพ.ที่สอง ก็มีความหวังอยู่นะ แต่น้องได้ใส่เครื่องช่วยหายใจความถี่สูง คืนแรกที่น้องย้ายน้องหัวใจหยุดเต้น ได้ซีพีอาร์ช่วย 15 นาที วินาทีนั้นผมรู้สึกตกใจมากที่น้องหัวใจหยุดเต้นไปนานมาก"
คุณหมอบอกมั้ยว่าหลังปั๊มหัวใจ น้องจะดีขึ้นหรือทรุดลงยังไง?
อภิวัฒน์ : "คุณหมอบอกว่าต้องดูอาการต่อไป ว่าจะอยู่ได้ถึง 7 วันมั้ย หมอให้ทำใจ แต่น้องก็อยู่ได้ วันแรกที่้ย้ายหัวใจหยุดเต้น วันที่สองน้องปอดรั่ว มีลมรั่วข้างซ้าย"
เหตุใดย้ายจากรพ.ที่สองไปอีกรพ.?
อภิวัฒน์ : "รพ.ที่สองเครื่องช่วยเขาไม่ถึง ยาฆ่าเชื้อไม่ถึง เขาเลยให้รพ.ที่สามช่วยรักษาต่อ"
พ่อพยายามสุดกำลังประคองชีวิตน้อง?
อภิวัฒน์ : "ใช่ครับ รพ.สามก็ให้ยาฆ่าเชื้อยาอะไรหลายตัว"
มีอาการอะไรที่เพิ่มขึ้น?
อภิวัฒน์ : "หมอบอกว่าปอดเริ่มมีจุดดำ เริ่มดีขึ้น แต่ก็ทรุดลงอีกครับ"
ตอนนั้นกำลังใจพ่อแม่เป็นยังไง?
อภิวัฒน์ : "กำลังใจไม่ค่อยดี ก็เริ่มทำใจตั้งแต่รพ.ที่สองแล้วครับ"
คุณพ่อมีลูกกี่คน?
อภิวัฒน์ : "เป็นลูกคนเดียวครับ"
อภิวัฒน์ : "เขาก็เสียใจกับการสูญเสีย ทำใจยากครับ น้องจากไปอย่างสงบ หลับไปเลย ตั้งแต่เข้ารพ.ที่สองหมอก็ให้ยานอนหลับตลอด ถ้าไม่ให้ยานอนหลับ ปอดน้องจะต้านเครื่องช่วยหายใจความถี่สูง จะทำให้ปอดน้องแตกครับ"
ตอนนี้อยู่ในงานศพ?
อภิวัฒน์ : "ใช่ครับ"
อยากฝากบอกอะไรเกี่ยวกับไวรัสตัวนี้?
อภิวัฒน์ : "ก็อยากให้ดูแลบุตรหลานให้ดี อย่าให้ออกไปเล่นเวลามีฝน มีอะไร พยายามอย่าให้ลูกเป็นไข้เป็นหวัด ถ้ามีอาการไข้หวัดให้รีบเข้าพบแพทย์ก่อนเลย"
สมมติวีจิคลอดมาปกติ 9 เดือน มีภูมิต้านทานไม่มีโรคประจำตัว โอกาสเกิด RSV กับลูกจะเป็นยังไง?
นพ.สิทธา : "โอกาสก็มีอยู่ ผมให้คิดง่ายๆ เหมือนเชื้อประจำถิ่น เหมือนเชื้อหวัดทั่วไป ทีนี้ RSV จะรุนแรงในช่วงปลายฝนต้นหนาวแบบนี้แหละ และจะรุนแรงถ้าเด็กไปโดนพวกสารคัดหลั่ง เช่นไปเล่นน้ำฝนมา ถ้าเด็กสมหน้ากากอนามัย ละอองน้ำฝนไม่เข้าจมูกก็ไม่มีปัญหา หรือเล่นแล้วดูแลตัวเองล้างมือสะอาด ไม่แตกต่างจากโควิดเลย ถ้าดูแลตัวเองทำความสะอาดเป็นอย่างดี รวมถึงไม่ให้คนแปลกหน้าซึ่งเราไม่รู้ว่าเขาเป็นหวัดหรือเปล่า มากอดหอมลูกเราเล่น"
พูดง่ายๆ คือห่วงลูกแต่ไม่ได้หวง?
นพ. สิทธา : "การไม่ให้แตะจริงๆ ไม่ได้หวงอะไรนะ แต่เป็นการห่วงเวลาลูกป่วยกลัวลูกจะอาการหนักกว่าเดิม สังเกตเลยถ้าลูกเป็นหวัดธรรมดา ไม่กี่วันก็หาย แต่ถ้าเป็น RSV อย่างที่หมอบอกไป อาการเขาจะเน้นเรื่องการสร้างสารคัดหลั่ง ลูกอาจจะแน่นจมูกมากกว่าเดิม หายใจลำบาก หรือมีเสมหะหรือไอมากกว่าเดิม แล้วอาการเตือนที่ต้องไปพบแพทย์ เนื่องจาก RSV ไข้เขาจะไม่ค่อยสูงมาก แต่ถ้าไปๆ มาๆ คุณพ่อมีเครื่องวัดไข้อยู่แล้ว ถ้าเกิน 37.5 เริ่มน่าสงสัยแล้ว อาจไม่ใช่ RSV แต่เป็นตัวอื่นร่วมด้วย"
นพ.สิทธา : "เริ่มต้นแนะนำว่าถ้าลูกเป็นไข้ ก่อนกินยาลดไข้ให้เช็ดตัวให้ถูกวิธีก่อน เช็ดตัวโดยผ้าชุบน้้ำธรรมดา บิดหมาดๆ แล้วขัดแรงๆ เข้าหาหัวใจ ขัดแรงๆ ไม่ต้องกลัวลูกเจ็บ เพราะผ้าเช็ดตัวไม่ได้ทำให้ลูกเลือดออก แต่ทางตรงกันข้าม เกิดขัดแล้วรูขุมขนหรือผิวน้องแดงขึ้นมันก็เป็นการสครับผิว ทำให้ไข้ระเหยออกเร็วขึ้น แล้วลูกจะเริ่มสั่นเล็กน้อย อันนี้คือลูกปรับอุณหภูมิ ไข้ถึงจะลง แล้วค่อยกินยาลดไข้ หลังจากนั้นสังเกตอาการลูกตัวเอง ถ้ายังมีอาการอื่นๆ ข้างเคียง เช่น เบื่อนม เบื่ออาหาร ไม่อยากกินนมเลย หรือร้องไห้แล้วไม่มีน้ำตา อันนี้น่ากลัวครับ เพราะแสดงว่าร่างกายขาดน้ำอย่างหนัก หรือกรณีหายใจมีเสียงวี้ดๆ หอบเหนื่อยลำบากต้องรีบไปหาหมอแล้ว เพราะไม่รู้ว่าเสมหะลงไปในปอดหรือน้องเป็นโรคหอบหืดอยู่ด้วยหรือเปล่า หรือน้องมีปลายนิ้วเขียว ออกซิเจนไปร่างกายไม่พอ หรือไอออกมาน้ำมูกเสมหะเป็นสีเขียว สีเทา อันนี้ต้องรีบไปแล้ว"
RSV มีมานานหรือยัง?
นพ.สิทธา : "มีมานานมากแล้ว หลายร้อยปีแล้ว ถามว่าทำไมเพิ่งรู้จัก เพราะปกติเวลาเป็นหวัดเราหายเอง หรือบางทีเป็นหวัดถ้าไม่รุนแรง ไปหาหมอ หมอก็ไม่ได้เพาะเชื้อดูว่าหวัดครั้งนี้เกิดจากเชื้ออะไร แต่พอมีอาการหนักๆ เราไปนอนรพ. ให้ออกซิเจน พ่นยาขยายหลอดลมเขาถึงจะเจาะเลือดเราดู ถึงไปเพาะเชื้อดูว่าเกิดจากโรคอะไร"
นพ.สิทธา : "แน่นอนครับ เราเป็นผู้ใหญ่เรามีภูมิต้านทานแข็งแรง แต่เด็กพอรับเชื้อไปปริมาณไม่มากร่างกายเขาเล็ก โดนไปนิดเดียวเขาอาจเป็นหนักก็ได้ ถ้าโดนฝนแล้วมีอาการต้องแยกกับน้องวีจิ หรือสวมหน้ากากอนามัยด้วย เรื่องหอมกอดก็ไม่ได้ห้ามนะ แต่ต้องมั่นใจว่าคนนั้นเขาไม่เป็นหวัด เขาปลอดภัยหรือล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์เรียบร้อยแล้ว ก็น่าจะปลอดภัย"
เรื่องบุหรี่?
นพ.สิทธา : "สำคัญ เพราะคุณพ่อคุณแม่บางคนอาจบอกว่าไปสูบข้างนอก เข้ามาก็ไม่เกี่ยวกับลูก แต่ว่าควันบุหรี่ติดอยู่ที่เสื้อผ้า ที่นอน หรือผ้าม่าน ทำให้เด็กเขาคลานไปสูดดม หรือสัมผัส เขาเสี่ยงต่อภูมิแพ้หรือหอบหืดมากกว่าปกติ พอเขาเสี่ยงปุ๊บ เขารับ RSV อาการก็จะรุนแรงกว่าปกติ"
เวลาเด็กคนนึงเป็น RSV ไม่มีวัคซีน เขาจะเป็นแล้วเสียชีวิตทุกรายมั้ย?
นพ.สิทธา : "ไม่ใช่เลยครับ ถ้าดูแลถูกวิธีตั้งแต่เบื้องต้นไม่รับเชื้อเพิ่ม มีอาการแล้วรีบไปรพ. โดยไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ไม่มีโรคหัวใจ ไม่มีโรคปอด ส่วนใหญ่อาทิตย์สองอาทิตย์ก็หายครับ ไม่เกินนี้นะ โรคแทรกซ้อนที่น่ากลัวเช่น หูชั้นกลางอักเสบ มันลามขึ้นไป เหมือนเวลาเป็นหวัดแล้วเป็นไซนัสด้วย มีท่อเชื่อมกันได้ อันนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่น่าห่วง หรือไข้ ซึม ชัก สับสน หรือติดเชื้อในกระแสเลือด โดยเฉพาะที่น่ากลัวคือปอดอักเสบ เด็กพอภูมิต้านทานต่ำ เจออะไรนิดนึงที่เป็นสิ่งไม่ดี รับเชื้อเพิ่มเติม ไม่ใช่แค่เชื้อ RSV อย่างเดียว แบคทีเรียตัวอื่นโหมกระหน่ำเลย ทำให้ป่วยได้ง่ายกว่าเดิม"
นพ.สิทธา : "ไม่เกี่ยวครับ อันนี้เป็นแล้วถ้าหายก็หายเลย อนาคตอาจมีภูมิต้านทาน แต่ก็อย่าชะล่าใจ เพราะ RSV ไม่ได้มีสายพันธุ์เดียว แบ่งเป็นย่อยๆ มีเอกับบี แต่ละสายพันธุ์มีย่อยๆ แตกไปอีกเป็น 10 ชนิด เหมือนไข้หวัดใหญเลย ฉะนั้นเด็กอาจเป็น RSV ซ้ำได้อีก ถ้าเสี่ยงเจอสารคัดหลั่ง เจอน้ำมูกน้ำลาย หรือของเล่นที่สกปรก ฉะนั้นของเล่นเวลาไปเล่น อย่าลืมทำความสะอาดหลังเล่นเสร็จด้วย"
เด็กวัยไหนเกิด RSV บ่อย?
นพ.สิทธา : "ส่วนใหญ่ต่ำกว่า 2 ปี เสี่ยงหมดเลย ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานเป็นยังไง โรคประจำตัวมีมั้ย คลอดก่อนกำหนดมั้ย และรับเชื้อมากเกินไปหรือเปล่า บางทีเด็กภูมิต้านทานดี แต่เชื้อมันเยอะเหลือเกิน อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กที่เด็กป่วย หรือไปโรงเรียนที่ลูกตัวเองก็ป่วยอยู่ แต่ดันให้ไปเล่นกับเพื่อนๆ อีก ถ้าลูกเราป่วย หรือเพื่อนในห้องป่วย อย่าให้ลูกไป ปลอดภัยกว่า"
เด็กอายุเท่าไหร่ถึงจะปลอดภัยจาก RSV แบบขาดเลย ไม่เป็นแน่นอน?
นพ. สิทธา : "ปลอดภัย ไม่เป็นเลย ไม่มีครับ เพราะผู้ใหญ่ก็เป็นได้ แต่ไม่มีอาการ เป็นหวัดแล้วก็หายเอง ภูมิต้านทานดีไม่มีปัญหา แต่ถ้าเห็นลูกไข้สูงเบื่ออาหารเป็นสัญญาณเตือน ไปปรึกษาคุณหมอได้ ดีทีสุดคือช่วงนี้เราใส่หน้ากากอนามัยป้องกันโควิด มันก็กันหวัดได้ด้วย ดังนั้นคนไข้ที่มาหาหมอเรื่องหวัดน้อยลงเยอะเลย"
นพ.สิทธา : "ช่วงปลายฝนต้นหนาว ยิ่งอากาศเย็น ไวรัสยิ่งชอบ ตอนเป็นหวัด ลูกๆ หรือพี่หนุ่มก็ตาม ห้ามกินน้ำเย็น ห้ามกินของทอดของกรอบ พวกไวรัสชอบมาก บางคนชอบกินน้ำอัดลมเป็นชีวิตจิตใจ เอาน้ำอัดลมไปอุ่นก็ไม่ได้นะครับ ก็ไม่ควร ดื่มน้ำอุณหภูมิห้อง หรือต้มให้ร้อนนิดนึง หรือน้ำเต้าหู้ น้ำมะตูมร้อนๆ ช่วยได้หมด จะทำให้ข้างในดีขึ้น"
สำหรับพ่อแม่มีอะไรอยากแนะนำ?
นพ.สิทธา : "สำคัญที่สุดคือสอนให้ลูกรู้จักป้องกัน บางทีเด็กเขาก็ลืมตัว ไม่ยอมสวมหน้ากากอนามัย ต้อนสอนเขาให้ใส่จนชินในยุคปัจจุบัน แล้วสอนให้ลูกดื่มน้ำอุ่นให้ชิน ล้างมือบ่อยๆ หรือเจลแอลกอฮอล์ให้ติดตัวไว้ ถูทำความสะอาดบ่อยๆ ไม่ให้เขาสัมผัสหน้า เวลาไปเล่นของเล่นเสร็จก็ต้องล้างมือ สอนให้เป็นนิสัย แล้วลูกจะปลอดภัย"
VVV
V