ปฏิกิริยาสิระ กับตร.เป็นยังไงวัชระ : สรุปว่าเมื่อไปยื่นที่สำนักงานอัยการสูงสุดวันที่ 4 ธ.ค. ปรากฎว่าเมื่อวานนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดได้แถลงว่าเรื่องนี้ไม่ได้มาถึงชั้นอัยการ เพียงอยู่ที่ชั้นพนักงานสอบสวน เพราะพนักงานสอบสวนได้ทำสำนวนส่งอัยการ ระบุว่ากรณีนายสกุลธร จึงรุ่งเรืองกิจนี้ ได้แยกสำนวนการสอบสวนออกมาอีกต่างหากเป็นอีกสำนวนหนึ่ง ส่วนที่ไปยื่นสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ยังไม่มีคำตอบ และที่ไปยื่นที่คุณสิระ ปรากฎว่ากรรมาธิการจะนำเข้าสู่การพิจารณาของกรรมาธิการในวันที่ 16 ธ.ค. ที่จะถึงนี้ เวลา 09.30 น.
มีความหวังแค่ไหนในฐานะองค์กรต่อต้านการคอรัปชั่น มองปฏิกิริยาสามหน่วยงานยังไง
ดร.มานะ : เราหวังว่าให้ทุกคดีที่เกี่ยวกับคอรัปชั่น เมื่อมีหลักฐานเหตุการณ์ปรากฎออกมาแล้ว ให้จบด้วยความจริงว่าคนผิดต้องได้รับบทลงโทษ ทั้งฝ่ายผู้ให้ และฝ่ายผู้รับโดยไม่มีข้อยกเว้น แต่ในสถานการณ์คอรัปชั่นบ้านเรา เราเจอว่าคนมีชื่อเสียง มีอำนาจ ร่ำรวย มักหลุดรอดพ้นคดี ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียใจมาก หลายๆ ฝ่ายก็พยายามหามาตรการป้องกันมากขึ้น อย่างคดีนี้เราได้ฟังข้อมูลจากตร.หรือบางฝ่ายที่ออกมาบอกว่าเขาถูกหลอกลวง ถูกฉ้อโกงมา แม้ข้อเท็จจริงตอนนี้เท่าที่ประชาชนได้เห็นเรายังไม่เห็นข้อมูลอื่นๆ เรารู้สึกว่ามันชัดเจนมากแล้ว เราอยากให้มีการลงโทษ ไม่ดิ้นหลุดได้
ความผิดทางสังคมชัดแล้ว แต่ความผิดทางกฎหมายคิดว่าเรายังมีปัญหา
ดร.มานะ : มีปัญหามาก กฎหมายเขียนไว้และมีโอกาสตีความ หาเทคนิคทางกฎหมายมาต่อสู้กันมากมายเหลือเกิน ดังนั้นหลายเรื่องในสายตาประชาชนคือการกระทำผิด บางครั้งผิดกฎหมายด้วย ผิดเรื่องคุณธรรมจริยธรรม แต่พอสุดท้ายตีความกฎหมายแล้วก็เล็ดลอดไปได้ ทำให้คอรัปชั่นเป็นดอกไม้พิษที่เบ่งบานในบ้านเมือง และต้องปฏิรูปครับ
มีความหวังแค่ไหน
วัชระ : ผมมั่นใจว่าแต่ละหน่วยจะช่วยกันไขความจริงให้พี่น้องได้รับทราบ ว่าจากกรณี้ที่ทำสำนวนจากตร.ไปส่งอัยการ ทำไมไม่รวมเป็นสำนวนเดียวกัน ทำไมไม่ทำคดีให้สุดซอย ทำไมผู้รับเงิน 20 ล้านถูกศาลอาญาทุจริตตัดสินจำคุกแค่ 3 ปีทั้งสองท่าน และผู้ให้ทำไมถึงหลุดรอด ผู้ให้ทำไมถึงแยกสำนวนออกไป ตร.นี้พนักงานสอบสวนและสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องมีคำตอบให้สังคม ซึ่งกรรมาธิการมีอำนาจในการเชิญผู้รับผิดชอบในส่วนต่างๆ ไปให้ข้อเท็จจริงต่อกรรมาธิการ การทำงานของกรรมาธิการก็แสวงหาคำตอบที่เป็นจริงเสนอต่อสาธารณชนตามรัฐธรรมนูญต่อไป มั่นใจว่าวันที่ 16 ต้องมีอะไรออกมาบ้าง
ที่ดินผืนนี้เขาต้องการเช่าโดยไม่ต้องมีการประมูล เขาเลยตกลงว่าให้เงินแก่คนที่ให้เขาได้เช่า 500 ล้าน มัดจำไปแล้ว 20 ล้าน ถ้าได้จริงโดยไม่ผ่านการประมูล เขาจะจ่าย 500 ล้าน กำไรมหาศาลเขาคิดว่าคุ้ม นี่คือเรื่องที่เกิดในตอนนี้ แต่เมื่อ 2 คนซึ่งเป็นคนกลางในการรับสินบนไปให้ใครก็แล้วแต่ถูกจับติดคุกไปแล้ว คนที่จะให้สินบนยังไม่โดน ฟังที่เขาบอกว่าชื่อไม่มาหาเขา ในสำนวนไม่มี มีแค่สองคนนั้น และอัยการคนนึงที่ไม่ใช่คนแถลง เขาบอกว่าเขาถูกหลอกไม่น่าจะเป็นคนผิด เพราะสองคนนั้นไม่มีอำนาจในการให้เขาได้เช่า เขาถูกหลอก จึงไม่น่ามีความผิด ว่ายังไง
ดร.มานะ :
คนเป็นนักธุรกิจ การจ่ายเงินแค่นี้ไม่เยอะสำหรับเขา แต่เขาต้องคิดแล้วคิดอีก มีการปรึกษากันแล้วปรึกษากันอีก ไม่ง่ายหรอกที่จะไปหลอกลวงนักธุรกิจใหญ่ คดีนี้ที่น่าสนใจคือมีความเกี่ยวข้องทั้งตัวบุคคลและนิติบุคคลที่จะไปพัฒนา ตามกฎหมายป.ป.ช. นอกจากชื่อคนจ่ายเงินที่ปรากฎคือคุณสกุลธร มันมีบริษัทมาเกี่ยวข้อง ตามกฎหมายตัวบริษัทต้องรับผิดชอบด้วย คนเป็นกรรมการ มีอำนาจลงนามทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใคร กี่คนก็ต้องรับผิดทางอาญาด้วย ถ้าติดคุกก็ต้องติดคุกทั้งหมด ตัวบริษัทมีความรับผิดทางแพ่งด้วย ป.ป.ช.สามารถเรียกค่าปรับโดยจะคิดถึงสองเท่าของวงเงินสินบน เช่นคุณจ่ายไปแล้ว 20 ล้าน หรือสัญญาไว้แล้ว 500 ล้าน ป.ป.ช.อาจจะเอา 500x2 เป็นพันล้าน หรือถ้ามันสำเร็จไปแล้ว ป.ป.ช. มีสิทธิ์ที่จะประเมินว่าคุณได้รับผลประโยชน์จากสินบนครั้งนี้เท่าไหร่แล้วคูณสองไป อย่างนี้ก็ได้ครับ มาตรการนี้ประเทศไทยมีกฎหมายเขียนไว้นานแล้ว แต่ยังไม่เคยมีใครโดนลงโทษจริงๆ แม้แต่รายเดียว