ไพบูลย์-ไอติม มองต่างมุม แก้รัฐธรรมนูญ จะเป็นอย่างไร


ไพบูลย์-ไอติม มองต่างมุม แก้รัฐธรรมนูญ จะเป็นอย่างไร

รายการเรื่องลับมาก ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 14.20 - 15.00 น.ทางเนชั่นทีวี ช่อง 22 วันนี้ (15 ธ.ค.) ดร.เสรี วงษ์มณฑา สัมภาษณ์ ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ และ ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้ก่อตั้งกลุ่มรัฐธรรมนูญก้าวหน้า กรณีรัฐธรรมนูญ ที่มีหลายมาตราที่น่าสนใจ

คุณชวนพูดชัดเจนว่า 2475 ถึงปัจจุบันนี้ เขาบอกประชาธิปไตยบ้านเรามีความถดถอย

ไอติม : ผมว่ามีหลายมิติ หรือหลายหลักประชาธิปไตยที่มีความถดถอย จริงๆ การเทียบกัน ระหว่าง 2475 กับ 2560 ผมว่าก็แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์วิกฤตประชาธิปไตยอยู่แล้วเพราะเรากำลังเปรียบเทียบกับเอกสารที่ถูกเขียนเมื่อ 80 ปีที่แล้ว แต่มีสองสามหลักที่รู้สึกถดถอยในเชิงประชาธิปไตย หลักแรกคือหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียง หลักพื้นฐานประชาธิปไตยคือประชาชนมีหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงเท่าเทียมกัน กับการกำหนดอนาคตประเทศ การตัดสินใจเลือกว่าใครจะดำรงตำแหน่งนายกฯ ในรัฐธรรมนูญ 60 ให้อำนาจเฉพาะการกับวุฒิสภา มาตรา 272 เพื่อให้มาร่วมเลือกนายกฯ ซึ่งถูกคัดสรรมาจากคณะกรรมการสรรหา 10 คน ซึ่ง 3 ใน 10 คัดเลือกพี่น้องตัวเองเข้ามา 6 ใน 10 คัดเลือกตัวเองเข้ามา ถ้าเปรียบเทียบกับ 2475 จริงอยู่ 2475 มีการเขียนว่าให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตอนนั้นเป็นสภาเดี่ยว มีแค่ส.ส. มีการเขียนว่าให้มาจากการแต่งตั้งจริง แต่เขาเขียนชัดว่าเมื่อไหร่ที่อัตราการเข้าถึงการศึกษา ระดับประถมศึกษา เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเราก็เลยมานานแล้ว เขาก็เปลี่ยนให้เป็นการเลือกตั้งส.ส. 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นกำหนดว่าใครมาเป็นนายกฯ ก็จะมีแค่ส.ส. ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชน มิตินี้ก็มีความถดถอยในเชิงหลักการหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียง

ประเด็นแรกของไอติม เรื่องเรามีหนึ่งเสียง ซึ่งในสมัย 2475 เหมือนจะใช่ แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว มองยังไง


ไพบูลย์ : 2475 อย่างน้อยก็มีคณะราษฎร ดูแลบางเรื่องต่างๆ เป็นคณะ แต่พอยุค 48-49 มันคนเดียวคือคุณทักษิณ หนึ่งเสียงมากกว่าคนอื่นไม่รู้ตั้งเท่่าไหร่ ล่าสุดตอนคุณหญิงสุดารัตน์ คุณโภคินลาออก ก็ออกมาพูดตรงๆ แล้วว่าเป็นสมบัติคุณทักษิณ เป็นกิจการคุณทักษิณ พรรคเพื่อไทย แล้วหนึ่งคนหนึ่งเสียงอยู่ตรงไหน ผมว่าความจริง 2475 ยังสง่างามกว่าเยอะ แล้ว 2475 ยังเขียนว่าระบบการปกครองต้องเป็นระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระมหากษัตริย์ผู้ใดก็ล่วงละเมิดไม่ได้ ปี 60 ก็ยังเป็นแบบนี้ แต่มีคนเอา 2475 ไปพูดบิดเบือน ไม่พูดทุกอย่าง การพูดปัญหาไปหยิบบางเรื่องมาพูด ไม่พูดความจริงทั้งหมด



ประเด็นที่สองของไอติมคืออะไร
ไอติม : หลักการอธิปไตยอยู่กับรัฐสภา ในฐานะรัฐสภาเป็นตัวแทนประชาชนจะมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดนโยบายหรือบริหารประเทศ ทีนี้่สิ่งที่เราเริ่มเห็นจาก 2475-2560 คือรัฐธรรมนูญมีความยาวขึ้น เราเริ่มเห็นหมวด 6 นโยบายแห่งรัฐ หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ถ้าดูผิวเผินเป็นเจตนาที่ดี ต้องการความต่อเนื่องในการกำหนดนโยบาย เลยเอานโยบายบางอย่างเข้าไปรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหาเกิดขึ้นคือท้ายที่สุดแล้ว ความต้องการประชาชนมีความเปลี่ยนแปลง เศรษฐกิจสังคม บริบทประเทศมีความเปลี่ยนแปลง

 ฉะนั้นเราจำเป็นต้องให้ความยืดหยุ่นรัฐสภากำหนดนโยบายแต่ละครั้งและไปขอฉันทานุมัติจากประชาชนในการเลือกตั้งทุก 4 ปี ถ้าเราไปดูรัฐธรรมนูญต่างประเทศ จะเห็นว่าพวกนโยบายจะไม่ได้ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญ แต่รัฐธรรมนูญ 60 ใส่เรื่องนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คาดการณ์ว่าในอนาคตไทย 20 ปีจะเป็นอย่างไร ควรมีแผนอย่างไรบ้าง เลยไปทำให้เกิดคำถามว่าอย่างนี้รัฐสภาจะมีความยืดหยุ่นเพียงพอหรือไม่ ที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายให้ตรงกับสถานการณ์ที่เจอในแต่ละวัน และผมคิดว่าการเข้ามาของโควิด ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคม และสุขภาพเป็นอย่างมาก ทำให้เห็นแล้วว่าการคาดการณ์อนาคตไกลเกินไป เป็นเรื่องที่ยากมาก

คุณไพบูลย์ว่าไง ไอติมบอกว่าไม่ควรเอานโยบายไปใส่ในรัฐธรรมนูญ

ไพบูลย์ : ผมว่าเป็นความเห็นของคุณไอติม ความเห็นก็คือความเห็น แต่ว่าในรัฐธรรมนูญนี้ มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นธรรมดา แต่การที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้ก็มีเหตุผล ในการมียุทธศาสตร์ชาติ การมีเรื่องปฏิรูปประเทศ อย่าลืมว่ารัฐธรรมนูญที่ยาวออกมา ไม่ได้เพิ่งมายาวตอนนี้ ยาวมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 40 แล้ว ที่บอกว่าดีมากที่สุด แต่เริ่มยาวตั้งแต่ตอนนั้น การที่เขียนไว้ คนไม่ชอบก็ไม่ชอบ คนบอกว่าดีก็ดี แต่ทั้งหมดถ้าไม่ดีจริงๆ หารือกัน มีความเห็นร่วมกัน ฉันทามติแก้ไขได้ทั้งนั้น แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องมีฉันทามติ ไม่ใช่เอาความเห็นคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรืออ้างอะไรก็ไม่รู้ เพื่อเปลียนแปลงรัฐธรรมนูญ

พอไล่มาตราก็ขัดแย้งกันแล้ว

ไพบูลย์ : เป็นเรื่องปกติการพิจารณากฎหมาย หรือรัฐธรรมนูญในชั้นกรรมาธิการวาระสอง ต้องมีการอภิปรายกันก่อน ทีละมาตรา ถ้าอธิปรายมาตรานี้แล้วลงมติไล่มาตราไปก็จะไม่เป็นธรรม เพราะหลายฝ่ายไม่ได้เตรียมตัวออกเสียงโหวต ผมเลยเสนอกันในที่ประชุมว่าอภิปรายกันไป เห็นต่างอย่างไรก็บันทึกกันไว้หมด เสร็จแล้วให้แขวนรอลงมติทีหลัง ก็ทำไปจนหมด แล้วนัดวันที่จะลงมติ ทุกคนจะได้เตรียมตัวมาลงมติว่าเห็นด้วยหรือไม่ เป็นการบริหารจัดการกรรมาธิการวาระสอง ถูกต้อง ไม่มีเสียงทักท้วง การแขวนไม่ใช่เรื่องอะไรเลย ความเห็นแตกต่างก็ปกติมาก ยังไม่ได้เอาเรื่องการแปรญัตติสมาชิก 100 กว่าท่านมาพิจารณาเลยในกรรมาธิการ

ไพบูลย์-ไอติม มองต่างมุม แก้รัฐธรรมนูญ จะเป็นอย่างไร


เรื่องการแขวนรอ มองยังไง ห่วงใยว่าจะแก้ไม่ได้มั้ย

ไอติม : ไม่ห่วงเรื่องความเห็นที่แตกต่าง แต่ประเด็นที่แขวนนเข้าใจว่าเป็นเรื่องการตั้งคำถามว่าถ้าจะเปลี่ยนมาตรา 256 การแก้รัฐธรรมนูญจำเป็นต้องพึ่งใครบ้าง ก็มีการถกเถียงว่าต้องเกินเท่าไหร่ในสมาชิกรัฐสภา บางกลุ่มบอกเกินครึ่ง บางกลุ่มบอกสองในสาม บางคนบอกสามในห้า ผมเห็นด้วยกับคุณไพบูลย์ การจะแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ จำเป็นที่เราต้องตั้งบาร์ขั้นต่ำ เพื่อแก้กฎหมายปกติ สิ่งที่เห็นต่างคือเราติดกระดุมเม็ดแรกผิด เวลาเราพูดถึงจำนวนเสียงที่ต้องใช้ในการแก้รัฐธรรมนูญ เราพูดถึงจำนวนเสียงส.ส.ในรัฐสภา รวมทั้ง 250 สว.ด้วย ปัญหาคือการมีสว. 250 คนที่ไม่ได้เป็นกลางทางการเมือง ถ้าเราตัด 250 สว.ออกไป แล้วบอกว่าการแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องส.ส. 500 คน ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชน แล้วบอกว่าถ้าแก้รัฐธรรมนูญอาจต้องเป็นสองในสาม สามในห้าของส.ส. หรือมีสัดส่วนฝ่ายค้านเข้ามา แต่นี่ติดปัญหาเรื่องวุฒิสภาเข้ามามีส่วนร่วม

ไม่ติดใจเรื่องสัดส่วน แต่ไม่อยากให้มีสว.เข้ามาเกี่ยวข้อง

ไอติม : ไม่ควรเอาวุฒิสภาเข้ามาเกี่ยวข้อง

ไพบูลย์คิดยังไง กับไอติมเขาห่วงใยไม่อยากให้สว.มาเกี่ยวข้อง สัดส่วนจะยังไงไม่ว่ากัน

ไพบูลย์ : ก็เป็นความเห็นของไอติมคนเดียว และอาจร่วมกับไอลอว์ ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ในประเทศ แต่ผมเห็นต่าง แต่ไม่ได้สำคัญเท่าข้อเท็จจริงคือตอนนี้รัฐธรรมนูญบังคับให้มีสว.อยู่ ถ้าไม่ต้องการจะเอาอย่างที่ไอติมพูดต้องไปหาประเทศใหม่ที่มีรัฐธรรมนูญอย่างที่ไอติมว่า หรือสองไปร่างรัฐธรรมนูญเอาเอง ก็ในเมื่อเป็นอย่างนี้ ต้องเดินไปอย่างนี้ สว.ต้องมาร่วมพิจารณาอย่างนี้ จะไปบอกว่าตัดเขาออก เป็นการพูดแบบไม่เอากฎหมาย ไม่ยืนอยู่ในหลักรัฐธรรมนูญ ไม่พิจารณาตามรัฐธรรมนูยที่มีอยู่ แก้ไขตามรัฐธรรมนูญ มันก็ตอบได้อยู่แล้วว่าไปไม่ได้

มองเห็นกระบวนการอะไรที่จะทำให้ได้อย่างที่ไอติมต้องการ

ไอติม :อย่างแรกผมไม่รู้ควรมีปฏิกิริยายังไง ที่บอกว่าให้ไปหาประเทศใหม่ แต่ผมก็รู้สึกย้อนแย้งนิดนึง เพราะคำตอบแรกบอกว่ายอมรับว่าความเห็นแตกต่างเป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตย ผมก็เพียงแสดงความคิดเห็นของผม ผมไม่เคยกล่าวอ้างว่าความเห็นของผม เป็นความเห็นที่ทุกคนเห็นด้วย แล้วความจริงความเห็นของผมการแก้มาตรา 256 ให้ไม่จำเป็นไม่ต้องพึ่งเสียงสว.ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็เป็นสิ่งที่สามารถเสนอภายใต้รัฐธรรมนูญ 60 ได้ เป็นความเห็นที่ไปตามกระบวนการกฎหมาย ถามว่าทำไมเพ่งเล็งสว.เป็นพิเศษ สว. 250 ปัจจุบันถึงแม้ถูกต้องตามหลักรัฐธรรมนูญแต่ขัดกับหลักประชาธิปไตยสากล อำนาจที่สว.มีต้องสมดุลกับที่มา ถ้ามีอำนาจเยอะ อย่างปัจจุบัน เลือกนายกฯ ได้ แต่งตั้งองค์กรอิสระได้ ร่วมพิจารณากฎหมายปฏิรูปประเทศได้ ที่มาต้องยึดโยงประชาชนขึ้นมาเหมือนสหรัฐอเมริกา ถ้าจะให้สว.มาจากการแต่งตั้งเหมือนสหราชอาณาจักร ก็ต้องลดอำนาจลงมา เหมือนสว.ที่อังกฤษทำได้มากที่สุดคือแค่ชะลอร่างกฎหมาย 1 ปี แต่ปัจจุบันประเทศไทยเกิดความไม่สมดุลขึ้นเพราะสว.มีอำนาจสูงมาก อำนาจและที่มาต้องสอดคล้องกัน ประเทศไทยก็ต้องเลือกสักทาง ถ้าจะให้มาจากการแต่งตั้งก็ควรหลากหลายสาขาอาชีพมากกว่านี้ ถ้าจะมาจากการแต่งตั้ง ก็ต้องลดอำนาจลงมาให้สอดคล้องกัน เป็นหลักสากลที่หลายประเทศยึดอยู่

เรื่องสว.จะว่ายังไง

ไพบูลย์ : ผมไม่เห็นด้วยอยู่แล้ว แต่ที่สำคัญพรรคประชาธิปัตย์ตัวแทนกรรมาธิการ กับตัวแทนพรรคฝ่ายค้าน ว่าพูดเรื่องที่คุณไอติมพูดไม่ได้ ที่จะไปตัดสว.ออกตามอำเภอใจ ให้เขาไปทะเลาะกับกรรมาธิการประชาธิปัตย์ ฝ่ายค้านซะก่อน ในนั้นไม่มีใครพูดว่าให้ตัดสว.ออก เอาแต่ส.ส. เพราะเท่ากับไปดูถูกกรรมาธิการประชาธิปัตย์และฝ่ายค้านด้วยว่าไม่รู้จักคิดไอติม : ต้องเรียนด้วยความเคารพว่าผมไม่เคยแสดงความเห็นโดยการพยายามดูถูกใคร ผมเพียงเสนอความคิดเห็นของผม ในฐานะประชาชนคนหนึ่งใน 60 กว่าล้านคนเท่านั้นเอง การที่ความเห็นของผมจะไม่เหมือนกรรมาธิการของพรรคไหน ผมไม่ได้มองว่าเป็นการที่ผมไปดูถูกเขา

ไพบูลย์-ไอติม มองต่างมุม แก้รัฐธรรมนูญ จะเป็นอย่างไร

สสร. ตกลงอยากให้เป็นยังไง
ไพบูลย์ : ผมไม่ติดใจ เพราะว่าในกรรมาธิการพลังประชารัฐหรือพรรคร่วมรัฐบาล เขาก็มีจุดยืนของเขาอยู่แล้ว ผมก็สนับสนุนไปในแนวนั้น ฝ่ายค้านก็มีจุดยืนก็ว่ากันไป ไม่ติดใจประเด็นนี้ รับได้ทั้งนั้น แต่ติดใจเรื่องข้อ 256/13 มากกว่า เรื่องที่เกี่ยวกับหมวดหนึ่งหมวดสอง ผมก็ว่าไม่เพียงพอ ต้องห้ามไม่ให้ไปเกี่ยวข้องแก้ไขอะไรที่เกี่ยวข้องกับส่วนพระมหากษัตริย์เลย ผมยังมองเห็นว่ายังคงต้องคงบทเฉพาะการไว้ด้วยในการแก้ไข 269 272 279 ให้ยังอยู่ในบทเฉพาะการการร่างรัฐธรรมนูญ 269 คือให้สว.อยู่ 5 ปีให้ครบวาระตามสิทธิ์ 272 ที่ให้โหวตนายกฯ ได้เป็นไปตามมติประชาชน 15 ล้านคน ซึ่งผมอยู่ในนั้น 1 คน คุณจะยกเลิกต้องถามคน 15 ล้านคนและต้องถามผมด้วย ประเด็นที่สาม 279 ขืนไปยกเลิกก็ไปกระทบกลไกที่คสช. ขณะนั้นใช้อำนาจดำเนินการกับข้าราชการ นักการเมือง ทุจริตคอรัปชั่น ในกรณีการตรวจสอบ สุดท้ายอยู่ที่ศาล แต่กลไกบางครั้งต้องเป็นไปตามคำสั่งคสช. ก็มีผลทางกฎหมาย เป็นการไปยกเลิกโทษต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่น ไม่ใช้หมายถึงห่วงนิรโทรกรรม คสช. ทั้งสิ้น ที่ห่วงคือคดีทุจริตที่จะถูกยกเลิกไปด้วย

ไพบูลย์ : ผมขอพูดเรื่องสสร.ก่อนเพราะน่าจะเร่งด่วนกว่า เรื่องการออกแบบสสร. มีสองสามมิติ มิติแรกต้องถามก่อนว่าสสร.จะมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดหรือมาจากการแต่งตั้ง อันนี้คือข้อถกเถียงที่เกิดขึ้นในกรรมาธิการ ถามว่าจุดยืนผมเป็นอย่างไร อย่างแรกผมคิดว่าควรมาจากการแต่งตั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ เหตุผลที่หนึ่งเราไปดูก่อนว่าปัจจุบันใครมีอำนาจในการเขียนกฎหมายในประเทศนี้ คำตอบคือฝ่ายนิติบัญญัติก็คือส.ส. ซึ่ง ส.ส.มาจากการเลือกตั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้นก็ใช้หลักการเดียวกัน กับการเขียนกฎหมายสูงสุดของประเทศ คือการเขียนหรือร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าจะให้มีคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายเข้าไปช่วยร่าง เราก็สร้างกลไก อย่างเช่นสร้างกรรมาธิการขึ้นมาได้ ก็คือเป็นสสร.ที่เลือกตั้ง 100 เปอร์เซ็นต์เป็นตัวแทนประชาชน แล้วก็ตั้งกรรมาธิการ ที่ดึงผู้เชี่ยวชาญเข้ามาได้ สองที่น่าจะวน คือการแต่งตั้งเหมือนกับที่พรรคร่วมรัฐบาลเสนอ ที่เลือก 150 คน แต่งตั้ง 150 คน เราจะเห็นว่ารายละเอียดแต่งตั้ง 150 คน มีกลิ่นอายพยายามควบคุมเสียงอยู่ 50 คนแบ่งเป็น 3 ส่วน 20 คนเป็นตัวแทนรัฐสภา หมายความว่าโควต้า 20 คนก็ถูกจัดสรรให้ส.ส. สว. สว.มีอยู่แล้ว 7 คน จาก 20 ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล 7-8 คน ส.ส.พรรคร่วมฝ่ายค้านอาจจะ 6-7 คน 20 คนแรกเป็นตัวแทนรัฐสภา ซึ่งจะเห็นว่าถ้าเรากลับไปเรื่องเดิม เนื่องจากสว. ไม่ได้เป็นกลางทางการเมือง ถูกแต่งตั้งโดยฝ่ายที่ในที่สุดมาเสนอตัวเป็นนายกฯ ก็กลายเป็นว่าฝ่ายที่ควบคุมสว.ได้ ก็จะคุมได้ทั้่งเสียงสว. และเสียงตัวแทนพรรคร่วมรัฐบาล อีก 20 มาจากการประชุมอธิการบดี ไม่ก้าวล่วง อีก 10 เป็นตัวแทนนักศึกษา เหมือนใจกว้างเปิดให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาท แต่พอเข้าไปดูรายละเอียด กระบวนการคัดเลือกเขาบอกว่าให้กกต.เป็นคนกำหนด ซึ่ง กกต. ปัจจุบันเป็นองคืกรอิสระที่หลายคนตั้งคำถามเรื่องความเป็นกลาง

ไอติมไม่ไว้ใจ
ไอติม : ก็นี่แหละครับ 50 คน ที่มาจากการแต่งตั้ง นอกจากจะผิดหลักที่เราคุ้นเคยกัน ก็มีกลิ่นอาย รายละเอียดบางอย่างที่ทำให้คนกังวลกันว่าพยายามควบคุมเสียง

ไพบูลย์-ไอติม มองต่างมุม แก้รัฐธรรมนูญ จะเป็นอย่างไร

ไพบูลย์บอกไม่แคร์เรื่องนี้
ไพบูลย์ : แคร์เหมือนกัน เรื่องสสร. ไม่ว่าจะสูตรไหน ผู้ปกป้องสถาบันเขาบอกมา ก็เปิดช่องให้พวกเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบัน พวกที่ชุมนุมม็อบสามนิ้วทั้งหลาย มีโอกาสเข้าไปเป็นสสร. จะมีโอกาสเข้าไปเผยแพร่วิธีคิดความเป็นปฏิปักษ์กับสถาบัน โดยใช้กลไกการเป็นสสร. แบบนี้ต่างหากที่ต้องเป็นห่วงเรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์

ไอติม : เรื่องข้อกังวลเกี่ยวกับหมวดหนึ่งหมวดสอง ต้องบอกว่าข้อกังวลที่หลายคนมี เกี่ยวกับว่าคนที่เป็นตัวแทน หรือเห็นด้วยกับม็อบ 3 นิ้ว เข้าไปนั่งในสสร. และล้มล้างการปกครอง อย่างแรกต้องบอกว่าเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะมาตรา 255 กำหนดไว้แล้ว ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญใดๆ ก็ตาม ไม่สามารถแก้ไขการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ หนึ่งป้องกันอยู่แล้ว สองการเปลี่ยนหมวดหนึ่งหมวดสองที่ผ่านมาก็เกิดขึ้นทุกครั้ง และไม่ได้นำมาสู่การล้มล้างการปกครอง จาก 40 มา 50 มีการแก้ไขหมวดหนึ่ง มาตรา 3 ที่เขียนว่าอยากให้ทุกสถาบันทางการเมืองยึดโยงกับหลักนิติธรรม ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการล้มล้างการปกครอง จาก 50 มา 60 ก็มีการแก้หมวดสอง 6 มาตรา เป็นการแก้หลังผ่านประชามติในปี 59 ไปแล้วด้วย เป็ฯ 6 มาตราเกี่ยวกับพระราชอำนาจ ซึ่งก็ไม่เกี่ยวกับการล้มล้างการปกครอง

คุณไพบูลย์ว่าไง
ไพบูลย์ : สสร.ถ้ามีการเลือกขึ้นมา ชัวร์อยู่แล้ว แกนนำม็อบสามนิ้วแห่กันเข้าไป และใช้เอกสิทธิ์ในฐานะเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ อภิปรายเรื่องที่เป็นปฏิปักษ์กับสถาบัน โดยอ้างเอกสิทธิ์ เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ไพบูลย์-ไอติม มองต่างมุม แก้รัฐธรรมนูญ จะเป็นอย่างไร


ไพบูลย์-ไอติม มองต่างมุม แก้รัฐธรรมนูญ จะเป็นอย่างไร


ไพบูลย์-ไอติม มองต่างมุม แก้รัฐธรรมนูญ จะเป็นอย่างไร


ไพบูลย์-ไอติม มองต่างมุม แก้รัฐธรรมนูญ จะเป็นอย่างไร


ไพบูลย์-ไอติม มองต่างมุม แก้รัฐธรรมนูญ จะเป็นอย่างไร


ไพบูลย์-ไอติม มองต่างมุม แก้รัฐธรรมนูญ จะเป็นอย่างไร


ไพบูลย์-ไอติม มองต่างมุม แก้รัฐธรรมนูญ จะเป็นอย่างไร

ชมคลิป
VVV
V
VV
V
V
VV
V
VVVVVV
V
V
VV
V
VVVV


+++++
เครดิตแหล่งข้อมูล : รายการ เรื่องลับมาก



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์