เปิดใจ บ.ใบยา หลังทัวร์ลงขอรับเงินบริจาคผลิตวัคซีนโควิด-19
ดร.วรัญญู : "ตอนนี้มีคนรีเควสเข้ามาค่อนข้างเยอะ กำลังลงไปสมุทรสาครหลายที่เลยเพื่อเอาไปตรวจคัดกรองเบื้องต้น เพื่อช่วยในการจัดการการระบาดของโควิดขั้นพื้นฐาน"
ตอนนี้ตัว strip test ผ่านมาตรฐานหมดแล้ว?
ดร.สุธีรา : "ตอนนี้อยู่กับทาง อย. ประเมิน แต่ก็มีเอาออกมาใช้แล้ว เราทำกันภายใต้งานวิจัย เราประเมิน มันเป็นระบบการคัดกรอง การใช้ครั้งนี้ก็ยังอยู่ภายใต้โครงการวิจัย"
อะไรที่ทำให้ทั้งสองท่านอยากจะคิดค้นวัคซีนป้องกันโควิด-19?
ดร.วรัญญู : "ต้องบอกว่าตัวเองเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานเกี่ยวกับการวิจัยพัฒนาวัคซีนมากว่า 15 ปีแล้ว เราไม่ได้เริ่มมาทำโควิดวัคซีน ตัวเองศึกษาการใช้คลื่นเป็นแหล่งผลิต ซึ่งที่ประเทศอื่นๆ ทั้งอเมริกา เยอรมัน ก็มีการใช้อยู่แล้ว มีการใช้ในคนครั้งแรกเป็นตัวยาสำหรับรักษาโรคอีโบล่า มีการใช้โปรตีน กลุ่มแอนตี้บอดี้ แล้วผลิตโดยใช้คลื่นเป็นแหล่งผลิต ปกติยาพวกโปรตีนกลุ่มนี้ จะเป็นยาที่จะต้องใช้เซลล์สิ่งมีชีวิตผลิต ไม่ว่าจะเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เราสนใจในการใช้เซลล์พืชทั้งต้น เป็นโรงงานให้เรา แต่เราใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการส่งถ่ายยีนส์ที่เราต้องการเข้าไปในพืช แล้วให้เราให้พืชผลิตโปรตีน หลังจากนั้นเราก็สกัดเอาเฉพาะโปรตีนตัวนี้ ไม่ได้เอาโปรตีนอื่นๆของพืชออกมาเลย
เราต้องการจะผลิตวัคซีนสำหรับโรคอะไรก็ตาม เราจะต้องศึกษาโครงสร้างของไวรัสตัวนั้นก่อน พอเรารู้ว่ามีโครงสร้างแบบนี้ตรงส่วนไหนที่จะเป็นส่วนที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ เราก็ออกแบบเฉพาะส่วนนั้นแหละแล้วมาให้พืชผลิตแล้วก็ทำการทดสอบ"
อาจารย์กำลังจะบอกว่าอาจารย์ไปเอาไวรัสโควิด-19 คัดเอาโปรตีนของมัน เสร็จแล้วฉีดเข้าไปในต้นไม้?
ดร.วรัญญู : "เราเอา GMO ชิ้นส่วนทางพันธุกรรมที่สามารถออกแบบใส่เข้าไปในต้นไม้แล้ว ทำให้ผลิตเป็นโปรตีนออกมา"
ดร.สุธีรา : "เรียกว่ารหัสทางพันธุกรรมโควิด-19 ออกมาแล้วฉีดเข้าไปในต้นไม้"
ดร.วรัญญู : "เป็นพืชเหมือนยาสูบ แต่ไม่ใช่ยาสูบ มันเป็นพืชที่อยู่ใกล้เคียงกับยาสูบ แต่มันมีปริมาณนิโคตินต่ำ โตเร็ว มีใบเยอะ เราต้องการให้โปรตีนผลิตในใบ เราเลยพยายามหาพืชที่มันโตได้เร็ว"
ดร.สุธีรา : "เราเอาสารพันธุกรรมที่คล้ายโควิด-19 ฉีด พอร่างกายนึกว่าตัวเองคิดโควิด-19 แต่จริงๆ ไม่ติด แต่เป็นสารที่หน้าตาเหมือนโควิด-19 เข้ามาในร่างกาย ก็เลยกลายเป็นวัคซีน ซึ่งจริงๆ แล้วตัวนี้ ไม่ได้ว่าอยู่ดีๆ เกิดโควิด-19 แล้วมาทำ อาจารย์แป้งทำแพลตฟอร์มนี้มา15 ปีแล้ว ซึ่งตัวนี้ก็เอาไปทำชุดตรวจ เราทำมาเป็นงานวิจัยมาเรื่อยๆ"
ดร.วรัญญู : "มันคือเทคนิคการผลิตโปรตีนที่ใช้พืชเป็นแหล่งผลิตเท่านั้นเอง โปรตีนเหล่านี้มันสามารถเอาไปใช้ได้ในหลายๆอย่าง เช่น ชุดตรวจ ยารักษาโรค วัคซีน"
เปอร์เซ็นต์ของการที่จะเอาตัวยาออกมาจากต้นไม้ไปเป็นวัคซีนมันกี่เปอร์เซ็นต์แล้ว?
ดร.สุธีรา : "ตอนนี้เราทำการทดสอบในสัตว์ทดลอง มีหนู ลิง เสร็จไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อเดือนสิงหาคม เป็นวัคซีนมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์แล้ว มีคนถามว่าอาจารย์เพิ่งมาทำเหรอ ไม่ใช่ ทีมเราทำมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์จนได้วัคซีนโปรโตไทป์ แล้วก็เทสเรื่อยมา ผลในลิงเสร็จสิ้นไปแล้วตั้งแต่เดือนสิงหาคม"
ผลเป็นอย่างไรบ้าง?
ดร.สุธีรา : "ผลในหนูในลิงเมื่อถูกกระตุ้นภูมิไม่แตกต่างจากวัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นาที่เขาใช้กันอยู่ในสากลที่เขาทดลอง"
ดร.วรัญญู : "มันสามารถกระตุ้นสัตว์ที่เราทดลองที่ได้รับวัคซีน มันสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้"
วัคซีนตอนนี้มีหลายตัว ของประเทศไทยจะใช้แอสตร้าเซนเนก้า แล้วยังมีอีกไหม?
ดร.สุธีรา : "มีอีกเยอะเลย ตอนนี้หลายๆ ประเทศกำลังทดลอง ตอนนี้เวียดนามเขาก็ยังเทสเลย"
ดร.สุธีรา : "ในสัตว์ทดลองนะคะ"
ดร.วรัญญู : "เราฉีดวัคซีนของเราเข้าไปในหนู ในลิง หลังจากนั้นเราก็ตรวจวัดเซรีบรัมจากเลือดของสัตว์ทดลอง แล้วเราก็เอาเซรีบรัมที่เราได้ไปผสมกับไวรัส ทำการทดสอบในห้องปฎิบัติการ แล้วพบว่าเซรีบรัมมันสามารถยับยั้งการติดเชื้อไวรัสได้ สเต็ปต่อไปเราจะต้องทำการทดลองอย่างที่คุณหนุ่มว่านั่นก็คือการเอาไวรัสฉีดเข้าไปในสัตว์ทดลอง แต่ประเด็นในวันนี้หนูทดลองมันไม่ติดเชื้อโควิด-19 ถ้าเราทดสอบอันนี้เราจะต้องใช้หนูที่มีการดัดแปลงพันธุกรรม หรือใช้แฮมเตอร์ ซึ่งเราจะต้องทำการสั่งจากต่างประเทศ ใบยาเราสั่งมา2-3เดือนแล้ว แต่เรายังไม่ได้สัตว์ทดลองมา ตอนนี้ก็เลยยังอยู่ในแพลนทดสอบ ถ้าเราได้แฮมเตอร์มา เราก็จะฉีดวัคซีนให้แฮมเตอร์ก่อน แล้วลองฉีดไวรัสดูว่ามันสามารถป้องกันสัตว์ทดลองจากเชื้อโวรัสได้ไหม"
แล้วลิงล่ะ แล้วลิงจะตายไหมหากรักษาไม่ได้?
ดร.สุธีรา : "ลิงก็ยังเก็บไว้อยู่ เดี๋ยว 6 เดือนก็จะฉีดไวรัสเข้าไป ถามว่าจะตายไหมมันก็ต้องยอมเพราะมันคือการวิจัย เรารู้นะคะ มันคือการวิจัย ทุกคนก็ทำแบบนี้"
ดร.วรัญญู : "ต้องบอกว่าในลิงมันต้องมีการทดลองมามากพอแล้วว่ามันสามารถได้ผลถึงจุไปทดสอบในลิง"
ดร.สุธีรา : "ในมนุษย์เวลาฉีดเราต้องมีการมอนิเตอร์ นั่นคือสาเหตุว่าทำไมเราถึงต้องมีการทดสอบในหนู ในลิง กลับไปกลับมา คือต้องเอาให้ชัวร์ก่อนแล้วค่อยมาฉีดในมนุษย์ เพราะวัคซีนมันฉีดให้กับคนที่มีสุขภาพแข็งแรง ฉะนั้นมันต้องปลอดภัย"
ดร.วรัญญู : "และกระบวนการทดสอบเหล่านี้มันเป็นมาตรฐานสากล ของเรามี อย. คอยดูแลมาตรฐานเหล่านี้ ซึ่งเราจะต้องทำตามมาตรฐานเลย เขาจะบอกมาเลยว่าให้ทดสอบอะไรมาบ้างก่อนที่จะเอาไปทดสอบในคนได้ ไม่ใช่อยู่ๆจะเอาไปทดลองในคนได้เลย"
อันนี้คือทำในนามของ จุฬาฯ?
ดร.สุธีรา : "เราสองคนเป็นอาจารย์ที่จุฬาฯ พอดีว่าตอนนี้มีนโยบายที่เราจะทำเป็นบริษัทสตาร์ทอัป เหมือนของอ๊อกซฟอร์ดเขาก็เป็นบริษัทสตาร์ทอัปเหมือนกัน แล้วแอสตร้าเซนเนก้าก็มาซื้อไป ของเราก็เหมือนกัน เพื่อทำให้มันมีความคล่องตัวในการทำงานวิจัย จุฬาฯก็เลยสนับสนุน จริงๆเป็นนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนให้เราเอางานวิจัยเอาไปใช้ได้จริงๆ เลยตั้งเป็นบริษัทสตาร์อัป ซึ่งใบยาก่อตั้งมา3ปีแล้ว ทำมาอยู่ตลอด ชุดตรวจโควิด-19 ก็ทำในนามใบยา"
บริษัทใบยาเป็นของจุฬาฯ?
ดร.สุธีรา : "บริษัทใบยาเป็นของอาจารย์แป้งกับอาจารย์บิ๊บ เราเป็นผู้ก่อตั้งกัน จุฬาฯมีส่วนบ่มเพาะควบคุมดูแลอยู่ ใบยาเหมือนเป็นบริษัทลูก"
มองอีกมุมต้องเรียกว่าเป็นเอกชน ปัญหามันเลยเกิด เพราะไปขอบริจาค500บาท 1 ล้านคน เป็น 500 ล้านบาท เข้ามาสู่บริษัทใบยา?
ดร.สุธีรา : "ไม่ใช่ค่ะ คนที่รับบริจาคคือจุฬาฯ เขาเห็นว่าโควิด-19 มันเป็นเรื่องของความเร่งด่วนที่มันต้องทำ เราบอกว่าวันนี้มันมีวัคซีนเกิดขึ้นในประเทศไทยและทั่วโลกเต็มไปหมดแล้วแต่เราก็ยังไม่เห็นวัคซีนนั้นในประเทศไทยเลย เขาเห็นว่าตอนนี้มันมีความหวัง ทางมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ โดยจุฬาฯ ก็เลยออกมารับบริจาคให้เรา ซึ่งเงินไม่ได้เข้าใบยานะคะ เงินเข้าไปที่มูลนิธิ แล้วการทดสอบในหนู ในลิงใช้เงินจากทางมูลนิธิเข้ามาจากเงินให้ โดยเราก็จะให้วัคซีนไป เราต้องมีการปรับปรุงสถานที่ผลิตซึ่งอยู่ในจุฬาฯ ก่อนที่จะเอาไปฉีดให้คนได้ ทางมูลนิธิจะดูแลในส่วนนั้น จะเป็นเหมือนสถานที่ผลิตที่จะตั้งอยู่ในจุฬาฯ หากเกิดเหตุอะไรอย่างนี้ขึ้นอีกก็จะสามารถผลิตวัคซีนให้คนไทยได้เลย"
ดร.วรัญญู : "เราต้องบอกตรงๆ ว่าจริงๆ แล้วรัฐบาลสนับสนุนในทุกทาง วันนี้จะเห็นว่าวัคซีนมันมีหลายบริษัทมาก แล้วประเทศต่างๆมีความพร้อมในการพัฒนาวัคซีนมากๆ เขานำหน้าเราไปอยู่แล้ว ฉะนั้นรัฐบาลก็พยายามจะเดินหน้าหาวัคซีนให้คนไทยได้เร็วที่สุด"
ทำไมใบยาถึงไม่ไปขอเงินสนับสนุนจากรัฐบาลแล้วให้รัฐบาลจ่ายเอง?
ดร.สุธีรา : "ไม่ใช่ไม่ขอนะคะ ในวันที่เราเปิดตัวโครงการ ท่านรัฐมนตรีก็มา ท่านก็บอกว่ายินดีจะสนับสนุน ซึ่งต้องบอกว่าการวิจัยและพัฒนาวัคซีน มันไม่ได้ใช้เงิน 500 ล้าน บริษัทอื่นเขาใช้เงินกันเป็นหมื่นล้านเพื่อให้เกิดขึ้นได้จริง 500 ล้านเราพยายามทำภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ให้ได้เร็วที่สุดแล้ว การที่มีมาอีก ถามว่ามันต้องใช้ไหมมันก็ต้องใช้ แล้วทดสอบในคนใช้เงินเป็นหลัก 100 ล้าน ฉะนั้นถ้าเขาให้เราก็ยินดี ไม่ใช่จะไม่เอา แต่สำหรับตัวเองและจุฬาฯมองว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน อะไรที่ทำได้ ถ้าประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแล้วทำให้วัคซีนมันเกิดขึ้นได้เร็วขึ้นก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่เราจะเริ่มต้น"
จุฬาฯ ก็มีทรัพย์สินเยอะแล้วก็น่าจะมีเงินสนับสนุนโครงการ ทำไมเราถึงยังต้องออกมาอีก?
ดร.สุธีรา : "ขอตอบแทนจุฬาฯนะคะ คนนึกว่าจุฬาฯ รวย แต่จุฬาฯ มีภารกิจในเรื่องของการเรียนการสอน อยู่ดีๆ จะเอาเงินตรงนี้มาทำก็อาจจะไม่ตรงกับภารกิจของเขา เขารู้สึกว่ามันเป็นความเร่งด่วน เลยออกมารับบริจาคตรงนี้ให้แล้วก็มาช่วยดูแล ให้มันมีความโปร่งใส"
รัฐบาลได้สนับสนุนบริษัทใบยาไหม?
ดร.สุธีรา : "เขาก็สนับสนุนอยู่นะคะ การทำนวัตกรรมอย่างนึงมันไม่ได้ใช้แค่เงิน มันใช้เงิน องค์ความรู้ ฟาซิลิตี้ หลายสิ่งหลายอย่าง เข้าก็เข้ามาสนับสนุนในตรงนั้น ในขณะเดียวกันสำหรับเขาเอง เขาก็มีหน้าที่ทำให้มีวัคซีนเกิดขึ้นให้คนไทยได้ใช้โดยเร็วที่สุด การที่เขาไปสนับสนุนให้แอสตร้าเซนเนก้ามาผลิตที่ไทย อันนี้ก็เป็นการสนับสนุนให้เกิดวัคซีน แต่ถามว่ามันจะเพียงพอไหมสำหรับวันนี้ ประชากรโลกมีอยู่ 7 พันล้านคน เราไม่รู้ว่าวัคซีนต้องฉีดทุกปีรึเปล่า ใครทำไปก่อนได้ก็ควรต้องทำ รัฐบาลเขาก็ทำในส่วนนั้น"
คือถ้าใบยาผลิตวัคซีนขึ้นมาได้เป็นของคนไทยเองก็จะเกิดความภูมิใจ?
ดร.สุธีรา : "มันไม่ใช่เรื่องของความภูมิใจแต่มันเป็นเรื่องของความมั่นคง วันนี้ไวรัสมันกลายพันธุ์ วัคซีนที่มีมันใช้ไม่ได้ ถ้าเรามีแพลตฟอร์มของเราไว้ในประเทศไทย ครั้งหน้ามาอีกเราก็ไม่ต้องกลัว"
เป็นโครงการที่ดีเลยแล้วทำไมทัวร์ลง?
ดร.สุธีรา : "คงเป็นแมสเสจหลายอย่างที่เราพยายามสื่อออกไปว่าเราอยากจะทำวัคซีน เป้าประสงค์เลยคือเราอยากจะทำวัคซีนของคนไทย ทำให้มันเกิดความมั่นคงทางด้านสุขภาพของประเทศ แล้วมันคงมีแมสเสจหลายอย่างทำให้คนค่อนข้างงง"
ดร.วรัญญู : "บริษัทวัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นาก็เป็นเอกชนนะคะ ถ้าเราซื้อเขาเราก็ให้เงินเขาอยู่ดี อีกข้อคือมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์เซ็นสัญญากับทางบริษัทใบยาเรียบร้อยแล้ว ถ้าเกิดเขาระดมทุนครั้งนี้ให้เรา เขาขอว่าเราต้องขายวัคซีนให้คนไทยในราคาต้นทุน ที่ถามว่าทำไมยังต้องขายก็เพราะว่าในวัคซีนมันมีต้นทุนของการผลิต เขาก็ขอให้ขายในราคาต้นทุนให้กับคนไทยเราก็ตกลง ต้นทุนตอนนี้เราคิดว่าไม่เกิน500บาท"
แต่ทางรัฐบาลบอกว่าของทางแอสต้าฯ200?
ดร.สุธีรา : "ถ้าผลิตได้เยอะๆ แล้วต้นทุนมันถูกลงเราก็ขายในราคาต้นทุน เราก็ไม่ต้องให้คนอื่นเขา อันนี้ในความรู้สึกตัวเองนะ"
ดร.วรัญญู : "ต้องบอกก่อนว่าใบยาทำวัคซีนโควิด-19 ขายมันไม่มีทางได้กำไรเลย ถ้าคนที่ทำงานทางด้านพัฒนายาจะรู้ ด้วยต้นทุนและราคาเราสู้กับบริษัททั่วโลกไม่ได้อยู่แล้ว แต่วันนี้ ใช่ เราอาจจะแพงกว่าแอสตร้าเซนเนก้า แต่วันนี้ถ้าเราทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น คนไหนที่มีเงินมากจ่ายได้จ่าย คนไหนมีเงินน้อยหน่อย มันมีหลายแบบให้เลือก มันดีกว่าที่เรามีแบบเดียว แล้วมีจำนวนจำกัด"
ดร.สุธีรา : "จุฬาฯ มีของตอบแทนน้ำใจ คือเอาไปเป็นส่วนลดประกันได้ แล้วก็ได้สิทธิ์ในการจองซื้อวัคซีน 1ล้านคนแรก หลังจากที่ผู้มีความเสี่ยงได้ฉีดไปแล้ว ก็จะได้สิทธิ์ในการจองไป"
วัคซีนที่บริษัทใบยากำลังผลิตอยู่ มีต่างประเทศติดต่อมาบ้างไหม?
ดร.สุธีรา : "มีมาหลายรูปแบบ จริงๆบริษัทสตาร์อัปแบบนี้มันไปอยู่ในสิงคโปร์เต็มไปหมดเลยนะคะ"
ดร.วรัญญู : "แต่เป้าหมายของเราที่เราตั้งใบยา ในฐานะที่เราเป็นอาจารย์ เราอยากให้มันเกิดขึ้นในประเทศเรา ถ้าเราไปทำที่อื่น ล้านโดสแรกก็จะเป็นของคนอื่น มันไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ"
มีหน่วยงานไหน หรือใครไม่เห็นด้วยบ้างไหม?
ดร.วรัญญู : "ก็น่าจะมีนะคะ"
ดร.สุธีรา : "ด้วยความที่มันเป็นเทคโนโลยีใหม่ ก็มีบอกว่ามันอาจจะเป็นไปไม่ได้นะ"
ดร.วรัญญู : "งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มันบอกไม่ได้ว่ามันจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ แต่สิ่งที่เราจะต้องทำคือเราจะต้องทำให้เห็นว่าเราทำได้หรือไม่ได้ ก็ต้องทดสอบไป วันที่มันได้ คนก็จะเห็นผลการทดลองนั้น แล้วก็เชื่อเอง"
ดร.สุธีรา : "จริงๆการทำยาและวัคซีนในประเทศไทยมันยากอยู่แล้วนะคะ ถามใครมีแต่คนบอกเป็นไปไม่ได้"
ถ้าทำออกมาสำเร็จใช้ได้จริง สุดท้ายแล้วสิทธิ์เป็นของใคร รัฐบาล จุฬาฯ หรือใบยา?
ดร.สุธีรา : "ของใบยาค่ะ เพราะคุณแป้งเขาทำมา 15 ปีแล้ว มันก็เป็นงานวิจัยของคุณแป้ง"
ดร.วรัญญู : "เรามีเงินแต่เราใช้เงินจนมาถึงสเต็ปของการทดลอง เราใช้เงินไปมากพอสมควร ทำไมเราถึงต้องลงทุนเอง เพราะเราต้องการความเร็ว มันรอไม่ได้ เราเลยทำก่อน แต่พอจะไปในขั้นต่อไปมันเกินกำลังเรา"
เคยขอทุนจากสาธารณสุขไหม?
ดร.สุธีรา : "เคยขอ ตอนนั้นเทคโนโลยีมันใหม่ก็เลยไม่ได้ แต่วันที่เราเปิดโครงการท่านรัฐมนตรีก็บอกว่าท่านจะสนับสนุนส่วนนี้ให้"
คือทางรัฐบาลก็ไปดูในมุมของแอสตร้าเซเนกัาก่อนแต่ทางเราเองก็อยากจะเร่งทำเลยระดมทุนก่อน?
ดร.สุธีรา : "ใช่ค่ะ ยอดบริจาคตอนนี้ได้เท่าไหร่แล้ว เท่าที่ทราบคือยังอีกไกลเลย"
ถ้าต่อไปวันนึงมีบริษัทต่างประเทศมาขอซื้อล่ะ?
ดร.สุธีรา : "สำหรับวัคซีนโควิด-19 เราตกลงกันแล้วว่าจะขายให้คนไทยในราคาต้นทุน เราไม่ได้จะเอากำไร จริงๆเราก็มียาวัคซีนตัวอื่นด้วย ถ้าเราทำยาและวัคซีนตัวอื่นได้แล้วเราเกิดกำไร เราจะเอาเงินไปคืนให้กับมูลนิธิ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมแบบนี้ในประเทศไทยอีก"
ดร.วรัญญู : "มูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ ก็จะเอาเงินไปสนับสนุนให้กับสตาร์อัปอื่นๆ ให้มันเกิดเทคโนโลยีที่มันเป็นจริงได้ต่อไป"
VVV
V