สงสารจับใจ! ตายายแฉพ่อแม่แท้ๆ ทำร้ายลูกวัย 3 ขวบปางตาย
รายการโหนกระแสวันที่ 25 ต.ค. 64 "หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย" ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.35 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33 สัมภาษณ์ ยายส้ม ยายของเด็กที่ถูกทำร้าย , ตาเปี๊ยก มานิตย์ ตาของเด็กที่ถูกทำร้าย, น้องแอม อริชา ลูกพี่ลูกน้องเด็กที่ถูกทำราย มาพร้อม รศ.นพ. สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น และผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม
ยายส้ม : ทราบแล้วค่ะ
เรื่องราวเกิดอะไรขึ้น?
ยายส้ม : ยายก็ไม่ได้เห็นด้วยตัวเอง ที่ไปรพ. ทางพยาบาลติดต่อมาหายายวันที่ 12 ต.ค. บอกว่าคุณยาย หลานเข้ารพ. คุณยายรู้มั้ยครับ ยายก็ตอบว่าไม่ทราบ เพราะไม่รู้ว่าเด็กเป็นอะไร เด็กโดนอะไรมา ทางเขาได้ถามว่ายายพร้อมมาเยี่ยมหลานมั้ย เราตอบว่าพร้อมไปเยี่ยมหลาน หลังจากนั้นเราไปเยี่ยมหลานที่รพ. ได้วิดีโอคอลเห็นหลานที่นอนอยู่ในเตียงที่ห้องไอซียู เรารับไมได้ เพราะเด็กโดนกระทำมาเยอะ (เสียงสั่นเครือ) เด็กเขียวช้ำไปหมดเลยค่ะ คุณหมอบอกว่าเด็กอาจไม่เต็มร้อย เพราะมีเลือดออกที่เยื่อหุ้มสมอง
ตอนนั้นเขาบอกตายายเป็นคนทำ เหตุการณ์คืออะไร?
ยายส้ม : เขาให้ข้อมูลกับทางรพ.ว่าเด็กอยู่กับตายาย ตายายคงเป็นคนทำ เพราะว่าเขาไม่ได้ส่งเงินให้ยายเลย เขาว่ายายเป็นคนทำหลาน แต่จริงๆ แล้วเด็กไม่ได้อยู่กับตายาย
ใครส่งหลานไปรพ.?
ยายส้ม : พยาบาลแจ้งว่าแม่เป็นคนอุ้มมาส่ง เขารีบกลับมาก ลุกลี้ลุกลน ไม่ทราบพ่อเขาไปด้วยหรือเปล่า
แอม : ทางรพ.เขาแจ้งว่าเขาอุ้มเด็กมาทิ้งไว้ที่รพ. แล้วแจ้งว่าตายายทำร้ายมา เพราะโกรธที่แม่เด็กไม่ส่งเงินไปให้ ซึ่งไม่ใช่ แล้วลุกลี้ลุกลนรีบกลับบอกคนขับรถรีบกลับ แล้วทิ้งเด็กไว้เลย ในสภาพที่เด็กไม่ได้สติค่ะ
น้องสามขวบกว่า มีร่องรอยเอาบุหรี่จี้ จี้ที่ไหนบ้าง?
ยายส้ม : ที่ลำตัว ต้นขา แล้วก็ที่หน้า
คุณหมอบอกว่าเยื่อสมองอักเสบ ไปโดนอะไร?
แอม : น่าจะโดนตีค่ะ โดนไม้ฟาด
ตอนเขาเอาไป ยืนยันว่าแม่แท้ๆ เอาไป?
แอม : ใช่ค่ะ
แอม : คือก่อนหน้านี้พ่อเขาไปอยู่ในคุกแล้วเขาออกมา เอาตัวน้องไปอยู่ด้วย
ยายเลี้ยงมาตั้งแต่เกิด?
ยายาส้ม : เด็กได้สองขวบที่อยู่กับตายาย พ่อเขาติดคุก แม่ก็บอกว่าทำงาน
แม่เป็นลูกแท้ๆ ของยาย?
ยายส้ม : ใช่ค่ะ เขาทำงานที่ไหนก็ไม่ทน พอไม่มีเงินจะมาขอแม่บ่อยๆ แล้วเอาเด็กมาฝากไว้กับเรา เราก็เลี้ยงมา
แล้วเด็กไปอยู่กับเขาได้ยังไง?
ยายส้ม : เขาบอกแฟนเขากลับมาแล้ว เขาอยากไปอยู่กับแฟนเขา เดี๋ยวเอาลูกไปอยู่ด้วยกัน เขามีลูก 2 คน คนนี้เป็นคนเล็ก
แอม : ลูกคนโต 7 ขวบก็อยู่กับเขาด้วย แต่คนที่เจ็บเป็นลูก 3 ขวบค่ะ
เขาเอาไปเลี้ยงนานหรือยัง?
ยายส้ม : ร่วมๆ 3 เดือน
จุดที่เกิดเรื่องคือสุพรรณ?
ยายส้ม : ใช่ แต่เราไม่เห็นเหตุการณ์
ประเด็นคือเจ้าหน้าที่รพ.แจ้งเรามาแบบนั้น ?
แอม : ทางแม่น้องเอาน้องมาฝากไว้ที่รพ. เมื่อวันที่ 9 แล้วให้เบอร์ติดต่อเป็นเบอร์คุณยาย น้องนอนรพ.มา 4 วันแล้วที่ห้องไอซียู วันที่ 12 ทางรพ.ถึงมาแจ้งยาย ก็นัดวันไปเยี่ยมน้องแต่ไม่สามารถเข้าไปเยี่ยมได้ ให้พยาบาลวีดีโอคอลมาหา เห็นน้องนอนอยู่ ก็ไปแจ้งความตั้งแต่วันนั้น แต่ตอนไปแจ้งความ ตร.ก็ย้อนยายกลับมาว่า ทำไมถึงสอนลูกแบบนั้น
ยายส้ม : เขาบอว่าลูกยายไม่ใช่เหรอที่เลี้ยงมา เลี้ยงยังไงถึงได้เป็นแบบนี้ และพูดอีกคำว่า ถ้าอยากให้เรื่องเร็วๆ ให้เราไปเอาตัวพ่อแม่เด็กมา
ทำไมถึงมั่นใจว่าเป็นตัวพ่อทำไม่ใช่แม่ทำ?
ยายส้ม : เราถามเด็กคำแรกว่าใครทำ เขาบอกว่าพ่อทำค่ะ พ่อเอาไม้ใหญ่ๆ ตี เอาบุหรี่จี้ เด็กบอกค่ะ
แอม : ตอนแรกคดีเงียบ ทักตร.ไปก็บอกว่ายุ่ง หนูรู้สึกว่ารอไม่ได้ มันสองอาทิตย์แล้ว สภาพจิตใจน้องก็ไม่ดี หนูเลยไปที่เพจโหนกระแส เพื่อร้องทุกข์ค่ะ
แอม : ไม่ค่ะ ล่าสุดสองสามวันพ่อของหนูเพิ่งรู้เรื่อง เพราะหนูเล่าให้ฟัง เขาก็โมโห ติดต่อไปหาพ่อว่าทำหลานทำไม เป็นพ่อคนหรือเปล่า เขาก็พูดคำหยาบกลับมา ว่ามึงเป็นใคร มาเจอกันเลย นัดไปกระทืบ แต่พ่อหนูไม่ได้ไป เพราะรู้สึกว่าไม่ต้องเอาอะไรไปแลก
เขาติดคุกข้อหาอะไร?
ยายส้ม : พยายามฆ่าและลักทรัพย์ค่ะ
แม่เด็กมีเรื่องยาเสพติดมั้ย?
ยายส้ม : มีค่ะ
ตาเปี๊ยก : ลูกสาวเป็นคนพูดว่าผัวบังคับให้ดูด
แต่ตอนนี้มุมลูกสาวถูกตร.จับแล้ว เขาบอกเขาเองเป็นคนทำ แต่ผัวไม่ได้ทำ?
ยายส้ม : เขากลัวผัวมาก เพราะเคยโดนซ้อมมาก่อนหน้านี้ ก่อนที่ยังไม่มีลูก
ตาเปี๊ยก : โดนซ้อมดั้งหัก
ยายส้ม : จมูกร้าว คุณแม่พาไปรักษา ตอนเขาออกไปอยู่ด้วยกันใหม่ๆ ยังไม่มีลูกเลย
ตัวพี่ชายน้องอายุ 7 ขวบล่ะ?
แอม : อยู่กับเขา
คิดว่าเขาโดนด้วยมั้ย?
ตาเปี๊ยก : คนนี้เขารัก เพราะหน้าเหมือนพ่อ เขาไม่ชอบลูกผู้หญิง
แอม : พ่อเขาพูดว่าผู้หญิงหน้าไม่เหมือนเขา ไม่รู้ใช่ลูกเขาหรือเปล่า ก่อนหน้านี้น้องมาบอกตายายว่าเห็นพ่อตีแม่ เห็นพ่อต่อยท้องแม่ ยายก็ไปถามลูกเขาว่าโดนทำร้ายเหรอ ทะเลาะกันหรือเปล่า เขาบอกว่าเปล่า เขาไม่ได้โดน
ยายส้ม : อยากให้ออกมาพูดเลย ว่าใครเป็นคนทำ ถ้าแน่จริงก็ออกมาพูดเลยค่ะ
คุณหมอ เข้าข่ายอะไรยังไง?
นพ. สุริยเดว : ประเด็นความรุนแรงในครอบครัว ขอแก้นิดนึง คือเป็นมายาคติ แม้แต่พนักงานสอบสวน ที่อาจต้องเข้าใจด้วยว่าในประเทศไทยเราปัจจุบันนี้มีพ.ร.บ.คุ้มครองความรุนแรงในครอบครัว แล้วล่าสุดออกมารูปแบบพ.ร.บ.ส่งเสริมการคุ้มครองสวัสดิภาพความรุนแรงทั้งสิ้น แต่ประเด็นสำคัญคือผู้ใหญ่โดยส่วนใหญ่มักมองว่าเรื่องครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว เลยเกิดประโยค ที่ทำไมสอนลูกให้เป็นแบบนั้น ให้ไปเอาตัวเขามา ผมเข้าใจว่านี่เป็นจุดบกพร่อง จุดอ่อนอันนึงที่จำเป็นต้องแก้ ประเด็นที่สองเวลาบอกว่าชอบลูกคนไหน ไม่ชอบลูกคนไหน หลักการคือใช้ความรุนแรงไม่ได้ ต่อให้ลูก 7 ขวบไม่ได้โดนความรุนแรง แต่อยู่ในบ้านที่กำลังใช้ความรุนแรง ถามว่าลูกได้รับผลกระทบทางจิตใจมั้ย คำตอบคือมีเต็มกำลังแน่นอน เวลาทางแพทย์จะประเมิน ลักษณะไหนต้องแยกเด็กออกมา ต้องดูหลักการจิตใจของพ่อแม่ด้วย ถ้าใช้ความรุนแรงทะเลาะกันเอง ลงไม้ลงมือกันเอง อันนี้ในทางการแพทย์เรียกว่าไม่สมควรเป็นพ่อแม่ด้วยซ้ำไป
เอาบุหรี่ไปจี้ที่หน้า ตามตัว ทำไมมันวิปลาสหรือวิปริตในจิตใต้สำนึกเหรอ?
นพ. สุริยเดว : ทั้งหมดคือสมองส่วนอารมณ์ สมองส่วนคิดพังไปหมดแล้ว ไม่สามารถเบรกตัวเองกับอารมณ์ได้ ส่วนหนึ่งมาจากยาเสพติด และส่วนหนึ่งมาจากทักษะชีวิตพวกนี้อ่อนแอ
หลานเป็นยังไงบ้าง?
ยายส้ม : อาการดีขึ้น ยังไม่ร่าเริงเหมือนเดิม หวาดผวา
นพ. สุริยเดว : เป็นภาพจำ มีผลกระทบแน่นอน บอกเลยว่าสองสามเดือนนี้เป็นจังหวะทางจิตวิทยาที่สำคัญมาก ต้องช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจเด็กให้คืนกลับมาว่าสังคมที่เขาอยู่ตอนนี้เขาจะไม่โดนแบบนี้อีก ประเด็นถัดไปจะเลี้ยงดูอย่างไรให้เกิดความรักความอบอุ่น และเกิดความไว้วางใจได้ เพราะภาพพวกนี้เป็นภาพจำทั้งหมด
คิดว่าแม่หรือพ่อเป็นคนทำ?
ยายส้ม : ไม่เชื่อว่าแม่ทำ พ่อเป็นคนทำมากกว่า เขายอมรับเพราะเขากลัวผัวเขา
พ.ต.อ.กฤศ : ถูกต้องครับ เบื้องต้นให้การปฏิเสธอยู่นะครับ หมายถึงตัวพ่อนะครับ ตัวแม่เบื้องต้นบอกว่าพ่อทำร้ายเด็ก ส่วนคนเป็นแม่ก็สั่งสอนตามความเป็นแม่ครับ
ตัวภรรยาบอกพ่อเป็นคนทำ?
พ.ต.อ.กฤศ : ถูกต้องครับ เขาก็บอกว่าเขาใช้มือตีตามประสาแม่ลูก อบรมสั่งสอนตามปกติ
แม่กล่าวหาไปที่พ่อแล้ว ว่าพ่อเป็นคนทำ แต่พ่อไม่ยอมรับ?
พ.ต.อ.กฤศ : ครับ
พ่อเห็นว่าสภาพเบลอๆ เหมือนคนเมาเหรอ?
พ.ต.อ.กฤศ : เบื้องต้นตรวจสารเสพติดในร่างกายทั้งคู่ พบฉี่ม่วงทั้งคู่ครับ
ตอนนี้แม่เด็กว่ายังไงบ้าง เขาบอกว่าพ่อไปตีเนื่องจากอะไร?
พ.ต.อ.กฤศ : เด็กคงดื้อครับ ไม่แน่ใจตรงนี้เหมือนกัน ว่าทำร้ายเรื่องอะไร เขายังไม่ให้การอะไร
เขาปฏิเสธอย่างเดียว เขางงว่ามาโรงพักทำไม?
พ.ต.อ.กฤศ : ครับ เราเอาคลิปภาพให้เขาดู เขาก็ปฏิเสธอย่างเดียวเลย
ฝั่งยายไม่สบายใจ เขาไปแจ้งความตร. แล้วบอกว่าคุณยายเลี้ยงลูกมายังไงถึงได้เป็นแบบนี้?
พ.ต.อ.กฤศ : ขออนุญาตนิดนึง เบื้องต้น 12 ต.ค. ได้รับรายงานจากร้อยเวรว่ามีเด็กโดนทำร้าย มีผู้นำส่งรพ.เจ้าพระยายมราช ผมก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ต้องทำตามขั้นตอนกฎหมาย หาพยานหลักฐานต่างๆ จนได้คลิปภาพว่ามีผู้นำไปส่ง ตอนแรกเราไม่ทราบว่าเป็นใครเพราะตอนแรกยังไม่ได้คลิปภาพ คือคนไปส่งเขาก็ทิ้งเบอร์ไว้ให้กับทางรพ. เราตรวจสอบเบอร์เบื้องต้นเป็นเบอร์แม่เขา ตอนหลังเราได้คลิปภาพมาก็เป็นแม่เขาจริงๆ และตัวพ่อเขามาด้วย แต่เมื่อครูที่เอาคลิปให้พ่อเขาดู เขาไม่ยอมรับว่าเป็นตัวเขา กลับบอกว่าเป็นพี่ชายภรรยา ปรากฏว่าภรรยาเขาไม่มีพี่ชาย แล้วตัวพ่อพูดกลับไปกลับมา ว่าเป็นพี่ชายเขาเอง ซึ่งไม่ใช่อีก เราได้ตรวจสอบเสื้อผ้า รองเท้า ตอนนี้เราให้ทีมงานไปเอาเสื้อผ้าเขามาดำเนินการอยู่ เพื่อเป็นหลักฐาน
พ.ต.อ.กฤศ : ไม่ได้นิ่งนอนใจ เหตุเกิด 12-13 ที่ได้รับรายงาน
ตร.สภ.บอกว่าไปเอาตัวมาเอง เขาเลยตกใจ?
พ.ต.อ.กฤศ : อันนั้นไม่ทราบเหมือนกัน เมื่อเช้าไปเยี่ยมเด็กที่บ้านพักเขาดีขึ้น จะปกติแล้วครับ
ตัวพ่อเด็กไม่น่าพลาด?
พ.ต.อ.กฤศ : ไม่น่าพลาด เรามีพยานหลักฐานทั้งหมดแล้ว เพียงแต่อาจต้องอาศัยผลการพิสูจน์บาดแผลจากแพทย์ เรารออยู่ ตอนนี้แจ้งข้อกล่าวหาเรียบร้อยแล้ว รอคุณหมออยู่ครับ เราดำเนินการทุกอย่างตามขั้นตอนทั้งหมด ไม่ได้นิ่งนอนใจ
ในฐานะเป็นจิตวิทยาเด็ก เห็นว่าจำเป็นต้องย้ายเด็ก 7 ขวบออกมาด้วย?
นพ. สุริยเดว : ใช่ครับ เวลาเด็กทั้งหลาย เขาอยู่ในสังคมที่มีความรุนแรง เด็กกจะมีบาดแผลใจ แม้ไม่ได้ถูกกระทำ เพราะเห็นอยู่ว่าพ่อแม่ใช้ความรุนแรง เห็นว่าพี่เองไม่อยู่ในสถานะปกป้องน้องได้ ความซึมเศร้าเกิดขึ้นได้ ขณะเดียวกันภาพจำออกได้สองแบบ มีประเภทภาพจำแล้วเติบโตมาลอกเลียนแบบพฤติกรรมความรุนแรง คำถามคือครอบครัวใส่อะไรให้เด็ก 7 ขวบ สองเกิดภาวะความเครียด จัดการอะไรไม่ได้เกิดเป็นภาวะซึมเศร้า หลักดีที่สุดคือกันเด็ก 7 ขวบออกมาด้วย รวมทั้งความเป็นสามีภรรยา มันทำความรุนแรงต่อกันไม่ได้ ผิดหลักการอยู่แล้ว
ลูกสาวแม่ยืนยันว่าตีลูกจริง แต่ตัวพ่อเป็นคนทำ ยายยืนยันว่าตัวฝั่งพ่อชอบซ้อมแม่เด็กด้วย?
ยายส้ม : ยืนยันค่ะ
แม่สูบบุหรี่มั้ย?
ยายส้ม : ไม่สูบค่ะ ตัวพ่อสูบ
มันก็บอกได้ว่าร่องรอยบุหรี่บนตัวเด็กก็คงชัดเจน?
นพ. สุริยเดว : ทีมสหวิชาชีพ และอาศัยจังหวะเด็กสบายๆ ใช้จิตวิทยา เด็ก 3 ขวบจะสะท้อนออกมา นั่นคือความเป็นจริงที่ดีที่สุด
น้องพูดจาฉะฉาน บอกหมดใครทำอะไรเขายังไง?
ยายส้ม : ใช่ค่ะ
นอกจากบุหรี่จี้หน้า?
ตาเปี๊ยก : ที่อวัยวะเพศยังมีแผลเลย เป็นรอยไม้เขียวปื๊ด
ยายส้ม : หัวมีรอยกัด เป็นรูปฟันเลยค่ะ
ตาเปี๊ยก : ใช่ครับ รูปฟันยังอยู่
นพ. สุริยเดว : ลักษณะอย่างนี้ ถ้าพิสูจน์ได้ บอกได้เลยไม่สมควรเป็นพ่อแม่ อย่างนี้ไม่เรียกว่าจะเลี้ยงลูกต่อไปได้ ต้องกันเด็กออกมา ไม่งั้นเด็กจะได้รับความรุนแรง
จะเอายังไงต่อไป?
ยายส้ม : อยากให้ดำเนินคดีถึงที่สุด ยายให้เขาติดคุกติดตะรางไปเลย
ร่องรอยมีรอยกัด บุหรี่จี้ รอยตีใช้อะไรตี?
ยายส้ม : รอยไม้ เขียวหมดเลย
ตาเปี๊ยก : หลานบอกเป็นไม้ใหญ่ หัวแตก 3 ที่
ตอนไปรพ.สลบไปเลย?
ยายส้ม : ใช่ค่ะ
นพ. สุริยเดว : เด็กต้องได้รับการเยียวยาเป็นอย่างมาก ประเด็นแรกกันเด็กออก จะได้ไม่เกิดความรุนแรงต่อเนื่อง ต้องเรียนว่าเมื่อคืนหมอได้รับไลน์ส่วนตัวเข้ามา คล้ายๆกับน้องกำลังพูดอยู่ว่าต้องการความช่วยเหลือ เข้ามาที่เลขาธิการแพทย์สภา ท่านเลขาฯ ส่งมาที่หมอโดยตรง อยากให้ช่วยเหลือเด็ก หมอได้ประสานงาน ตอนนี้เด็กอยู่ที่รพ. ได้รับการดูแลจากบ้านพักเด็ก เข้าใจว่ากระบวนการรักษาอันดับแรกคือการกันเด็กออกมาเพื่อไม่ให้ถูกกระทำซ้ำอีก เพื่อให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย สองเยียวยาบาดแผลทั้งหมดที่กำลังเกิดขึ้น สามคือดูแลสภาวะทางจิตใจ สี่การเตรียมสภาพแวดล้อม ว่าใครจะดูแลต่อไป เตรียมความพร้อมยังไงบ้าง ห้านัดติดตามต่อเนื่องสภาวะจิตใจเพราะเด็กเหล่านี้จะเกิดภาพจำ แล้วต้องเข้าใจว่าภาพจำเด็กบางคนมันหลอน นอนก็ไม่หลับ
นพ. สุริยเดว : เพราะมีความหวาดระแวงเกิดขึ้น ห้าสเต็ปแบบนี้ต้องได้รับการทำอย่างทันท่วงที
พ่อแม่เด็กไม่พร้อม ทำไมไม่ใส่ถุงยาง หรือคุมกำเนิด ไปปล่อยเขาออกมาแล้วทำแบบนี้?
นพ. สุริยเดว : เหตุผลหนึ่งที่ทำให้บ้านเราต้องมีกฎหมายคุ้มครองความรุนแรงในครอบครัว และอยากถือโอกาสนี้ ทำความเข้าใจทั้งพนักงานสอบสวน ทั้งพนักงานทุกอย่าง จริงๆ เรามีศูนย์ไกล่เกลี่ยชุมชน ที่พูดถึงตรงนี้เพราะหมอได้รับเป็นหัวหน้าวิจัยครอบครัวไทยไร้ความรุนแรงจากสำนักงานวิจัยแห่งชาติ และร่วมกับศูนย์คุณธรรมม.มหิดล รวมถึงสำนักอัยการสูงสุด จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ร่วมกับภาคีเครือข่าย ตอนนี้จุดอ่อนกฎหมายคือเวลาพนักงานสอบสวนจะรับฟ้อง จะทำยังไง ใครจะเป็นเจ้าภาพ กระบวนการพวกนี้เขาไม่รู้ข้อกฎหมายหรือรายละเอียดความเชี่ยวชาญต่างๆ มันมีไม่พอ ขณะเดียวกันกระทรวงยุติธรรม ซึ่งมีศูนย์ไกล่เกลี่ยชุมชน ศูนย์คุ้มครองเด็ก การประสานจับมือร่วมกับพัฒนาสังคมยังอ่อนแอ สองตรงจุดนี้ต้องคุยกันให้ดีๆ ต้องให้มีทักษะการเฝ้าระวังในชุมชน ส่งต่อความช่วยเหลือ เรากำลังช่วยทดลองนำร่อง และขยายผลต่อ
เมื่อไหร่จะสำเร็จ พอมีแล้วไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์?
นพ. สุริยเดว : ตรงนี้จะเป็นหน้าที่ของสองสามกระทรวง เข้าใจว่าวันนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ตั้งใจมาออก เพื่อกระตุ้นหลายๆ กระทรวงให้หันมาบูรณาการร่วมกัน
ยืนยันเอาเรื่องให้ถึงที่สุด?
ยายส้ม : ค่ะ
แม่เด็กจะเอายังไงต่อไป?
ยายส้ม : เอาเรื่องด้วยค่ะ เชื่อว่าแม่เด็กมีส่วนร่วมด้วยค่ะ
นพ.สุริยเดว : ณ ขณะนี้เด็กอยู่บ้านพักเด็กและมีจิตแพทย์เด็กที่สุพรรณบุรีดูแลอยู่
VV
V