เล่านาที ช่วยเหยื่อมนตรี สองรปภ.ขวางตำรวจ ลั่นนิติฯ จะต้องโดนด้วย
รายการโหนกระแสวันที่ 6 ม.ค. 65 "หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย" ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.35 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33 สัมภาษณ์ หมอก เพื่อนที่ไปช่วยคนแรก , ทนายไพศาล เรืองฤทธิ์ , ดร.วัชรพล บุษมงคล นายกสมาคมผู้ประกอบการรักษาความปลอดภัยแห่งประเทศไทย
หมอกคือคนที่เข้าไปช่วยน้องคนแรก เรื่องเกิดอะไรขึ้น?
หมอก : ประมาณตี 1 น้องม่อนโทรมาหาผม ขอความช่วยเหลือ ทีนี้ในเสียงที่ผมได้ยินคือเขาร้องไห้หนักมาก ผมก็ถามว่าเกิดอะไรขึ้น เขาบอกว่าโดนหัวหน้า รปภ. ข่มขืน ผมก็ถามว่าอยู่กับใครที่ไหน เขาบอกว่าอยู่ในห้อง ล็อกประตูอยู่ ทีนี้ผมก็บอกน้องว่าไม่ต้องร้อง ถ้าอยู่ในห้องล็อกประตูไป ถ้าไม่ได้ยินเสียงพี่เคาะประตูก็ไม่ต้องเปิดให้ใคร
แล้วผมก็ขับรถไปประมาณ 10 นาที ผมไปถึงหน้าคอนโด ผมไม่มีคีย์การ์ดเข้าไปได้ ผมก็แจ้ง รปภ.หน้าป้อมว่าผมไม่มีคีย์การ์ด ช่วยเปิดประตูให้หน่อย ผมบอกชื่อน้องไป เขาบอกว่าถ้าเจ้าของห้องไม่ลงมารับ ก็ให้หัวหน้าเขาเป็นคนเปิดให้ ผมถามว่าหัวหน้าคือใคร เขาบอกว่าหัวหน้า รปภ. ผมก็บอกว่าก็หัวหน้า รปภ.ที่น้องแจ้งไป คนนี้เป็นคนข่มขืน
หลังจากนั้นผมก็เดินมาที่ป้อมอีกทีนึง เจอตร.สายตรวจก็เรียกมา แล้วบอกว่าน้องผมโดนข่มขืนอยู่ที่ชั้นบน ตอนนี้เก็บตัวอยู่ในห้อง รปภ.หน้าป้อมไม่เปิดประตูให้ผม ผมจะไปช่วยน้อง
ตร.เขาแสดงตัวเลย?
หมอก : ใช่ โชว์บัตรให้ดู แต่ รปภ.ข้างล่างไม่ให้ขึ้น ตอนนั้นเขาก็เห็นบัตรตร. เขาถามว่าถึงตร.ก็ให้ขึ้นไม่ได้
ตอนหลังมีรถตร.มาด้วย หลังจากนั้นเรื่องที่เกิดกับเพื่อนของเรา มันเกิดอะไรขึ้น เขาเล่ามั้ย?
หมอก : เล่าครับ เขาเล่าว่าพอดีน้องกลับมาที่ห้องประมาณเที่ยวคืนกว่า ลืมกุญแจไว้ที่เพื่อน เข้าห้องไม่ได้ ก็เดินลงมาตามช่างตามอาคารว่าให้ช่วยตามช่างมาสะเดาะกุญแจให้หน่อย พอดีน้องไม่มี ทางนิติข้างล่างก็ไปตามช่างข้างนอกมา พอช่างมา หัวหน้ารปภ.ก็ขึ้นมาด้วย ใช้เวลาอยู่สักพักนึงถึงเข้าห้องได้ หลังช่างกลับไป หัวหน้ารปภ.ไปส่ง เขาบอกว่ามีเสียงเคาะประตู บอกว่าขอเบอร์หน่อย เขาก็ให้เบอร์ไปรอบแรก เขาก็บอกว่าขออีกทีได้มั้ย ยังไม่ทันพูดจบ รปภ.ก็ผลักประตูเข้าไปเลยเห็นว่ามีการต่อสู้กันข้างใน?
หมอก : ช่วงหน้าห้องด้านในมีการฉุดกระชากกันอยู่ แล้วเหมือนเอากุญแจล็อกมือน้อง น้องเขาเห็นมีทั้งกุญแจมือ เทปกาว น้องเลยกลัว บอกว่าไม่ล็อกได้มั้ย หาวิธี หลังจากนั้นน้องก็ต้องเป็นไปตามที่มันต้องการ
สุดท้ายแล้ว หลังจากนั้น รปภ.คนนี้ พอมันล่วงละเมิดเสร็จ มีวิทยุสื่อสารส่งมาหามัน?
หมอก : จริงๆ มีการขอครั้งที่สอง แล้วพอดีว่ามีวอร์ขึ้นมาว่าทำไมขึ้นมานานจัง อยู่ไหน น้องเลยบอก รปภ.ว่าให้รีบลงไปก่อน มนตรี ด้วยความลุกลี้ลุกลนก็รีบใส่เสื้อผ้าแล้วกำลังจะออกจากห้อง เขาหันมามองน้อง น้องหยิบมือถือ เขาถามว่าจะแจ้งความเหรอ น้องบอกว่าไม่แจ้ง แต่อย่าทำแบบนี้กับใครนะ แล้วเขาก็รีบลงไป ก่อนออกก็ยกมือไหว้ขอโทษแล้วก็ออกไป
น้องโทรไปตามคุณ คุณมาถึง ปรากฏว่ารปภ.อีกคนไม่ให้เข้า คุณมาถึงตอนกี่โมง?
หมอก : ประมาณตีหนึ่งกว่าๆ แล้ว น้องโทรหาช่วงประมาณตีหนึ่ง ผมมาถึงไม่เกิน 15 นาที เพราะคอนโดผมกับบ้านน้องใกล้กัน
15 นาทีนี้ เข้าใจว่ามนตรียังไม่ได้หนีไป น่าจะอยู่ในคอนโดแห่งนั้น เป็นไปได้มั้ย รปภ.ที่อยู่ข้างล่างวอร์ไปบอกเขาทำให้เขาไหวตัวทันเขาเลยหนีไป เวลาประมาณ?
หมอก : ประมาณตี 2 กว่า ไม่แน่ใจว่าเท่าไหร่
แสดงว่าคุณยื้อกับรปภ.ข้างล่างเกือบชม.?
หมอก : ใช่ครับ
แสดงว่าช่วง 1 ชม.ที่ยื้อขอขึ้นไปข้างบน ทำให้รปภ.คนนี้ฉวยโอกาสหลบหนีไปได้ ตร.ว่าไงบ้าง?
หมอก : เขาก็บอกว่าต้องทำตามขั้นตอน เขาโมโหที่ไม่ให้ขึ้น ก็ถามว่าน้องเขาโดนข่มขืนทำไมไม่ให้ขึ้น ผมกับตร.ก็ตะคอกกันแล้ว ว่ากันอยู่นาน จนช่างของตึกได้ยินเสียงก็มาเปิดประตูให้
รปภ.ที่อยู่ข้างล่างโดนตบหน้าไปหนึ่งที ใครตบ?
หมอก : ผมครับ โมโห ผมอยากถึงตัวน้องให้เร็วที่สุด
ขอถามทางพี่ไพศาล กรณีแบบนี้ทางนิติควรต้องให้ขึ้นมั้ย หรือรปภ.ควรไปแจ้งเบาะแสทางนิติ ขออนุญาตนิติมั้ย เพราะมันเหตุด่วน?
ไพศาล : ต้องให้ขึ้นครับ กฎหมายบัญญัติชัด มาตรา 92 มีเหตุพฤตการณ์สงสัยเกิดเหตุร้ายในที่รโหฐานก็เข้าได้ การตีความใดๆ หมายค้นตอนกลางคืนไม่จำเป็น มันใช้คำว่าหรือ มีพฤติการณ์ว่าจะเกิดเหตุร้าย ก็เข้าได้ ตัวผู้เสียหายแจ้งความเอง ผมก็สงสัยนะ ทางนิติบุคคลก่อนออกกฎระเบียบ มันไม่ได้ใหญ่กว่ากฎหมาย สอง รปภ.พยายามขัดขวางไม่ให้เข้า อ้างระเบียบ
ผมบอกเลยเป็นการขัดขวาง อันนี้ผิดกฎหมาย 138 โดนแล้วนะ 189 ก็โดนด้วย เพราะช่วยผู้ต้องหาให้พ้นการจับกุม ตรงนี้บอกว่าเป็นภัยร้ายแรง คอนโดส่วนใหญ่ไม่ได้ให้รปภ.ขึ้นนะ นิติบุคคลก็รับผิดหมด ผมสงสัยว่าเขาไปตั้งแต่เที่ยงคืน ตีสองยังไม่ได้จับตัว มีการช่วยเหลือกันหรือเปล่า เห็นในข่าวบอกว่าไม่ถือโทษอะไรที่โดนตบหน้า ก็ดีแล้ว แต่เดี๋ยวรอรับความผิดนี้ด้วย ถ้าพิสูจน์ว่ามีความผิดจริง คุณมีโทษตามกฎหมายนะรปภ. ท่านนั้นที่ขัดขวาง
หมอกไม่ใช่พี่ชายผู้ถูกกระทำ?
หมอก : ไม่ใช่ครับ เป็นเพื่อนห่างๆ คนนึง น้องคงกดเจอเบอร์ไหนก็โทรหา ซึ่งผมเพิ่งคุยกับน้องเมื่อตอนเย็น เขาเหมือนโทรหาใครได้ก็โทรเลย ผมก็พุ่งไปเลย
มุมฝั่งรปภ. จริงๆ กฎระเบียบที่เกิดขึ้น มีพ.ร.บ.อะไรบ้าง?
ดร.วัชรพล : คุณสมบัติรปภ. เป็นคนที่มีสัญชาติไทย มีอายุ 18 ปีขึ้นไป แล้วต้องไม่เคยต้องโทษจำคุกคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน เรื่องเพศ เรื่องยาเสพติด เรื่องการพนัน เว้นแต่เป็นความผิดละหุโทษ หรือกระทำโดยประมาท หรือไม่บุคคลที่พ้นโทษมาแล้ว อย่างน้อย 3 ปีก่อนวันได้รับใบอนุญาต ไม่รวมถึงกรณีความผิดเกี่ยวกับเพศ ซึ่งต้องห้ามเลย ตลอดชีวิต ไม่สามารถเป็นรปภ.ได้
พูดง่ายๆ ว่าพ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ส. 2558 ลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย ผู้ที่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย , ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์, ความผิดเกี่ยวกับเพศ, ความผิดเกี่ยวกับการพนัน, ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เว้นแต่เป็นการกระทำโดยประมาท หรือพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ก่อนวันขอรับใบอนุญาต และไม่ใช่ความผิดเกี่ยวกับเพศตามกฎหมายอาญา หมายความว่าชายใดก็ตามแต่มีส่วนในความผิดเกี่ยวกับเพศคดีอาญา และติดคุกต่างๆ นานา คุณหมดสิทธิ์เป็นรปภ.เลย?
ดร.วัชรพล : ถูกต้องตามนั้นครับ
หมอก : ดีขึ้นเยอะครับดร.วัชรพล : จริงๆ แล้วผมก็ไม่ทราบว่ากระบวนการตรวจสอบประวัติอาชญากร บริษัทต้องมีการตรวจสอบประวัติก่อนรับพนักงาน ถ้าเป็นรปภ.อนุญาตต้องไปตรวจประวัติอาชญากรกับสำนักงานตร.แห่งชาติก่อน ว่าบุคคล คนนี้เคยมีการกระทำความผิดเช่นนี้มาก่อนมั้ย แต่ถ้ามีเรื่องของเพศ อย่างที่ผมเรียน ก็ไม่สามารถเป็นรปภ.ได้ เท่าที่ทราบในเอกสารมีการอนุญาตออกมา
ตัวนี้แหละผมไม่แน่ใจว่ากระบวนการตรวจสอบมันเป็นอย่างไรถึงมีข้อผิดพลาดแบบนี้เกิดขึ้น จริงๆ ทุกบริษัทรปภ. ต้องตระหนักให้มากกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต้องไปถามบริษัท หรือที่สำนักงานตร.แห่งชาติว่าออกมาได้อย่างไร เกี่ยวกับความผิดพลาดในการออกใบอนุญาต
หลังมีเหตุเกิดขึ้นจนถึงวันนี้ นิติคอนโดเขาติดต่อมามั้ย?
หมอก : ไม่มีครับ มีแต่บริษัทรปภ. ติดต่อเข้ามา แต่ผมไม่ทราบรายละเอียด เขาติดต่อมาทางน้อง
กรณีแบบนี้มีนัยยะแฝงมั้ย?
ไพศาล : ผมสงสัยนะ ตอนที่เขาเข้าไปตอนเที่ยงคืนตีหนึ่งแล้วบอกว่าคนทำผิดคือหัวหน้ารปภ. ทำไมรปภ. คนนั้นไม่ยอมให้เข้า แล้วบอกเป็นกฎระเบียบนิติบุคคล ผมถามว่ามันใหญ่กว่ากฎหมายมั้ย น้องเกิดเหตุอยู่ข้างบนเหมือนทำลายหลักฐานนะ ปีนออกไปตีสองจะไม่รู้กันเหรอ เพราะน้องบอกว่าตอนเกิดเหตุมีการวอร์มาบอกว่าหายไปไหน อยู่ไหน หายไปตั้งนาน ผมมองเป็นข้อพิรุธเลยนะ แล้วบริษัทอ้างพ้นความผิดไม่ได้ เพราะคนกระทำเป็นลูกจ้างคุณทำในหน้าที่ด้วย บริษัทรปภ.ต้องโดน นิติด้วย
นิติโดนทำไม?
ไพศาล : นิติจ้างบริษัทรปภ.มาไง แล้วความปลอดภัย มันยังปลอดภัยอยู่มั้ย ผมก็ถามว่าการได้ใบอนุญาตวิชาชีพมันได้มาง่ายแบบนี้ มันไม่มีการตรวจสอบเลยเหรอ มีการอบรมกันแบบไหน ถ้าเกิดเหตุแบบนี้อีก กว่าจะเข้าไปถ้าเกิดจะฆ่ากันตายก็คงตายไปแล้วสิ ถ้าน้องบอกกลัวอยู่หน้าห้อง ไอ้นี่ก็ไม่ยอมให้ขึ้น แล้วมันฆ่าไปแล้ว มีการช่วยกันได้ ทำไง
จะมีโอกาสเปลี่ยนอะไรมั้ย?
ดร.วัชรพล : ผมก็ถือว่าเป็นอุทาหรณ์ที่สำคัญกับเรื่องที่เกิดขึ้น ต่อไปบริษัทรปภ.ก็ต้องเข้มงวดให้มาก ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเฉพาะเรื่องคุณสมบัติ คดีอาชญากรรมร้ายแรงแบบนี้ ไม่ควรหลุดรอดมาได้ การเลือกเฟ้นคนอยู่ในหมู่บ้านคอนโดล่อแหลมมากที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ต้องเข้มงวดให้มาก ไม่ควรให้บุคคลที่มีประวัติแบบนี้เข้ามา ควรเน้นการอบรม ถ้าอบรมตามหลักสูตร ทบทวนการอบรมตลอด หล่อหลอมจิตใจจิตสำนึกให้เป็นรปภ.ที่ดีได้
ขอถามโง่ๆ คิดว่ายังมีรปภ.เป็นโจรแล้วแฝงตัวเป็นรปภ.อีกเยอะมั้ย?
ดร.วัชรพล : ผมคิดว่าน่าจะมี ไม่ใช่ไม่มี ต้องเรียนว่าเรื่องกระบวนการตรวจสอบ บางครั้งบางบริษัทเขาไม่ได้เข้มงวดพอ หรือบางสิ่งอาจไม่ได้มีประวัติอาชญากร หรือไม่ได้ถูกคำพิพากษาให้จำคุก อาจเป็นโทษ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ปรากฏชัด
เมื่อกี้เพิ่งศึกษา ถ้าผมอยากเป็นรปภ. ผมก็ไปสมัครที่บริษัทแห่งนึงเขาก็ฝึกอบรม ออกใบรับรอง แล้วไปขออนุญาตกับนครบาล ถ้าต่างจังหวัดก็ภูธร ตร.จะไปเช็กประวัติว่าคุณเองเคยมีประวัติอาชญากรรมอะไรบ้าง ถ้ามีประวัติอาชญากรรม เกี่ยวกับการข่มขืน กระทำชำเรา ต่อให้ออกมา 3 ปี 5 ปี 10 ปี เป็นไม่ได้ แล้วอยู่ดีๆ มนตรีมายังไง แล้วมีหลุดแบบนี้กี่คน ถ้าตร.บอกว่ามีการหลุดไปบ้าง มันจะหลุดกี่คน?
ไพศาล : ผมถามท่านในฐานะนายกสมาคม ท่านมีมาตรการยังไง คือบริษัทรักษาความปลอดภัยมันก็ต้องปลอดภัย ถ้าใช้คำว่าหละหลวม แล้วคนอยู่เป็นลูกบ้าน หรือคนไปรักษาทรัพย์ให้เขาจะปลอดภัยได้ไง เมื่อคนรักษามันเป็นโจรเสียอีก กฎระเบียบต่างๆ มีการอบรมแบบไหน ได้อบรมเหตุซึ่งหน้าเฉพาะหน้ามั้ย ว่าถ้ามีพฤติการณ์ภยันตรายตามคดีอาญาต้องให้ความร่วมมือกับ ตร.
คุณบอกเป็นอุทาหรณ์ ถ้าเคสนี้รปภ.คนนี้ยังอยู่หน้าห้อง แล้วรู้ว่าตร.กำลังจะมาจับมัน เกิดมันทำลายหลักฐานแล้วฆ่าน้องไปเลย คนที่ขวางอยู่ข้างล่างจะรับผิดชอบอะไรได้บ้าง ไม่ต้องไปออกข่าวหรอกว่าไม่ถือโทษ เดี๋ยวมันจะได้โทษ เพราะขัดขวางด้วย
เขาบอกไม่โกรธที่หมอกตบหน้า?
ไพศาล : ก็ไปหาตังค์ประกันตัวเอา
ตบแรงมั้ย?
หมอก : พอสมควร
ไพศาล : ทางนี้เขาแจ้งแล้วคนทำความผิดคือหัวหน้ารปภ. ก็หัวหน้าเขานั่นแหละ แล้วบอกตรวจค้นยามวิกาลต้องมีหมายค้น มันไม่จำเป็น มีเหตุร้ายก็เข้าได้เลยประเด็นคำว่าตกหล่นหรือหลุดรอดไปได้ จะทำยังไงก่อน เพราะเป็นปัญหาใหญ่ คอนโด หมู่บ้านต้องมีรปภ.ดูแล ถ้าบอกว่ามีเล็ดรอด ตกหล่นไปบ้าง มันก็ลำบาก เหมือนถุงยางแตกแล้วท้อง?
ดร.วัชรพล : เรียนว่าบริษัทรปภ.ก็ส่วนนึงที่ต้องตระหนักการคัดสรรรปภ. แต่สำคัญที่สุด การออกใบอนุญาตต้องนายทะเบียน นายทะเบียนกลาง นายทะเบียนจังหวัด อันนี้สำคัญที่สุด การออกใบอนุญาตต้องตรวจสอบประวัติอาชญากรให้ดีก่อนออกใบอนุญาต ส่วนหนึ่งก็อาจอยู่ในช่วงรอตรวจสอบใบอนุญาตก็อาจจะมีบ้าง แต่การที่ออกมาแล้ว ความชัดเจนเคสนี้ถือว่าเป็นความบกพร่อง ผิดพลาด ต้องมีการทบทวนพอสมควร
ยอมรับว่าผิดพลาด?
ดร.วัชรพล : ยอมรับ ต้องไปไล่เบี้ยกันว่าเกิดจากอะไรกันแน่ ในเคสที่เกิดขึ้น และต้องเรียนว่าจริงๆ แล้วบริษัทรปภ. เขาก็ตระหนัก แต่บางอย่างอาจมีข้อจำกัดส่วนหนึ่ง อีกส่วนก็มีช่องโหว่ ส่วนหนึ่งเขาจ้างรปภ.เองก็มี หมู่บ้าน คอนโด บริษัทห้างร้านที่จ้างเองอาจไม่ได้รับใบอนุญาต
ไพศาล : ใบอนุญาตก็ส่วนนึง แต่ส่วนนึงที่จะร่วมมือพนักงาน คุณเป็นสมาคม ต้องอบรมพนักงานด้วย ให้ความร่วมมือเจ้าหน้าที่รัฐยังไม่ทำกันเลย เหตุมันเกิดแล้วทำยังไง ตรงนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องใบอนุญาต มันเกี่ยวกับเกิดเหตุซึ่งหน้า รปภ.ต้องทำยังไง ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ ไม่ใช่ไปขัดขวาง
ดร.วัชรพล : นี่แหละต้องอบรมทำความเข้าใจในหลักปฏิบัติหน้าที่ของรปภ. ถ้ามีเหตุ ข้อสงสัยหรือมีคนแจ้ง ก็ตรวจสอบ ให้ความร่วมมือ ไม่ว่านิติบุคคล บริษัทรปภ. ต้องตรวจสอบให้ความร่วมมือ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ
อยู่ในสายกับ "สมศักดิ์ เทพสุทิน" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ทราบกรณีรปภ. คนนึงเคยติดคุกมาก่อน ไปล่วงละเมิดทางเพศเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ออกมาปุ๊บได้ใบอนุญาตให้เป็นรปภ. ออกมาจากนครบาล แล้วก่อเหตุซ้ำ แบบนี้จะทำยังไง?
สมศักดิ์ : กรณีแบบนี้ถ้าเราจำได้ มีกรณีที่ฆ่าบนรถไฟ ชื่อนายวันชัย แสงขาว ฆ่าข่มขืน โยนทิ้ง แล้วก็สมคิด พุ่มพวง ไอซ์ หีบเหล็ก พวกนี้เป็นกรณีที่เป็นโรคจิต คนไม่ปกติธรรมดา ถ้าเราปล่อยออกจากคุกโดยไม่มีการติดตาม หรือทำบัญชีอะไรต่างๆ จะเป็นปัญหาสังคม คนส่วนนี้มีไม่เท่าไหร่หรอกครับ 3 ปีมี 100 คน แต่ทำให้คน 70 กว่าล้านคนวิตกกังวล ซึ่งเรื่องนี้เราต้องทำกฎหมายขึ้นมา
ขณะนี้ทำกฎหมายเสนอเข้าไปถึงสภาผู้แทนราษฎรแล้ว โดยขณะนี้คนออกจากคุกแล้วมีใครบ้าง เราตามดู คนกำลังจะออกจากคุก คนที่กำลังจะเข้าคุก ถ้าเราไม่ได้ทำความชัดเจนตรงนี้ให้เกิดขึ้น ก็จะมีกรณีแบบนี้เกิดขึ้น ผมเข้ามาเป็นรัฐมนตรีใหม่ๆ ก็มีเรื่องนายสมคิด พุ่มพวงที่ฆ่าผู้หญิง สังคมก็ออกมาด่าวิพากษ์วิจารณ์กัน ผมก็ต้องทำกฎหมาย แต่กฎหมายบ้านเรามันช้าเหลือเกิน ฉบับนึงสองปี หรือสองปีกว่า สองปีครึ่งกว่าจะจบ
ทำไมถึงช้า?
สมศักดิ์ : ระบบขั้นตอนของการเสนอกฎหมายกว่าจะถึงสภา เรามีการผ่านคณะรัฐมนตรี ต้องเข้าคณะกรรมการกฤษฎีกา และต้องเข้าไปถึงสภาผู้แทน และไปถึงวุฒิสภา ต้องผ่านหลายขั้นตอนกว่าจะผ่านร่าง เป็นที่วิตกกังวลว่าจะไม่ทัน แล้วเรามีเวลาเหลืออยู่ปีเดียวทำตรงนี้ เราต้องทำกฎหมายตรงนี้ให้ได้ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้เรียกว่ามาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ ความผิดเกี่ยวกับเพศ หรือความรุนแรงที่เกิดขึ้น เช่นการฆ่าหมู่ เรียกค่าไถ่แล้วค่าพวกโรคจิต เรื่องนี้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาทำมาในกรอบแนวคิดของสหรัฐอเมริกา หรือประเทศอื่นๆ เรารวบรวมและเสนอแล้ว
ถ้านายมนตรีถูกจับ โทษจะเป็นยังไง?
สมศักดิ์ : เขาเข้าคุกไปแล้ว ต้องไปอยู่ในชั้นเลวหรือเลวมาก ไม่ได้รับการลดหย่อนโทษจนกว่าเขาจะทำตัวดีเป็นนักโทษชั้นเยี่ยม ใช้เวลา 5-6 ปี มีพระราชทานอภัยโทษมาถึงได้เริ่มลด คนพวกนี้จำได้อีกทีก็คือทำผิดซ้ำอีก สังคมจะโกรธเวลาเขากลับมาทำความผิด มันต้องช่วยกันผลักดันอะไรต่างๆ ให้เรียบร้อย
เข้าไปแล้วไม่ได้รับอภัยได้มั้ย?
สมศักดิ์ : อย่างนายวันชัย แสงขาว ที่ฆ่าบนรถไฟก็โทษประหารชีวิต แต่กฎหมายเรื่องสิทธิมนุษยชน เราไม่ได้ประหารใครเป็นเวลานาน แต่มันก็มีให้เห็น ประเทศญี่ปุ่นประหารไป 3 คน ที่มีคดีลักษณะแบบนี้ ฉะนั้นผมก็คิดว่าน่าจะมีการพูดคุยและทบทวนเรื่องการประหารชีวิตกันบ้าง
ไพศาล : ไอ้คนนี้ทำความผิดซ้ำเรื่องเดิม เขาเพิ่มโทษอีกกึ่งนึง
ฝั่งไหนต้องเยียวยาน้องผู้ได้รับความเสียหาย ควรมีอะไรชดใช้ให้เธอหรือเปล่า?
ไพศาล : แน่นอน ปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ บริษัทรปภ. เนี่ย แล้วนิติบุคคลโดนด้วย เพราะเขาพักอาศัยในที่รโหฐาน โดนหมดละเมิด ต้องเยียวยา กระทรวงยุติธรรมคุณก็ต้องลงมาดูนะ เพราะเป็นผู้ได้รับความเสียหาย ต้องได้รับเงินตรงนี้ด้วย
บริษัทรปภ. เขาอ้างว่าเขายื่นขอที่ถูกต้องกับตร.แล้ว นครบาลก็อนุญาตกลับมา เขาบอกว่าเขาไม่มีความผิด?
ไพศาล : คนละเรื่อง คนละประเด็น ประเด็นคือลูกจ้างคุณกระทำความผิดในขณะที่จ้าง ไปละเมิดเขา ไปทำความผิดทางอาญาข่มขืนเขา คุณหนีไม่พ้นความรับผิด คุณไม่ต้องไปเอาเรื่องใบวิชาชีพมาคุย จะอนุญาตอะไรก็ตาม ความผิดที่คุณต้องรับคือเขาเป็นหัวหน้ารปภ. และทำผิดกฎหมายอาญา ในขณะที่คุณเป็นนายจ้าง มันเป็นการละเมิดอยู่แล้ว คุณก็ต้องรับผิดชอบ
ส่วนนิติก็โดนด้วยเพราะจ้างบริษัทมา ตัวรปภ.ที่อ้างว่าไม่ถือสาโดนตบก็เข้าข่ายขัดขวาง อาจมีพฤติกรรมช่วยเหลือให้พ้นการจับกุมด้วย โดนทั้งหมดแหละครับ แล้วฝากเตือนเลยพวกรปภ.ทั้งหลาย สมาคมก็ไปอบรมให้ดี พฤติการณ์ที่เห็นลูกบ้านที่โดนยกเค้าผมได้รับข่าวจากสาย ได้สายจากรปภ. รู้ว่าบ้านไหนมีทรัพย์ ไม่มีทรัพย์ มันมีอาชญากรวิทยาอยู่ คุณรู้หรือเปล่าเรื่องนี้ ไม่ได้กล่าวหาคุณ
จะแก้ไขยังไง?
ดร.วัชรพล : เราต้องช่วยกันตระหนักแล้ว บริษัทรปภ.ก็เหมือนกัน ต้องเฟ้นคนมีคุณภาพเข้ามา ไม่มีประวัติ
จะเฟ้นยังไง?
ดร.วัชรพล : จริงๆ แล้วสมาคมก็ทำได้ระดับนึงในการรณรงค์ขอความร่วมมือ ความเข้มงวดกวดขัน หน่วยงานทะเบียนทุกจังหวัด ซึ่งออกทะเบียนรปภ. ต้องผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากร รวมทั้งต้องผ่านการฝึกการอบรม 40 ชม. 10 วิชา ความเข้มงวดเหล่านี้ต้องทุกครั้ง ต้องให้ได้คนที่มีคุณภาพ มีจิตสำนึกมีความรับผิดชอบต่อสังคม มันก็ไม่ต่างกับ ตร. การเฟ้นคนมาทำงาน ต้องสำนึกต่อสังคมเช่นกัน ต้องเรียนว่ารปภ.มีอยู่ประมาณร่วม 4 แสนคน คนที่กระทำความผิดอาจไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ก็อยากให้เข้าใจอาชีพรปภ.เช่นกัน เขาเป็นด่านหน้า เขาต้องเผชิญปัญหาตลอด มันเล็ดรอดมาส่วนนึง ไม่อยากให้เหมารวมรปภ. หรือบริษัทรปภ.ทั้งหมด ยังต้องให้ไว้ใจอาชีพรปภ.อยู่ รปภ.ที่ดีก็มี
ต้องวอนนครบาล ก่อนออกใบอนุญาตให้ใคร ต้องเช็กให้ได้?
ไพศาล : คุณออกใบอนุญาตก็เช็กให้ดี ไม่ใช่เอาโจรมารักษาความปลอดภัย
น้องสภาพจิตใจเป็นยังไง?หมอก : ดีขึ้นเยอะครับ