ญาติเยาวชน 3 ศพร้องประหารไอ้ต้อย ว่าที่ ร.ต.ธนกฤตลั่นใครขู่ไม่เอาไว้!
รายการโหนกระแสวันที่ 7 ก.ย. 65 ดำเนินรายการโดย "หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย" ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.35 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33 สัมภาษณ์ อาภาภรณ์ อินทรจิต แม่น้องแพร ผู้เสียชีวิต , น้องพราว ภัณฑิลา ชูทอง น้องสาวฝาแฝดของแพร , ลุงเจมส์ จักรพงศ์ อุดมศรี ลุงน้องคิมหันต์ ผู้เสียชีวิต, ว่าที่ร้อยตรีธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดี และประธานกรรมการอาชญาวิทยา ม.รังสิต
เหตุการณ์เกิดอะไรขึ้น?
แม่อาภาภรณ์ : น้องออกไปทำงานกับเพื่อน แล้วกลับมาเอาเสื้อผ้าไปโรงเรียนวันรุ่งขึ้น แล้วก็เกิดเหตุค่ะ
ตอนแรกแพรอยู่บ้านใคร?
พราว : ตอนเย็นออกกันไปที่บ้านน้ำฝน ผู้เสียชีวิต คนไปมีคิมหันต์ แพร หลังจากนั้นช่วงประมาณสี่ทุ่มก็ชวนกันกลับบ้านเพื่อเอาเสื้อผ้าเพื่อออกไปบ้านฝนต่อ เพราะงานที่ทำกันยังไม่เสร็จ มันดึก จะกลับบ้านไปเอาผ้ามานอนค้างที่นั่น รุ่งเช้าจะได้ไปโรงเรียนกันค่ะ
เด็กสามคนทำกิจกรรมกัน แล้วงานยังไม่เสร็จ จำเป็นต้องไปเอาเสื้อผ้าเพื่อมาพักที่บ้านฝน เขามุ่งหน้าไปบ้านแพรก่อน?
พราว : ใช่ค่ะ
พราว : ประมาณ 11 กิโลค่ะ
ซ้อนสามกันมา รถมอเตอร์ไซค์เป็นของใคร?
พราว : เป็นรถของแพรค่ะ คิมหันต์เป็นคนขี่รถให้ค่ะ คนที่สองที่นั่งคือฝน แพรนั่งหลังสุดค่ะ
ลุงเจมส์ : คิมหันต์เขากำลังจะกลับบ้าน ก่อนไปเอาผ้า ความจริงแล้ว แพรกับฝนจะไปกันสองคน คิมหันต์จะกลับบ้าน แต่ขออาสาขับรถไปให้ เพราะห่วงผู้หญิงสองคน ตอนนั้นอยู่บ้านฝนอยู่กัน 5 คน น้องเขาจะกลับบ้าน ตอนนั้นพราวอยู่ด้วย คิมหันต์ไปส่งน้องอีกคนโดยซ้อน 4 กันไป
จากนั้นน้องคนนั้นลงไปก่อน เหลือสามคน?
ลุงเจมส์ : แล้วสามคนจะกลับไปบ้านย่าแพรเพื่อเอาเสื้อ แล้วจะกลับมาเจอกันที่บ้านฝนอีกที
คิมหันต์อาสาขี่ให้ ทั้งที่ตัวเองจะกลับบ้าน หลังจากนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถนนเส้นนั้นเรียกว่าอะไร?
แม่อาภาภรณ์ : เขาพนมทุ่งใหญ่ค่ะ
ระหว่างขี่ไปเกิดเหตุอะไรขึ้น?
แม่อาภาภรณ์ : ก็มีรถสวนกัน ฝั่งคนที่ทำมาจากฝั่งพนม น้องจะกลับบ้านฝั่งทุ่งใหญ่เข้าเขาพนม ก็สวนกันตรงนั้น หลังจากนั้นไม่รู้รายละเอียดเท่าไหร่ แต่ตามที่เห็นในกล้องวงจรปิดเลย ภาพในกล้องวงจรปิดเราไม่เห็น แต่เห็นสภาพน้องแล้ว ทำใจได้ค่ะ
คุณลุงทราบเรื่องได้ยังไง?
ลุงเจมส์ : ทราบตอนตีสาม ตอนนั้นข่าวลงในเฟซ แต่ไม่รู้ชื่อ ไม่รู้รายละเอียด แล้วเพื่อนลูกสาวผมส่งอินบ็อกซ์มาว่าให้มาดู ไม่รู้เป็นคิมหันต์มั้ย พอไปถึงที่เกิดเหตุก็ไม่มั่นใจว่าเป็นเขามั้ย เพราะรถก็ไม่ใช่รถเขา ตร.อยู่ในพื้นที่แล้ว เขาไม่ให้เข้าไป ผมก็รอดูเกือบ 2 ชม. จนเขายกศพก่อนส่งรพ. ก็ได้เห็นน้อง
ตร.ทราบได้ไงว่าเป็นไอ้ต้อย หรือเสี่ยต้อย?
ลุงเจมส์ : ตอนอยู่ในที่เกิดเหตุตร.ก็ถาม แต่ผมไม่ทราบมาก่อน เพราะน้องไม่มีปัญหากับใครเลย น้องเด็กดีมาตลอด เล่นแต่กีฬา อยู่ๆ มาเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ผมไม่มีข้อมูลให้ตร.เลย คิมหันต์เล่นฟุตบอลโรงเรียนและจังหวัด ส่วนน้องผู้หญิงก็เป็นนักกีฬาทั้งนั้น น้ำฝนเป็นนักเปตอง
พราว : ไม่ได้พูดเหมือนมีลางอะไร ก็พูดคุยกันปกติ หยอกล้อกันปกติเลย ไม่มีอะไรเลย ตอนนั้นอยู่กัน 4 คน มีเพื่อนสามคนที่เสียชีวิตก็คุยกันปกติเลย
ตร.สืบทราบมาว่าผู้ก่อเหตุคือไอ้ต้อยหรือเสี่ยต้อย เหตุที่เกิดเพราะไอ้ต้อยขับรถมาถนนเขาพนม มุ่งหน้ามา ส่วนน้องเองขับเข้าเขาพนม ทางเป็นเลนสวนกัน ไอ้ต้อยขับรถเบี่ยงไปเลนน้องแล้วพุ่งชนประสานงา รถกระเด็นตกข้างทาง เขาหยุดรถแล้วก่อเหตุยิง ตร.เขาเห็นภาพจากกล้องวงจรปิด เห็นรถบีเอ็มคันนี้ขับไปด้วยความเร็ว เขารู้เลยว่าเป็นรถของใคร เขาไปจับไอ้ต้อยที่ร้านขายยางซ่อมแม็กซ์ ไปถึงตร.เรียกไอ้ต้อยให้ออกมา แต่ไอ้ต้อยไม่ออก ใช้เวลานานมาก สุดท้ายพ่อแม่ต้อยมา ไอ้ต้อยแง้มประตูออกมา ในมือกำอาวุธปืน 1 กระบอก หลังจากนั้นกึ่งเดินหนี และกล้าปะทะกันตร. แต่ไอ้ต้อยน่าจะเห็นพ่อตัวเองยืนอยู่ข้างตร. เลยหยุดชะงัก ก็เลยยอมทิ้งปืนมอบตัว ตร.สอบถามว่าเกิดอะไรขึ้น ไอ้ต้อยบอกว่ากินยาบ้าไป 2 เม็ด แล้วรู้สึกหลอน เหมือนมีคนจะตามฆ่า พอเห็นรถมอเตอร์ไซค์มาก็พุ่งชนไว้ก่อน เพราะคิดว่าคนกลุ่มนี้จะฆ่าเขา แล้วก็ลงมาก่อเหตุยิง นี่คือความสูญเสียของครอบครัวเขาสามคน ขอถามอาจารย์ในฐานะประธานกรรมการอาชญาวิทยา พฤติกรรมไอ้ต้อยจะอ้างได้มั้ยว่ามีพฤติกรรมทางจิต?
ดร.กฤษณพงค์ : จริง ๆ แล้วปกติคนร้ายเวลาก่อเหตุจะมีเหตุผลกล่าวอ้างแตกต่างกัน คนนี้ถ้าจะกล่าวอ้างว่ามีอาการทางจิตหรือหลอนเพราะเสพยา โดยเฉพาะการเสพยา ไม่มีใครบังคับให้เสพ หรือถูกหลอกให้เสพ เจตนาเสพด้วยตัวเอง ฉะนั้นจะเป็นข้อกล่าวอ้างให้พ้นผิดตามกฎหมายไม่ได้
ดูทรงพฤติกรรมไอ้ต้อย น่าจะเป็นแบบนี้มานานแล้ว?
ดร.กฤษณพงค์ : ดูจากพฤติกรรมที่ก่อเหตุ จากที่ติดตามข่าว เขาก็เคยก่อเหตุลักษณะเดียวกันมาก่อน สุดท้ายศาลฎีกายกฟ้อง ตามข่าว ก็สะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมที่กระทำต่อเนื่องซ้ำ ๆ ยังไม่ได้รับการแก้ไขฟื้นฟู ยังไม่เลิก สุดท้ายก็มาก่อเหตุในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก ก็ต้องขอชื่นชมตร. ที่ใช้เทคนิคนำครอบครัวผู้ถูกกล่าวหามาเจรจาจนไม่เกิดการสูญเสีย เท่าที่ติดตามข่าวคดีนี้สะเทือนขวัญ ตกใจเหมือนกัน เพราะน้อง ๆ เป็นเยาวชนที่เสียชีวิต เราก็ต้องกลับมาทบทวนมาตรการของรัฐในเชิงเฝ้าระวัง ป้องกัน โดยเฉพาะเรื่องยาเสพติด ผมได้รับการร้องขอจากกระทรวงยุติธรรมให้วิเคราะห์อาชญากรรมเป็นเวลา 5 ปีต่อเนื่อง ยาเสพติดเป็นปัญหาอันดับหนึ่งของประเทศไทย
ดร.กฤษณพงค์ : สังคมสงบสุขได้ เราไม่ควรเลิกทำเฉพาะคดีใหญ่ๆ แต่เขาบอกว่าต้องทำตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ ทุกเรื่อง เขามีหลักวิชาการอยู่ เพื่อที่คนก่อเหตุเล็ก ๆ จะได้ไม่ก่อเหตุในระดับที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น
มันเคยก่อเหตุยิงบ้านตัวเอง พ่นสีประกาศขาย บอกว่ามีปัญหาภายในครอบครัว มันหลอนและคิดว่าภายในครอบครัวมีปัญหา เป็นบุคคลอันตรายมาก?
ดร.กฤษณพงค์ : ต้องยอมรับว่าเป็นบุคคลที่ใช้ความรุนแรงมากครับ
เห็นว่าไอ้ต้อยเคยก่อเหตุมาก่อน?
ลุงเจมส์ : เคยมีคดีฆ่าผู้หญิง 2-3 ปี แต่ไม่แน่ใจว่าผู้หญิงท้องด้วยหรือเปล่าในตอนนั้น ทางศาลชั้นต้นเป็นโทษประหาร อุทธรณ์ตลอดชีวิต และยกในชั้นฎีกา
หลังจากนั้นผ่านไป 2 ปี เมายาอีก เสพยาตลอด และมาก่อเหตุ หลังมีการจับตัวไอ้ต้อยไป เขาพูดวกไปวนมา ตอนแรกบอกว่าเขากินยาบ้าไป 2 เม็ด แล้วหลอน อีกทีบอกว่ากินไป 10 เม็ด นอนไม่หลับ หลอน เขาบอกว่าเขาขอโทษ?
แม่อาภาภรณ์ : พูดแค่นั้นไม่ได้หรอกค่ะ ต้องชดใช้มากกว่านั้น
ลุงเจมส์ : มันน้อยไปครับ อีกอย่างอยากให้โทษประหารไปเลย
แม่อาภาภรณ์ : เห็นเขาตั้งแต่เด็กๆ (ร้องไห้) เขาเป็นเพื่อนรักกัน อยากให้จัดการให้ถึงที่สุด (ร้องไห้)
วันนี้ที่แม่น้องแพรและลุงคิมหันต์มาวันนี้ เพราะเขาอยากเจอกระทรวงยุติธรรม อยากเรียกร้องให้เรื่องนี้ถึงที่สุด เพราะไอ้นี่หนักมาก ดูภาพที่เมาแล้วอาละวาดในคุก นี่คือพฤติกรรมของมัน ทั้งที่ถูกจับไปแล้ว ยังก่อเหตุแบบนี้ ที่สำคัญคดีฆ่าที่คุณลุงเล่าให้ฟัง มันเป็นผู้จ้างวานฆ่า ไม่ได้ยิงเอง แต่มือปืนซัดทอดว่าไอ้ต้อยเป็นคนจ้างวาน มันสู้คดีจนหลุดออกมาได้ เห็นว่าหมดเงินไปเยอะในการสู้คดี?
แม่อาภาภรณ์ : ที่รู้ๆ มันชอบขี่รถไปชนคน หลายคนแล้ว ล่าสุดก็ญาติน้องนี่แหละ เป็นพ่อตาของญาติน้องนี่แหละ ตอนแรกบอกจะให้ค่าเยียวยา 6 หมื่น แต่ตอนหลังก็ไม่ถึง
แบบนี้ ชีวิตอยู่ยังไง?
ดร.กฤษณพงค์ : เรามองย้อนกลับไปที่ชีวิตคนๆ คน ตั้งแต่คลอด เติบโตผ่านการเลี้ยงดู ขัดเกลาทางสังคม ระบบการเลี้ยงดูในครอบครัว ระบบการศึกษา จะทำให้คนๆ นึงเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ แต่กรณีผู้ต้องหาที่ก่อเหตุ เชื่อว่าเขาเริ่มทำสิ่งไม่ถูกต้อง และพฤติกรรมไม่ได้รับการแก้ไข ฟื้นฟู จนกระทั่งเขาละเมิดกฎหมายมากขึ้น ระดับความแรงมากขึ้น พฤติกรรมเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการฟื้นฟู หรือได้รับโทษ ก็จะทำให้เขาย่ามใจก่อเหตุรุนแรงเพิ่มขึ้น จนมาก่อเหตุนี้อีกครั้งนึง
ลุงเจมส์ : ตอนนี้เด็กแถวบ้าน สองสามทุ่มไม่กล้าออกจากบ้าน เพราะยาบ้าเกลื่อนหมดแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่เขาพนม กระบี่นี่แหละ เยอะมาก เกิน 3 ทุ่มไม่กล้าให้ลูกสาว หลานสาวออกจากบ้าน แม้แต่ไปเซเว่นข้าง ๆ บ้านก็ไม่กล้าให้ไป ผู้ใหญ่ก็ไม่กล้าออกเหมือนกัน คนเมายาเยอะมากครับ
กลัวมั้ยลูก เราก็เป็นเยาวชน?
พราว : กลัวเหมือนกันค่ะ
ลุงเจมส์ : ผมไมเข้าใจตรงที่ ลูกหลานครอบครัวของเขาที่ติดยาเสพติด รู้ว่ากฎหมายจะจับกุมสักทีต้องมีหลักฐาน แต่อาการหลอนยาแบบนี้ จับไม่ได้ แต่พ่อแม่ครอบครัวเขาก็ปล่อยให้อยู่สภาพนี้ ทำไมไม่รักษา
เขามีเส้นสายมั้ย ทำไมกร่างขนาดนี้?
ลุงเจมส์ : ผมก็ไม่ทราบ แต่รู้ว่าเขามีฐานะ
แม่อาภาภรณ์ : ไม่รู้รายละเอียด รู้แค่ตอนหลานบอกว่าเคยชนพ่อตาเขาล้ม หาหมอ แล้วเขาจะจ่ายค่าเยียวยาให้ ตอนแรกบอกจะจ่าย 6 หมื่น แต่ตอนหลังจ่ายไม่ถึง รู้แค่นั้นค่ะ
ดร.กฤษณพงค์ : ถ้าคนที่ใช้สารเสพติดในช่วงแรก มีการแก้ไขและฟื้นฟู พบว่าจะแก้ไขได้ดีกว่าคนติดสารเสพติดในระยะเวลาที่ยาวนาว ประกอบกับมีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรงเพิ่มเข้าไป ดื่มแอลกอฮอล์ สารเสพติดประเภทอื่นอีก ยิ่งส่งผลต่อพฤติกรรมที่จะก้าวร้าวรุนแรงมากยิ่งขึ้น
มีการถอดบทเรียนเรื่องนี้มาแล้ว?
ดร.กฤษณพงค์ : มีข้อมูลรองรับครับ ผมเคยไปเก็บข้อมูลในเรือนจำทำวิจัย สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ แม้กระทั่งผู้ต้องขังเรื่องยาเสพติด คดีฆ่า เจ้าหน้าที่ก็หนักใจ เพราะการแก้ไขฟื้นฟูทำได้ยาก ก็ถามกลับมาว่าทำไมข้างนอกมาโยนให้ราชทัณฑ์ ทำไมไม่มองตั้งแต่เขาเกิดออกมา ข้างนอกทำอะไรกันอยู่ ถึงทำให้คนเหล่านี้มาอยู่ในเรือนจำ
คิดว่าส่งมาบำบัดในเรือนจำแล้วจะเลิก แต่ก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นทุกคน?
ดร.กฤษณพงค์ : ที่สำคัญคือสัดส่วนกรมราชทัณฑ์กับผู้ต้องขังก็มีสัดส่วนน้อยนะครับ เทียบกับมาตรฐานสากล ก็เห็นใจเจ้าหน้าที่ ถึงแม้ราชทัณฑ์จะคิดมาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง แต่แต่ละคนก็เปรียบเสมือนผ้า บางคนเปื้อนน้ำหมึก เปื้อนยาง จากผ้าขาวเป็นผ้าดำไปแล้ว คิดว่าจะโยนใส่เครื่องซักผ้าเครื่องนึง โยนลงไปแล้วจะออกมาเป็นสีขาวก็ยากแล้วครับ ทำไมช่วงแรกที่เขาเปื้อนน้ำหมึก เปื้อนโคลนทำไมไม่รีบซัก พอวันนึงซักไม่ได้แล้วก็บอกว่าเครื่องซักผ้าอย่างกรมราชทัณฑ์เป็นเครื่องวิเศษ โยนไปแล้วออกมาต้องเป็นผ้าขาว อันนี้เปรียบเทียบให้ดูง่าย ๆ ครับ
ตอนนี้สังคมส่วนนึงอยากทราบเรื่องการประหาร?
ธนกฤต : กฎหมายประหารชีวิตยังมีอยู่ แต่ขั้นตอนกระบวนการเป็นคำสั่งพิพากษาเป็นเรื่องไม่ก้าวล่วง เพราะเป็นอำนาจของศาล แต่ส่วนตัวผมถ้ามีความชัดแจ้งเรื่องการกระทำความผิดแบบนี้ อยากให้ใช้กฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการประหารชีวิต คดีข่มขืนเด็ก ฆ่าต่อเนื่อง ก็อยากให้ประหารชีวิตเลย จะได้เป็นตัวอย่างที่ชัดว่าเรามีกฎหมายและใช้แบบเข้มข้นจริงๆ แต่สิ่งที่ประชาชน พี่น้องสนใจเรื่องแบบนี้ เดี๋ยวจะไปเรียนท่านรัฐมนตรีและกรมราชทัณฑ์ และคนที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องนี้กลับมาทบทวนสิทธิมนุษยชนด้วย ต้องกลับมาทบทวน เวลาประหารชีวิตคนก็จะมีสองด้านเสมอ บางคนเห็นด้วย บางคนไม่เห็นด้วย คิดว่าเรื่องนี้ต้องทบทวน
โทษประหารยังมีอยู่ แต่ไม่มีการประหารจริง ๆ สุดท้ายก็ลดโทษ จำคุก อภัย ออก?
ธนกฤต : ตรงนี้แหละที่ต้องทบทวน ประหารก็ต้องประหารจริง ๆ ถ้ามันชัดแจ้งอย่างนี้ ยิงกันอย่างนี้ หรือไปข่มขืนแล้วฆ่า มันควรเอาไว้มั้ย ผมว่าสังคมไม่มีใครอยากให้เอาไว้
ธนกฤต : ก็นี่ไง เหรียญมีสองด้าน ในที่สุดสิ่งที่แก้ไม่ได้ มันอยู่ในจิตสำนึกของเขา ถ้ามันเปลี่ยนไม่ได้ ก็เหมือนลงเครื่องปั่น ปั่นทิ้งไปเลย หรือลงชักโครกกดทิ้งไปเลย
แม่อยากบอกอะไร?
แม่อาภาภรณ์ : ขอให้ช่วยดำเนินการให้ถึงที่สุด เอาให้ตาย ประหารได้ยิ่งดี มันทำรุนแรงมากกับลูก ๆ ทั้งสามคน
ในฐานะน้องสาวของพี่สาวฝาแฝด อยากให้เป็นยังไง?
พราว : อยากให้ประหารเหมือนกันค่ะ เพราะตอนทำ ทำไมไม่คิด จะเอายามาอ้างไม่ได้ แล้วอยากให้ตร.ช่วยได้แล้วเรื่องยาเสพติด(ร้องไห้) มันมีเยอะมากในกระบี่ มีข่าวติดต่อกันทุกวันว่าฆ่ากันเพราะยาเสพติด
ลุงอยากฝากอะไร?
ลุงเจมส์ : อยากให้ประหาร มันไม่ไหว น้องสาวผมฝากหลานไว้ แม่ของคิมหันต์เพิ่งเสียเมื่อปลายปีที่แล้ว ผมต้องมาเสียเพราะคนหลอนยา คลั่งยา ไม่ไหวครับ
ธนกฤต : ฝากบอกที่คิดมาข่มขู่กับคนในครอบครัว บอกเลยว่าระวัง ผมไม่เอาไว้ ฝากไว้แค่นี้
VV
V