นักวิชาการวิเคราะห์ พท.ปล่อยมือก.ก.หรือไม่ หลังศาลสั่งพิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่
ดร.ปริญญา : คนที่ขวางคุณพิธา พรรคอันดับหนึ่ง (หัวเราะ) คิดว่าตรงนี้ประเด็นที่ต้องดูกันต่อไปมีสองเรื่อง ถ้าเอาเฉพาะหน้าเลยคือเรื่องคุณพิธา ถ้าเปรียบเทียบ คำถามคือคุณพิธาต้องเดินออกเลยมั้ย อย่างที่คุณหมวยเล่าในรายการเที่ยงวันทันเหตุการณ์ เทียบเคียงเมื่อ 4 ปีที่แล้วตอนคุณธนาธร ศาลสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่วันที่ 23 พ.ค. 62 วันที่ 25 มีประชุมสภา คุณธนาธรก็เข้าประชุมสภา แม้ศาลมีคำสั่งแล้ว แต่หนังสือเป็นทางการยังมาไม่ถึงประธานรัฐสภา ประธานรัฐสภาก็สั่งให้เลขาฯ สภาอ่านคำสั่ง คุณธนาธรก็ได้กล่าวเหมือนอำลา ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญแล้วเดินออก คงจำได้ภาพที่มีการโค้งเดินออก ง่ายๆ คือแนวทางปฏิบัติต้องรอความเป็นทางการตามที่ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งมายังประธาน
จะบอกว่าต้องรอหนังสือจากศาล?
ดร.ปริญญา : โดยหลักต้องรอหนังสือ แต่ถ้าศาลรัฐธรรมนูญท่านจะมีวิธีการอื่น ทางที่เร็วขึ้นก็สุดแล้วแต่ แต่ยังไงก็ต้องรอฟังประธาน ถ้าประธานยังไม่มีคำสั่งให้ออก แต่มีคนหนึ่งคนใดยกมือให้ออก ก็ดูจะร้อนรน กระตือรือร้นเกินไป สองวันนี้ก็เทียบเคียงกับคุณธนาธร
คุณพิธาก็อยู่ในสภา บังเอิญว่าศาลรัฐธรรมนูญก็มีการเห็นชอบพิจารณาให้คุณพิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่ ฉะนั้นอีกขั้วมองว่าในเมื่อศาลสั่งแล้วคุณพิธาจะอยู่ในสภานี้ไม่ได้ เพราะศาลสั่งให้หยุดการเป็นส.สงแล้ว ฉะนั้นต้องออก แต่หลักความเป็นจริง อาจารย์บอกว่าไม่ได้ซะทีเดียวแบบนั้น?
ดร.ปริญญา : ต้องสั่งมาที่ประธานรัฐสภา แล้วประธานสภาต้องสั่งอีกทีนึง ผมก็เรียนว่าต้องรอฟังท่านประธาน ต้องดูว่าศาลรัฐธรรมนูญท่านมีวิธีการสั่งในแบบอื่นมั้ย นอกจากหนังสือ อยู่ที่ประธานสภา สองอยู่ที่คุณพิธาจะอย่างไร
ฝั่งสว.กิตติศักดิ์ลุกขึ้นมา หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาแล้วอ่านเลยว่ามีข่าวออกมาแล้วว่าศาลสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ แล้วคุณวิโรจน์ลุกขึ้นมาประท้วง มองยังไง?
ดร.ยุทธพร : ตกลงวันนี้จะญัตติหรือยุติ (หัวเราะ) เมื่อเช้าเถียงกันเรื่องญัตติสุดท้ายนำไปสู่การยุติ สั่งคุณพิธาปฏิบัติหน้าที่ นอกจากนี้ในที่ประชุมก็พยายามยุติการเสนอชื่อคุณพิธาด้วย แต่ก็เป็นข้อถกเถียงกันตั้งแต่เช้า ก็ไม่เหนือความคาดหมาย หลายฝ่ายก็มองแบบนั้น แต่ว่าตอนนี้มันกลายเป็นเกมทางการเมืองเรื่องข้อบังคับ และเกมการเมืองเรื่องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ พอคุณพิธาออกจากห้องประชุมจะเป็นเกมการเมืองอีกแบบ พรรคก้าวไกลจะเดินไปแบบไม่มีหัว แม้ชื่อคุณพิธาเสนอแคนดิเดตนายกฯ ได้ แต่คุณพิธาจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ส.ส. ซึ่งจะทำให้พรรคก้าวไกลไม่ได้นั่งอยู่ในห้องประชุมด้วย ถ้าคำสั่งศาลมาถึง เมื่อเกมมาถึงก้าวไกลไม่มีหัว เขาก็ต้องปรับยุทธศาสตร์ใหม่ และคงเป็นเรื่องยาก เมื่อเช้าแม้กระทั่งถกเถียงเสนอชื่อนายกฯ เป็นญัตติหรือไม่ ก็เป็นเกมทำให้ 8 พรรคร่วมของก้าวไกลเกิดความขัดแย้งอยู่พอสมควร จากนี้ถ้าก้าวไกลขาดหัวนั่งอยู่ในสภา มันจะเกิดอาการผึ้งแตกรัง เหมือนสมัยพรรคอนาคตใหม่ อันนี้ต้องจับตา เหมือนที่เคยคุยกับอ.ปริญญา ตั้งแต่ 15 พ.ค. ว่าการเมืองไม่ใช่เส้นตรง มันพลิกไปพลิกมาได้ตลอด หลังจากนี้ต้องดูกันต่อ สุดท้ายแล้วถ้าก้าวไกลไม่ได้เป็นรัฐบาล อะไรจะเกิดขึ้นในสภาและนอกสภา เพื่อไทยจะปรับสมการได้มั้ย จะขึ้นมาเป็นแกนนำกับก้าวไกลมั้ย หรือจะข้ามขั้วไปเลย ตรงนี้คือโจทย์ใหญ่ที่รออยู่ข้างหน้า
ดร.ปริญญา : เทียบเคียงคดีคุณธนาธรปี 62 ศาลสั่ง 23 พ.ค. หยุดปฏิบัติหน้าที่ 25 พ.ค. ประธานสภาก็ให้เลขาอ่านคำสั่ง คุณธนาธรก็เดินออก แล้ววันที่ 25 ก็มีการโหวตแข่งกันอยู่โหวตคุณประยุทธ์ ผมมองว่ากระบวนการยังไม่ได้ผิดไปกว่าที่คาดหมาย เป็นเรื่องที่คาดหมายกันแล้วว่าจะเกิดแบบนี้ได้ ผมตั้งข้อสังเกตว่าทำไมถึงเอาเรื่องญัตติขึ้นมาพิจารณา ว่าญัตติที่ตกไปแล้วเสนอไม่ได้ ทั้งที่นักศึกษานิติศาสตร์ ปี 2 ขึ้นไปก็รู้ว่าญัตติอยู่ในข้อบังคับซึ่งระดับกฎหมายมันต่ำกว่า แม้กระทั่งพรบ. การเสนอชื่อนายกฯ เป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด มาตรา 5 ก็ชัดเจน รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดแห่งกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับใดจะขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ จะยกเอาญัตติมาใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ แต่ผมตั้งข้อสังเกตว่าเพื่อรอศาลรัฐธรรมนูญ ไม่งั้นก็คงโหวตไปตั้งแต่เช้าแล้ว
ผมตั้งคำถามว่าทำไมสว.ท่านถึงรู้สึกว่าโหวตไม่ได้ เพราะขนาดพรรคก้าวไกลเองเขายังประเมินว่าได้เพิ่มขึ้นมาไม่มาก ยังไงก็ไม่ถึง แค่ลุ้นว่าถ้าถึง 360 จะมีรอบสาม แต่ถ้าต่ำกว่านั้นก็แล้วแต่เพื่อไทย จะปล่อยมือให้เพื่อไทยให้มาเป็นแทน คุณพิธาก็ประกาศว่าเขาพร้อมแล้วถ้าไม่ได้ คำถามคือสว.ทำไมถึงจะไม่ยอมให้โหวตให้ได้ แล้วเอาเรื่องญัตติซึ่งเป็นข้อบังคับสภาต่ำกว่าพรบ. แต่เอามาใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าท่านคงถูกกดดันมาก ถ้างดออกเสียงอีกครั้งคงถูกกดดันเยอะ ดังนั้นเลยไม่มีครั้งที่สองซะเลย พร้อมกับการรอคำสั่งจากศาลรัฐธรรมนูญ
ดร.ยุทธพร : ผมคิดว่าตรงนี้ฝ่ายที่ไม่สนับสนุนคุณพิธาเขาตั้งใจอยู่แล้ว เพราะวันนี้เกมไม่ใช่เรื่องญัตติหรอก เกมจริงๆ คือยุติ ทำยังไงไม่ให้ชื่อคุณพิธาถูกเสนอ และอาจมีประเด็นปัจจัยแวดล้อมเช่นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเข้ามา ทั้งที่จริงๆ แล้วการเสนอชื่อนายกฯ ไม่ได้เป็นเรื่องญัตติอยู่แล้ว เป็นการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 และ 159 พูดง่ายๆ คือรัฐธรรมนูญสั่งให้ทำด้วย สภามีหน้าที่ต้องทำด้วย แต่ก็มีความพยายามทำให้รัฐสภาบิดเบี้ยว
อาจารย์มองว่าคุณพิธาจะเดินออกมั้ย?
ดร.ปริญญา : ผมว่าวันนี้เขาทราบอยู่แล้วว่ายังไงเสียงเขาก็ไม่ถึง เขาแค่ลุ้นว่าอาจไปถึง 350 ขึ้นไปเพื่อลุ้นรอบสาม สิ่งไม่ถึงเขาคาดหมายอยู่แล้ว แม้กระทั่งศาลสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่เขาก็คาดหมายอยู่แล้วว่าจะเกิดขึ้นได้ ถ้าพูดตรงๆ ในทางการเมืองจะกลายเป็นประโยชน์กับพรรคก้าวไกล คะแนนสงสารจะมาทันที ตอนนี้ถ้าเพื่อไทยต้องการให้พรรคก้าวไกลเป็นฝ่ายค้าน ยิ่งไม่ได้นะ พรรคเพื่อไทยบอกว่าเราต้องตั้งรัฐบาลใหม่โดยเอาพรรคอื่นมา ที่ไม่ใช่ก้าวไกล พรรคเพื่อไทยยิ่งทำไม่ได้ ยังไงก็ต้องอยู่กับก้าวไกล ผมมองว่าเรื่องนี้ระยะต่อไปถ้าพูดถึงอนาคตคุณพิธา ต้องดูว่าศาลท่านจะมีคำวินิจฉัยอย่างไร ผมเปรียบเทียบนะ ไม่ได้แปลว่าศาลท่านรับคำร้อง ให้คุณพิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่ แล้วจะมีคำวินิจฉัยเห็นชอบกับกกต.เสมอไป ยกตัวอย่างกรณีนายกฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ศาลก็รับคำร้องและสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ศาลก็ยกคำร้องเมื่อวินิจฉัยเสร็จ เรื่องนี้ยังลุ้นกันต่อ บรรทัดฐานมีในเรื่องเดียวกันว่าบริษัทที่ถือหุ้นอยู่มีวัตถุประสงค์ทำสื่อมวลชนแต่ไม่ได้มีการประกอบการจริง รายได้จากสื่อมวลชนก็ไม่มี อย่างนี้ท่านยกคำร้องหมด ต้องไปลุ้นต่อ
ณ วันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณพิธา หลังจากมีคำสั่งออกมาเรียบร้อยแล้ว ต่อไปอนาคตคุณพิธาจะเป็นยังไง?
ดร.ยุทธพร : คุณพิธาเมื่อออกจากห้องประชุม ต้องจับตาดูว่าก้าวไกลไม่มีหัวจะไปอย่างไร เพราะแน่นอนคำวินิจฉัยคงไม่ออกมาในเร็ววัน การเลือกนายกฯ หลังจากนี้ต้องรอดูว่าจะเหมือนผึ้งแตกรังเหมือนสมัยอนาคตใหม่มั้ย 8 พรรคจะยังจับมือกันมั้ย หรือจะมีการปรับสมการอะไร แม้ชื่อคุณพิธายังเสนอได้ในฐานะแคนดิเดตนายกฯ แต่วันนี้ไม่มั่นใจว่าจะได้เสนอมั้ย เพราะถ้าวันนี้สภาลงมติว่าการเสนอนายกฯ เป็นญัตติ เสนอซ้ำไม่ได้ อันนี้ก็ไม่สามารถเสนอชื่อคุณพิธาได้ แต่ถึงเสนอเสียงก็ไม่ถึง อาจมีโอกาสที่เราได้เห็นการปรับสมการ ณ วันนี้เรื่องรัฐบาลที่ก้าวไกลเป็นแกนนำ คุณพิธาเป็นนายกฯ ต้องเรียนอย่างตรงไปตรงมาว่าอาจจะยากแล้ว ไปเอานายกฯ ข้ามขั้วมาก็ยากเหมือนกัน มันก็เป็นไปได้สามอย่าง หนึ่งเพื่อไทยข้ามขั้วไปจับกับพรรคที่อยู่อีกขั้วอุดมการณ์นึง แต่ไม่ครบทุกพรรค เช่น เพื่อไทย 141 ภูมิใจไทย 71 พลังประชารัฐ 40 ประชาธิปัตย์ 25 ชาติไทยพัฒนา 10 ประชาชาติ 9 อันนี้ 6 พรรครวมได้ 296 แต่ถ้าเติมเข้ามาอีก 3 พรรค เช่นไทยสร้างไทย 6 ที่นั่ง เพื่อไทยรวมพลัง 2 ที่นั่ง เสรีรวมไทย 1 ที่นั่ง จะเป็น 9 พรรค กับ 305 ที่นั่ง ปัญหาคือปัญหาสองลุง ลุงนึงไปแล้ว เหลือลุงประวิตร สองความชอบธรรมถ้าก้าวไกลเป็นฝ่ายค้าน ม็อบจะมามั้ย ถ้ามีการรวมเอา 3 พรรคเล็กเข้าไป การบริหารจัดการทางการเมืองก็จะยากยิ่งขึ้น
ดร.ยุทธพร : ก็ยังยาก ดึงยังไงก็ไม่ถึง 376 แล้ววันนี้เงื่อนไขสว.บางส่วนเขาบอกว่าไม่เอาก้าวไกล ตอนนี้ถเ 8 พรรคเดิมจะสนับสนุนก้าวไกลก็ดี เพื่อไทยก็ดี ยังเป็นงานที่ยาก เพราะต้องอาศัยส.ว. หรือส.ส. อีก 64 เสียง แล้วคะแนนการโหวตในวันที่ 13 ก.ค. มันบอกอะไรเรา คะแนนวันนั้นบอกเราคือสว.ส่วนใหญ่งดออกเสียง แต่ส.ส. ถ้าดูฝั่งไม่สนับสนุนคุณพิธา เขาลงไม่เห็นชอบเลยนะในวันนั้น จะมีเพียงแค่ 2 พรรค คือประชาธิปัตย์และชาติไทยพัฒนาที่งดออกเสียงเท่านั้น ฉะนั้นโครงสร้างคะแนนเมื่อวันที่ 13 มันบอกให้เราเห็นว่าโอกาสที่ 8 พรรคจะเดินต่อยาก ต้องมีการปรับสมการ แล้วยังมีเพื่อไทยข้ามขั้วแบบที่ 2 อีกนะ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูง คือเพื่อไทย 141 ภูมิใจไทย 71 ประชาธิปัตย์ 25 ชาติไทยพัฒนา 10 ประชาชาติ 9 ไทยสร้างไทย 6 เพื่อไทยรวมพลัง 2 เสรีรวมไทย 1 เป็น 265 อันนี้ไม่มีพลังประชารัฐ ไม่ต้องติดปัญหาเรื่องสองลุงด้วย ในเพื่อไทยแบบที่สองโอกาสเป็นไปได้ก็ง่ายขึ้น แต่ก็มีปัญหาว่าจะบริหารจัดการยาก เพราะมีพรรคเล็กอยู่พอสมควร อีกอย่างเสียงเกินกึ่งนึงไม่มาก และยังต้องอาศัยสว.อีก 111 ซึ่งเป็นงานหนักเหมือนกันในการไปถึง 376 และต้องถามความชอบธรรมของพรรคก้าวไกลด้วยถ้าให้เขาไปเป็นฝ่ายค้าน ม็อบจะมา จะทำยังไง
แบบที่สามล่ะ?
ดร.ยุทธพร : เพื่อไทย 8 พรรคเดิม แต่จุดใหญ่คือสว.บางส่วนไม่เอาก้าวไกล เราย้อนไปดูคะแนนวันที่ 13 จะเห็นเลยว่าส.ส.ฝั่งไม่สนับสนุนก็ลงอย่างชัดเจนว่าไม่เห็นชอบ
ถ้า 8 พรรค แล้วไม่รู้ไปดีลอีท่าไหน มีงูเห่าโผล่มาใน 8 พรรค?
ดร.ยุทธพร : ผมว่ายากที่จะมีงูเห่ามา เพราะตอนนี้ยังต้องการอีก 64 เสียง จะส.ส. หรือส.ว. มาเติมให้ถึง 376 ถือว่ายากมาก ลองบวกดูสิ ฝั่งงดออกเสียง มีแค่ประชาธิปัตย์และชาติไทยพัฒนา แค่ 35 ซึ่งไม่พอ
นโยบายพรรคขั้วเดิมก็ไม่เอาก้าวไกล ถ้ามีพรรคแก้ 112 เขาไม่เอา แล้วจะมีทางไหนที่เพื่อไทยกับก้าวไกลจับมือกัน โดยเพื่อไทยเป็นรัฐบาล แล้วมีโอกาสไปด้วยกันได้?
ดร.ปริญญา : ประเด็นคือจะจับมือต่อหรือเปล่า ผมคิดว่าระยะสั้นวันนี้ต้องรอดูว่าจะมีการโหวตรอบสองหรือเปล่า ผมว่าอยู่ที่ก้าวไกลและเพื่อไทยเขาคุยกันว่าจะเดินหน้าหรือเปล่า วันนี้คุณพิธาไม่ได้เป็นนายกฯ เพราะเสียงไม่ถึงอยู่แล้ว ไม่ได้เกินความคาดหมาย อยู่ที่จะยอมให้มีโหวตรอบสองมั้ย ซึ่งมีโหวตก็ไม่ถึงอยู่ดี พอปล่อยมือเพื่อไทยให้เป็นแกนนำบ้าง เพื่อไทยจะปล่อยมือก้าวไกลเลยมั้ย ผมคิดว่าที่อ.ยุทธพรพูดเป็นไปได้หมดเลย แต่ก่อนถึงอ.ยุทธพร มีอันนึงเข้ามาก่อน ในแง่เพื่อไทยถ้ารีบปล่อยมือก้าวไกลเขาก็เสียแน่นอน ยิ่งตอนนี้มันเหมือนทั้งหมดเพื่อไทยก็เห็นด้วยหรือเปล่า ถ้าดูท่าทีคุณพิธาก่อนหน้านี้ เมื่อต้นสัปดาห์ คุณพิธาแถลงว่าถ้าเสียงไม่ถึงจะถอยให้ก้าวไกล แปลว่าก้าวไกลพร้อมสนับสนุนเพื่อไทย ดังนั้นถ้าก้าวไกลไม่ได้อยู่ด้วย แสดงว่าเพื่อไทยเขี่ยเขาออกไปเอง ซึ่งเพื่อไทยไม่น่าทำอย่างนั้น โอกาสการเติมเสียง มีส.ว.อยู่แล้ว 13 คน เขาโหวตให้หลักการเสียงข้างมากของสภาผู้แทน ก็แสดงว่าต่อให้เป็นคุณเศรษฐามันก็ไม่น้อยลง ก็แสดงว่าขาด 51 แล้วเพื่อไทยมีศักยภาพทำได้มั้ย ถ้าเพื่อไทยจะทำก็ทำได้ เอาง่ายๆ ถ้าเพื่อไทยกับก้าวไกลเกาะกันอยู่ มันคือ 292 เสียง อีกข้างก็ตั้งไม่ได้ ถ้าเพื่อไทยไม่หวั่นไหว แต่แน่นอนต้องมีการเจรจา ถ้าเพื่อไทยยอมปล่อยเขาจะเสีย ยิ่งตอนนี้ในทางการเมือง ผลเท่ากับศาลรัฐธรรมนูญช่วยให้เพื่อไทยปล่อยมือก้าวไกลไม่ได้ เพราะคะแนนสงสารมาที่ก้าวไกล เขาต้องเติมพรรคที่งดออกเสียงก่อน ซึ่งเขาไม่ได้ปิดซะทีเดียวนะ มีชาติไทยพัฒนากับประชาธิปัตย์ ก็จะเท่ากับขาดสว.อีกสิบยี่สบคนเอง ถ้าเพื่อไทยไม่ปล่อยมือเองอีกข้างก็ตั้งไม่ได้ ผมเชื่อว่าการต่อรองยังมีได้
ดร.ปริญญา : หน่วยควบคุมฝูงชนตร. จิตวิทยาไม่ดี ยิ่งไปพูดว่าท่านทำผิดกฎหมายยิ่งไปเติมเชื้อในกองเพลิง จิตวิทยาผิดหมดเลย ต้องเข้าใจว่าเป็นรีแอ็กชั่นปฏิกิริยาประชาชนที่เขาเกิดความรู้สึกผิดหวัง เสียใจ ไม่พอใจ
ดร.ยุทธพร : การมีม็อบขยายตัวได้มากกว่านี้หรือไม่ ต้องดูการเคลื่อนไหวมวลชน จะเกิดม็อบทั่วประเทศมั้ย หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวในโลกออนไลน์ ซึ่งตั้งแต่วันที่กกต.มีการวินิจฉัย และถึงวันนี้เชื่อว่าดุเดือดเหมือนกัน วันนี้มีการพยายามตัดการเชื่อมต่อโลกออนไลน์กับออฟไลน์ มีการไปร้องต่างๆ ในหน่วยงานต่างๆ เยอะแยะ ตรงนี้มีการตัดการเชื่อมต่อระหว่างออฟไลน์และออนไลน์ ทำให้ม็อบอาจไม่ได้ขยายตัวก็เป็นได้
ถ้าหากวันนี้เพื่อไทยกลับขึ้นมาจัดตั้งรัฐบาล ต้องจับมือก้าวไกล คิดว่าเพื่อไทยน่าจะเติมหนึ่งพรรค?
ดร.ปริญญา : คุณหมอชลน่านเคยพูดแล้วว่าต้องเติม รอบต่อไปน่าจะเป็นคุณเศรษฐา เขาต้องคิดก่อนว่าเสียงที่มีอยู่มันพอหรือยัง ถ้าไม่แน่ใจก็ต้องมีการเติม และจะเกิดการต่อรอง นโยบายพรรคก้าวไกลก็แค่นโยบายพรรคนึงในพรรคร่วมรัฐบาล ไม่ทราบว่าจะรื้อมาตกลงกันใหม่หรือเปล่า เพราะ 112 ไม่ได้อยู่ใน MOU นะ ถ้าเพื่อไทยเป็นแกนนำต้องเติมพรรคอย่างชาติไทยพัฒนาหรือประชาธิปัตย์ 25 ข้อก็ต้องมาตกลงกันใหม่ และพรรคก้าวไกลเป็นแค่พรรคร่วมพรรคนึงในฝั่งรัฐบาล จะไม่ได้เป็นปัญหาเหมือนเป็นนายกฯ เอง โอกาสมีอยู่ที่การเจรจา แต่ต้องมีสูตรนี้ก่อน ถ้ารีบส่งก้าวไกลเป็นฝ่ายค้าน เพื่อไทยจะกลายเป็นผู้ร้าย
ดร.ยุทธพร : ผมคิดว่าจะมีการปรับสมการ และเป็นไปได้ที่จะไม่มีก้าวไกลในนั้น แต่จะค่อยๆ ขยับ